สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโงกุ
สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโงกุ (ญี่ปุ่น: 両国国技館; โรมาจิ: Ryōgoku Kokugi-kan) เป็นสนามแข่งซูโม่ อยู่ในความดูแลของสมาคมซูโม่ญี่ปุ่น ตั้งอยู่ที่ย่านเรียวโงกุ ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นสนามสำหรับจัดการแข่งขันศิลปะการต่อสู้โดยเฉพาะ
โคกูงิกัง (ญี่ปุ่น : 国技館) คูนิวาซากัง (ญี่ปุ่น : 國技館) | |
สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโงกุ ใน พ.ศ. 2549 | |
ชื่อเดิม | โคคูงิกัง ฮอลอนุสรณ์เรียวโงกุ สนามกีฬานานาชาติ |
---|---|
ที่ตั้ง | เขตซูมิดะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น |
พิกัด | 35°41′49″N 139°47′36″E / 35.69694°N 139.79333°E |
ขนส่งมวลชน | บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก/รถไฟใต้ดินโทเอ: รถไฟใต้ดินโทเอสายชูโอ โซบุ และ รถไฟใต้ดินโทเอสายโอเอโดะ ที่ สถานีเรียวโงกุ |
เจ้าของ | สมาคมซูโม่ญี่ปุ่น |
ผู้ดำเนินการ | สมาคมซูโม่ญี่ปุ่น |
ความจุ | 11,098 คน |
ขนาดสนาม | 35,700 ตารางเมตร |
การก่อสร้าง | |
ก่อสร้าง | มิถุนายน พ.ศ. 2449 27 เมษายน พ.ศ. 2526 (ครั้งที่ 2) |
เปิดใช้สนาม | 2 มิถุนายน ค.ศ. 2452 9 มกราคม พ.ศ. 2528 (ครั้งที่ 2) |
ปรับปรุง | พ.ศ. 2460 พ.ศ. 2467 พ.ศ. 2488 |
ต่อเติม | พ.ศ. 2461 พ.ศ. 2463 |
ปิด | พ.ศ. 2501 |
งบประมาณในการก่อสร้าง | 270,000 เยน 15,000 ล้านเยน (ครั้งที่ 2) |
สถาปนิก | ทัตสึโนะ คิงโงะ ทากาชิ ซูงิยามะ (ครั้งที่ 2) |
ผู้รับเหมาหลัก | บริษัทก่อสร้างคาจิมะ |
การใช้งาน | |
สมาคมซูโม่ญี่ปุ่น โอลิมปิกฤดูร้อน 2020 |
ประวัติ
แก้สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโงกุเปิดใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2449 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2493 ได้มีการสร้างสนามกีฬาในพื้นที่ใหม่ว่า "สนามกีฬาแห่งชาติคูรามาเอะ" (蔵前国技館) โดยย้ายพื้นที่สนามไปยังที่ที่เขตไทโต เป็นการชั่วคราว ต่อมาได้ส่งมอบคืนพื้นที่สนามให้กับมหาวิทยาลัยนิฮงในปี พ.ศ. 2501 จากนั้นจึงได้มีโครงการสร้างสนามกีฬาแห่งชาติเรียวโงกุในรูปลักษณ์อาคารแบบใหม่ในปี พ.ศ. 2526 จนแล้วเสร็จในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 (เป็นปีเดียวกันที่ "สนามกีฬาแห่งชาติคูรามาเอะ" ได้ยุติการใช้เป็นสนามกีฬาประจำสมาคมซูโม่ญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ เพื่อย้ายไปใช้สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโงกุแห่งใหม่ที่สร้างเสร็จ) สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโงกุแห่งใหม่เปิดใช้งานเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน
การใช้งาน
แก้สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโงกุนอกจากใช้ในการแข่งซูโม่ อันเป็นกีฬาประจำชาติของญี่ปุ่นแล้ว ยังได้จัดการแข่งขันกีฬาประเภทศิลปะป้องกันตัวอีกหลายประเภทและหลายครั้ง เช่น มวยสากล, มวยปล้ำ เป็นต้น ในส่วนของมวยสากลใช้เป็นสถานที่ชกระหว่างนักมวยญี่ปุ่นกับนักมวยต่างชาติหลายครั้ง เช่น ไฟติง ฮาราดะ - โผน กิ่งเพชร (ครั้งแรก) , เคียว โนงูจิ - โผน กิ่งเพชร, มิตสึโนริ เซกิ - โผน กิ่งเพชร, วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น - โทชิอากิ นิชิโอกะ (ครั้งที่ 3) เป็นต้น รวมถึงใช้เป็นสนามจัดการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นในกีฬาโอลิมปิก 2020 ที่กรุงโตเกียวเป็นเจ้าภาพอีกด้วย
สมุดภาพ
แก้อ้างอิง
แก้- (Hardcover) Japan, An Illustrated Encyclopedia. Tokyo, Japan: Kodansha. 1993. หน้า. 817. ISBN 4-06-205938-X.
- (Hardcover) With God on Their Side: Sport in the Service of Religion. London and New York: Routeledge. 2002. หน้า. 151–2. ISBN 0415259606.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เฟซบุ๊ก
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโงกุ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
35°41′49″N 139°47′36″E / 35.696944°N 139.793333°E