สมองขาดเลือดเฉพาะที่

สมองขาดเลือดเฉพาะที่ (อังกฤษ: brain ischemia) หรือสมองใหญ่ขาดเลือดเฉพาะที่ (อังกฤษ: cerebral ischemia) หรือหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉพาะที่ (อังกฤษ: cerebrovascular ischemia) เป็นภาวะซึ่งมีเลือดไหลไปสมองไม่เพียงพอต่อความต้องการทางเมแทบอลิซึม[1] ทำให้มีปริมาณออกซิเจนลดลงหรือภาวะสมองใหญ่มีออกซิเจนน้อย แล้วทำให้เนื้อเยื่อสมองตายหรือเนื้อสมองใหญ่ตายเหตุขาดเลือด / โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉพาะที่[2] เป็นชนิดย่อยของโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับอาการเลือดออกใต้อะแร็กนอยด์ (subarachnoid hemorrhage) และอาการเลือดออกในสมองใหญ่[3]

สมองขาดเลือดเฉพาะที่
แว่นซีทีสแกนของสมองแสดงเนื้อสมองใหญ่ตายเหตุขาดเลือดครึ่งซีกขวา (ด้านซ้ายของภาพ)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10G45.9, I67.8
ICD-9435X,437X
MeSHD002545

การขาดเลือดเฉพาะที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อเมแทบอลิซึมของสมอง ลดอัตราเมแทบอลิซึมและวิกฤตพลังงาน[4]

มีการขาดเลือดเฉพาะที่สองชนิด คือ การขาดเลือดเฉพาะที่จุดรวม (focal ischemia) ซึ่งจำกัดอยู่บริเวณหนึ่งของสมอง กับการขาดเลือดเฉพาะที่ทั่วไป (global ischemia) ซึ่งครอบคลุมเนื้อเยื่อสมองบริเวณกว้าง

อาการหลักเกี่ยวข้องกับการมองเห็น การขยับกายและการพูดบกพร่อง สาเหตุหลักของสมองขาดเลือดเฉพาะที่มีตั้งแต่ภาวะโลหิตจางเซลล์รูปเคียว (sickle cell anemia) ไปจนถึงความบกพร่องแต่กำเนิดของหัวใจ อาการของสมองขาดเลือดเฉพาะที่อาจมีหมดสติ ตาบอด มีปัญหาการประสานงาน และความอ่อนเปลี้ยในกาย ผลอื่นที่อาจเกิดจากสมองขาดเลือดเฉพาะที่ คือ โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจหยุดเต้น และความเสียหายต่อสมองแบบผันกลับไม่ได้

การขัดขวางการไหลของเลือดไปสมองเกิน 10 วินาทีทำให้หมดสติ และการขัดขวางการไหลเกินสองสามนาทีโดยทั่วไปทำให้สมองเสียหายแบบผันกลับไม่ได้[5] ใน ค.ศ. 1974 ฮอสมันน์และซิมเมอร์มันน์แสดงว่าการขาดเลือดเฉพาะที่ที่ชักนำในสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงสามารถแก้ไขได้อย่างน้อยบางส่วน การค้นพบนี้ทำให้เกิดความเป็นไปได้ในการรักษาหลังสมองขาดเลือดก่อนความเสียหายนั้นผันกลับไม่ได้[6]

อ้างอิง

แก้
  1. Sullivan, Jonathon. "What is Brain Ischemia?". WSU Emergency Medicine Cerebral Resuscitation Laboratory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-06. สืบค้นเมื่อ 2008-11-11.
  2. "Brain Ischemia (Cerebral Ischemia)". Cure Hunter Incorporated. 2003. pp. Relationship Network. สืบค้นเมื่อ 2008-11-11.
  3. "UpToDate Inc".
  4. "Metabolic crisis without brain ischemia is common after traumatic brain injury: a combined microdialysis and positron emission tomography study". Journal of Cerebral Blood Flow & Metabolism. Journal of Cerebral Blood Flow & Metabolism. 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-03-05.
  5. Raichle, Marcus (1983). "The Pathophysiology of Brain Ischemia" (PDF). Neurological Progress. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2008-11-11.
  6. Raichle, Marcus; Ann Neurol (1983). "The pathophysiology of brain ischemia" (PDF). Neurological Process. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2009-04-22.