สมัชชารัฐสภาอาเซียน

สหพันธ์รัฐสภาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สมัชชารัฐสภาอาเซียน (อังกฤษ: ASEAN Inter-Parliamentary Assembly; ชื่อย่อ: AIPA) (เริ่มใช้ชื่อนี้เมื่อปี ค.ศ. 2007) หรือชื่อเดิมคือ องค์การรัฐสภาอาเซียน (อังกฤษ: ASEAN Inter-Parliamentary Organization; ชื่อย่อ: AIPO) เป็นองค์การที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1977 ซึ่งรวมกลุ่มกัน แต่มีความเกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการกับอาเซียน[1] ก่อตั้งโดยอินโดนีเซีย โดยได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกอื่น ๆ ที่เป็นผู้ก่อตั้งอาเซียนทั้ง 5 ประเทศ[2]

สมัชชารัฐสภาอาเซียน
ประวัติของโลโก้ AIPA
ประวัติ
ก่อตั้ง2 กันยายน ค.ศ. 1977 (1977-09-02)
ก่อนหน้าองค์การรัฐสภาอาเซียน
ที่ประชุม
จาการ์ตา  อินโดนีเซีย
เว็บไซต์
aipasecretariat.org
ธงประจำ AIPA

การประชุมครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1978 ที่ประเทศสิงคโปร์ เป็นสภาข้ามชาติที่อ่อนแอและมีอำนาจให้คำปรึกษาเท่านั้น ขาดอำนาจนิติบัญญัติและกำกับดูแลอาเซียนและสมาชิก[1]

มีสมาชิกจากอาเซียนรวมกว่า 300 ประเทศ บรูไน (และก่อนหน้านี้มีเมียนมาร์ด้วย) ซึ่งไม่มีสภานิติบัญญัติ เข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์พิเศษของ AIPA[2] ต่อมาในปี 2007 ได้เปลี่ยนชื่อจากองค์การรัฐสภาอาเซียนเป็นสมัชชารัฐสภาอาเซียน[1]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 เป็นต้นมา ได้จัดประชุมทวิภาคีกึ่งปกติกับรัฐสภายุโรป[1]

ที่อยู่: สำนักงานเลขาธิการอาเซียน อาคารเฮอริเทจ ชั้น 5 เจแอล Sisingamangaraja No. 70A Kebayoran Baru. Jakarta Selatan, Kode Pos 12110 DKI จาการ์ตา อินโดนีเซีย

รายชื่อสมาชิก แก้

สมาชิก แก้

  •   อินโดนีเซีย (2 กันยายน ค.ศ. 1977) : สมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การรัฐสภาอาเซียน
  •   มาเลเซีย (2 กันยายน ค.ศ. 1977) : สมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การรัฐสภาอาเซียน
  •   ฟิลิปปินส์ (2 กันยายน ค.ศ. 1977) : สมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การรัฐสภาอาเซียน
  •   สิงคโปร์ (2 กันยายน ค.ศ. 1977) : สมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การรัฐสภาอาเซียน
  •   ไทย (2 กันยายน ค.ศ. 1977) : สมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การรัฐสภาอาเซียน
  •   เวียดนาม (19 กันยายน ค.ศ. 1995)
  •   ลาว (ในปี ค.ศ. 1997)
  •   กัมพูชา (ในปี ค.ศ. 1999)
  •   บรูไน (4 กันยายน ค.ศ. 2009)
  •   พม่า (20 กันยายน ค.ศ. 2011)

ผู้สังเกตการณ์ แก้

ในปี ค.ศ. 2021 คณะมนตรีระหว่างรัฐสภาอาเซียนมีผู้สังเกตการณ์ 16 องค์กร ซึ่งนอกจากผู้สังเกตการณ์ 1 องค์กรซึ่งเป็นองค์กรรัฐสภาระดับภูมิภาคจากรัฐสภายุโรปแล้ว ยังมีผู้สังเกตการณ์อีก 15 องค์กรที่เหลือที่เป็นรัฐสภาหรือสภาล่างของประเทศต่าง ๆ ผู้สังเกตการณ์ที่ใกล้ที่สุดคือรัฐสภายูเครน และสภาล่างของปากีสถาน ซึ่งเข้าร่วมการประชุมสมัชชา AIPA ครั้งที่ 42 ในปีนั้นที่ประเทศบรูไน

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Rüland, Jürgen; Carrapatoso, Astrid (2015-03-24). "Democratizing inter-Regionalism? The EU Parliament and its Asia Relations" [ประชาธิปไตยระหว่างภูมิภาค? รัฐสภายุโรปและความสัมพันธ์กับเอเชีย]. ใน Stavridis, Stelios; Irrera, Daniela (บ.ก.). The European Parliament and its International Relations [รัฐสภายุโรปและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ] (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 9781317499633. สืบค้นเมื่อ 2016-10-21.
  2. 2.0 2.1 Asia's New Regionalism [ภูมิภาคนิยมใหม่ของเอเชีย] (ภาษาอังกฤษ). NUS Press. 2008. p. 136. ISBN 9789971694197.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้