ปัญจศีล (การเมือง)
ปัญจศีล หรือ ปันจาซีลา (อินโดนีเซีย: Pancasila) เป็นคำที่มาจากภาษาชวาโบราณที่รับมาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงหลัก 5 ประการที่เป็นปรัชญาแห่งรัฐของอินโดนีเซีย คือ
- ความเชื่อในพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว (อินโดนีเซีย: Ketuhanan Yang Maha Esa; เกอตูฮานันยังมาฮาเออซา) สัญลักษณ์เป็นรูปดาวบนพื้นดำ
- มนุษยนิยม (อินโดนีเซีย: Kemanusiaan Yang Adil dan Beradab; เกอมานูซียาอันยังอาดิลดันเบอราดับ) สัญลักษณ์เป็นรูปโซ่บนพื้นแดง
- ชาตินิยมแห่งความเป็นอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Persatuan Indonesia; เปอร์ซาตูวันอินโดเนซียา) สัญลักษณ์เป็นรูปต้นบันยังซึ่งเป็นมะเดื่อพื้นเมืองชนิดหนึ่ง
- หลักการแห่งประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (อินโดนีเซีย: Kerakyatan Yang Dipimpin oleh Hikmat Kebijaksanaan, Dalam Permusyawaratan dan Perwakilan; เกอรากียาตันยังดีปิมปินโอเละฮ์ฮิกมัตเกอบีจักซานาอัน ดาลัมเปอร์มูชาวาราตันดันเปอร์วากีลัน) สัญลักษณ์เป็นรูปหัวควาย
- ความยุติธรรมในสังคมสำหรับชาวอินโดนีเซียทั้งหมดโดยเท่าเทียมกัน (อินโดนีเซีย: Keadilan Sosial bagi seluruh Rakyat Indonesia; เกออาดีลันโซซียัลบากีเซอลูรุฮ์รักยัตอินโดเนซียา) สัญลักษณ์เป็นรูปรวงข้าวและดอกฝ้าย
หลักการนี้กำหนดโดยซูการ์โน ในการกล่าวสุนทรพจน์เมื่อ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ต่อคณะกรรมการสืบสวนเพื่อความเป็นเอกราช[1] หลักปัญจศีลนี้ได้ถุกรวมเข้ากับรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐเมื่อ พ.ศ. 2521 โดยก่อนหน้านี้จะกล่าวถึงในรัฐธรรมนูญเพียงกว้าง ๆ ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทุกองค์กรและพรรคการเมืองถูกบังคับให้รับหลักปัญจศีลเป็นอุดมการณ์เดียว ทั้งนี้ ซูฮาร์โตได้เรียกประชาธิปไตยของอินโดนีเซียว่าประชาธิปไตยแบบปัญจศีล แต่การนำหลักปัญจศีลมาตีความของซูฮาร์โต ทำให้หลักปัญจศีลหมดความน่าเชื่อถือก่อนที่ซูฮาร์โตจะหมดอำนาจใน พ.ศ. 2541 แต่ยังเป็นปรัชญาแห่งรัฐของอินโดนีเซียจนถึงปัจจุบัน
กลุ่มมุสลิมอนุรักษนิยมไม่เห็นด้วยกับหลักปัญจศีลเพราะเห็นว่าเป็นการนำสิ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์มายกย่องให้สูงกว่าอัลกุรอาน เช่นกลุ่มเจไอ และดารุลอิสลาม[2]ซึ่งต้องการให้อินโดนีเซียเป็นรัฐอิสลามจึงไม่เห็นด้วยกับหลักปัญจศีล ใน พ.ศ. 2491 เกิดความรุนแรงต่อต้านหลักการของสาธารณรัฐใหม่จนกลายเป็นสงครามกลางเมืองมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ Neher, Clark D (1974). Smith, Roger M (บ.ก.). Southeast Asia: Documents of Political Development and Change. Cornell University Press. pp. 174–183. ISBN 0-8014-0797-4.
- ↑ Recycling Militants in Indonesia: Darul Islam and the Australian Embassy Bombing. Asia Report N°92 (Report). International Crisis Group. 22 กุมภาพันธ์ 2005.
- ↑ Anthony, Paul (4 ธันวาคม 2003). "Enduring the Other's Other". The Straits Times.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "Pancasila, the state philosophy". Republic of Indonesia Portal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กันยายน 2004.
- "Pancasila". & "The Pancasila". Countrystudies.
- "Pancasila". gimonca.com.
- "Government - The 1945 Constitution". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กรกฎาคม 2006.