สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์

บริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด(มหาชน) (อังกฤษ: SIAMGAS AND PETROCHEMICALS PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ:SGP)[2] ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2544 โดยมีหน้าที่หลักคือผลิตและขนส่ง ก๊าซหุงต้มธุรกิจหลักคือ ปิโตรเคมี

บริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน)
ประเภทพลังงานและสาธารณูปโภค
อุตสาหกรรมทรัพยากร
รูปแบบบริษัทมหาชน SET:SGP
ก่อตั้ง17 มกราคม พ.ศ. 2544 (23 ปี)
สำนักงานใหญ่553 อาคารเดอะพาลาเดียม อาคาร A ชั้น 30 ถนนราชปรารภ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร[1]
บุคลากรหลัก
นาย วรวิทย์ วีรบวรพงศ์ (ประธานกรรมการบริษัทและประธานกรรมการบริหาร)
นาย ศุภชัย วีรบวรพงศ์ (กรรมการผู้จัดการ)
เว็บไซต์http://www.siamgas.com
รถแก๊สของสยามแก๊ส

ประวัติ แก้

บริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อบริษัท วีเอสพีพี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทขึ้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2544 มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (“ก๊าซ LPG”) ภายใต้เครื่องหมายการค้า “สยามแก๊ส” ซึ่งบริษัทได้รับอนุญาตให้เป็นตัวแทนค้าต่างของบริษัท อุตสาหกรรมแก๊สสยาม จำกัด และบริษัทเริ่มประกอบธุรกิจจากธุรกิจสถานีบริการก๊าซ LPG ก่อนที่จะขยายการประกอบธุรกิจไปสู่การประกอบธุรกิจโรงบรรจุก๊าซ LPG เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แก๊สระเบิดบริเวณถนนเพชรบุรีตัดใหม่ พ.ศ. 2533 มีผู้เสียชีวิตกว่า 80 ศพ ผู้ได้รับบาดเจ็บมากกว่า 100 ราย มูลค่าความเสียหากว่า 2000 ล้านบาท โดยบริษัท สยามแก๊สในขณะนั้นชดใช้ค่าเสียหา 132 ล้านบาท โทษจำคุก 2 ปี รอลงอาญา

วันที่ 27 ธันวาคม 2547 บริษัทได้ปรับโครงสร้างทางธุรกิจของบริษัท โดยการขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจไปสู่การค้าก๊าซ LPG และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมประเภทอื่น รวมทั้งธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น การขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมทั้งทางรถยนต์และทางเรือ ด้วยการเข้าลงทุนในบริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน) (“UGP”) ซึ่งประกอบธุรกิจค้าก๊าซ LPG แอมโมเนีย และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอื่น

ในปี 2548 บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) และได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ค้าน้ำมันตามาตรา 7 ทำให้บริษัทเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ที่ประกอบธุรกิจค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว แอมโมเนียและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอื่น ภายใต้เครื่องหมายการค้า “สยามแก๊ส” และ “ยูนิคแก๊ส” และประกอบธุรกิจขนส่งก๊าซ LPG และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่น

ในปี 2551 บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเริ่มทำการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทภายใต้ชื่อ “SGP” เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2551[3]

บริษัทในเครือ แก้

  • บริษัท ยูนิคแก๊สแอนด์ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7
  • บริษัท ยูนิค มารีน จำกัด บริการขนส่งทางเรือ
  • บริษัท ยูนิคแก๊ส เทรดดิ้ง จำกัด บริการขนส่งทางเรือ
  • บริษัท ยูนิคแก๊ส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริการขนส่งทางเรือ
  • บริษัท ยูนิคแก๊ส แคร์ริเออร์ จำกัด บริการขนส่งทางเรือ
  • บริษัท เคมิคัลส์แก๊ส ขนส่ง จำกัด บริการขนส่งทางรถ
  • บริษัท ลัคกี้มารีน จำกัด บริการขนส่งทางเรือ
  • บริษัท ลัคกี้แคร์ริเออร์ จำกัด บริการขนส่งทางรถ
  • บริษัท สยาม ควอลิตี้ สตีล จำกัด บริการผลิตถังก๊าซ
  • บริษัท สยาม เอทานอล เอ็กซ์ปอร์ท จำกัด ธุรกิจผลิตเอทานอล

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แก้

  • ข้อมูล ณ วันที่ 9 มกราคม 2556 [4]
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 นาย วรวิทย์ วีรบวรพงศ์ 531,680,599 55.97%
2 นาย ศุภชัย วีรบวรพงศ์ 50,871,000 5.35%
3 นาง พัชรา วีรบวรพงศ์ 50,000,000 5.26%
4 บริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด ( มหาชน ) 31,068,500 3.27%
5 นาย โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ 25,000,000 2.63%

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 รายละเอียดบริษัท/หลักทรัพย์เซ็ทเทรดดอตคอม
  2. สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  3. ลักษณะการประกอบธุรกิจแบบรายงาน56-1 สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) ประจำปี :2555
  4. http://www.settrade.com/C04_05_stock_majorshareholder_p1.jsp?txtSymbol=BANPU&selectPage=5