สนธิสัญญารานตะโบ

(เปลี่ยนทางจาก สนธิสัญญายันดาโบ)

สนธิสัญญารานตะโบ (อังกฤษ: Treaty of Yandabo; พม่า: ရန္တပိုစာချုပ်) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างบริษัทอินเดียตะวันออกอันทรงเกียรติแลพระเจ้ากรุงอังวะ (Treaty of Peace between the East India Company and His Majesty the King of Ava) เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่หยุดสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง ลงนามในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 ณ เมืองรานตะโบ ซึ่งกินระยะเวลาเกือบสองปีนับตั้งแต่วันประกาศสงครามอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2367 ฝ่ายพม่าต้องยอมรับเงื่อนไขของอังกฤษโดยไม่มีการหารือกัน[1]

สนธิสัญญารานตะโบ
สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างบริษัทอินเดียตะวันออกอันทรงเกียรติแลพระเจ้ากรุงอังวะ
วันลงนาม24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369
ที่ลงนามรานตะโบ จักรวรรดิพม่า
ผู้ลงนาม
ภาษาอังกฤษ, พม่า

ตามสนธิสัญญา พม่ายินยอมที่จะทำตามเงื่อนไขนี้:[1][2]

สนธิสัญญานี้ทำให้สงครามที่ยาวนานและแพงที่สุดในประวัติศาสตร์บริติชราชสิ้นสุดลง โดยมีทหารชาวยุโรปและอินเดียเสียชีวิต 15,000 นาย พร้อมกับชาวพม่าอีกไม่ทราบจำนวน (แต่น่าจะสูงกว่า) การทัพนี้ทำให้อังกฤษ ใช้ค่าใช้จ่ายไป 5 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง (ราว 18,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ. 2549)[3] ถึง 13 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง ค่าใช้จ่ายนี้นำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในบริติชราชใน พ.ศ. 2376[4]

สำหรับฝ่ายพม่า สนธิสัญญานี้คือจุดเริ่มต้นของการเสียเอกราช ทำให้จักรวรรดิพม่าที่สามที่เคยเป็นภัยต่อบริติชราช พังทลายจนไม่เป็นภัยต่อแนวตะวันออกของบริติชราชอีกต่อไป[5] พม่าจะพ่ายแพ้อีกครั้งในอีกหลายปีข้างหน้าโดยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนมหาศาลถึงหนึ่งล้านปอนด์ (5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะนั้น) ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากแม้แต่ในยุโรป[2] ในเวลานั้นอังกฤษทำสงครามอีกสองครั้งกับพม่าที่อ่อนแอลง และยึดครองทั้งประเทศภายในปี พ.ศ. 2428

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Lt. Gen. Sir Arthur P. Phayre (1967). History of Burma (2 ed.). London: Sunil Gupta. p. 237.
  2. 2.0 2.1 Maung Htin Aung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press. pp. 214–215.
  3. Thant Myint-U (2006). The River of Lost Footsteps – Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. p. 113. ISBN 978-0-374-16342-6.
  4. Anthony Webster (1998). Gentlemen Capitalists: British Imperialism in South East Asia, 1770–1890. I.B. Tauris. pp. 142–145. ISBN 978-1-86064-171-8.
  5. Thant Myint-U (2006). The River of Lost Footsteps – Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. pp. 125–127. ISBN 978-0-374-16342-6.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้