สหภาพประชาชนมาร์แฮนอินโดนีเซีย

สหภาพประชาชนมาร์แฮนอินโดนีเซีย (Indonesian Marhaen People's Union; อินโดนีเซีย: Persatuan Rakyat Marhaen Indonesia) เป็นที่รู้จักกันในชื่อย่อว่าเปอร์ไม (Permai) เป็นขบวนการทางสังคมในอินโดนีเซีย ทำงานทั้งในรูปพรรคการเมืองและสมาคมอาบังงัน ก่อตั้งเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2488[1] ผู้นำคือเมย การ์ตาวินาตา[2]

สหภาพประชาชนมาร์แฮนอินโดนีเซีย
หัวหน้าเม การ์ตาวินาตา
ก่อตั้ง17 ธันวาคม ค.ศ. 1945
ถูกยุบ?
อุดมการณ์ลัทธิมาร์แฮน
ปัญจศีล
ชาตินิยม
ต่อต้านอิสลาม
การเมืองอินโดนีเซีย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

เปอร์ไมเรียกหลักการทางศาสนาของตนว่าลัทธิมาร์แฮน ขบวนการต้องการสร้างศาสตร์บริสุทธิ์ เช่น ความเชื่อแบบดั้งเดิมของชวาก่อนการเข้ามาของศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลาม กลุ่มนี้สนับสนุนลัทธิชาตินิยมปัญจศีลของอินโดนีเซีย เปอร์ไมต่อต้านอิสลามในฐานะศาสนาของต่างชาติที่ขัดแย้งกับวัฒนธรรมชวา[3][4] แม้จะปฏิเสธศาสนาฮินดูแต่ได้นำแนวคิดจากศาสนาฮินดูมาใช้อยู่มาก

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ขบวนการปฏิวัติประชาชนที่นำโดยตัน มะละกาได้ก่อตั้งขึ้นโดยเปอร์ไมเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการนี้[5] การต่อต้านอิสลามของเปอร์ไมทำให้พรรคนิยมอิสลามรวมตัวกัน ใน พ.ศ. 2497 ได้มีการประท้วงต่อต้านคำแถลงการณ์ของผู้นำเปอร์ไม เมย การ์ตาวินาตา มีผู้เข้าร่วมการประท้วงราวห้าแสนคน การจัดงานแต่งงานและงานศพแบบเปอร์ไมได้สร้างความเจ็บใจให้แก่องค์กรมุสลิม เปอร์ไมไม่ได้มีสถานะเป็นศาสนา

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2498 เปอร์ไมได้รับเลือก 1 ที่นั่ง[6] หลังการเลือกตั้ง เปอร์ไมเข้ารวมกับส่วนความก้าวหน้าแห่งชาติซึ่งประกอบด้วยกลุ่มทางการเมือง 10 กลุ่มจากชวา[7] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในพ.ศ. 2498 พรรคนี้ได้ 2 ที่นั่ง[8]

อ้างอิง แก้

  1. Terpadu (Sosiologi, Geografi, Ekonomi, Sejarah)[ลิงก์เสีย]. p. 71
  2. Feith, Herbert. The Decline of Constitutional Democracy in Indonesia. An Equinox classic Indonesia book. Jakarta [u.a.]: Equinox, 2007. p. 350
  3. Islam, Mazharul. Folklore: the pulse of the people ; in the context of Indic folklore. Ranchi anthropology series, 7. New Delhi: Concept Publ. Co, 1985. p. 317
  4. Mulder, Niels. Mysticism in Java: Ideology in Indonesia[ลิงก์เสีย]. Yogyakarta, Indonesia: Penerbit Kanisius, 2005. pp. 21–22
  5. Gunn, Geoffrey C. New World Hegemony in the Malay World. Lawrenceville, NJ: Red Sea Press, 2000. p. 48
  6. Feith, Herbert. The Decline of Constitutional Democracy in Indonesia. An Equinox classic Indonesia book. Jakarta [u.a.]: Equinox, 2007. p. 435
  7. Feith, Herbert. The Decline of Constitutional Democracy in Indonesia. An Equinox classic Indonesia book. Jakarta [u.a.]: Equinox, 2007. p. 472
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-11. สืบค้นเมื่อ 2015-02-11.