สตาบัลลอย
สตาบัลลอย (อังกฤษ: staballoy) เป็นชื่อของโลหะผสมที่แตกต่างกันสองประเภท ประเภทหนึ่งใช้เป็นวัสดุสำหรับทำหัวกระสุน และอีกประเภทหนึ่งพัฒนาขึ้นสำหรับทำแท่งเจาะ
กระสุนเจาะเกราะด้วยพลังงานจลน์
แก้ในทางการทหาร สตาบัลลอยเป็นโลหะผสมที่มียูเรเนียมด้อยสมรรถนะในสัดส่วนที่สูงผสมกับโลหะอื่น ๆ ซึ่งโดยปกติจะเป็นไททาเนียมหรือโมลิบดีนัม ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ในกระสุนเจาะเกราะด้วยพลังงานจลน์ สูตรผสมอาจมีส่วนประกอบของยูเรเนียมด้อยสมรรถนะ 99.25% และไททาเนียม 0.75% ขณะที่บางสูตรอาจมีไททาเนียมผสมได้ถึง 3.5% สตาบัลลอยมีความหนาแน่นมากกว่าตะกั่วประมาณ 65%
ทางเลือกอื่นนอกจากการใช้สตาบัลลอยในกระสุนเจาะเกราะด้วยพลังงานจลน์คือการใช้โลหะผสมทังสเตน แต่วัสดุมีราคาแพงกว่า ยากต่อการขึ้นรูปมากกว่า และไม่เป็นวัสดุไพโรโฟริก ดังนั้นกระสุนจึงไม่ก่อให้เกิดเปลวเพลิงหลังกระทบเป้าหมาย กระสุนเจาะเกราะจากโลหะผสมทังสเตนยังมีแนวโน้มที่ส่วนปลายจะบานออกเป็นรูปเห็ดระหว่างการเจาะเกราะ ในขณะที่โลหะผสมยูเรเนียมมักจะสามารถรักษาทรงแหลมของหัวกระสุนไว้ได้[1]
โลหะผสมจากยูเรเนียมด้อยสมรรถนะที่เกิดขึ้นใหม่อีกชนิดคือ สตากัลลอย (อังกฤษ: stakalloy) ซึ่งสร้างจากไนโอเบียม (ร้อยละ 0.01–0.95 โดยน้ำหนัก), วานาเดียม (ร้อยละ 1–4.5 โดยน้ำหนัก ระหว่างปฏิกริยาแบบแกมมา-ยูเทกตอยด์ และยูเทกติก) และยูเรเนียม (สมดุล) ซึ่งมีการปรับปรุงความสามารถในการขึ้นรูป และสามารถประยุกต์ใช้ในงานโครงสร้างได้[2]
แท่งเจาะ
แก้สตาบัลลอย ยังเป็นชื่อที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ของเหล็กกล้าไร้สนิมประเภทหนึ่งซึ่งใช้เป็นแท่งเจาะสำหรับแท่นขุดเจาะ ตัวอย่างเช่น สตาบัลลอย เอจี17 (Staballoy AG17) เป็นวัสดุที่แตกต่างจากสตาบัลลอยทางการทหาร โดยมีส่วนผสมเป็นแมงกานีส 20.00%, โครเมียม 17.00%, ซิลิคอน 0.30%, คาร์บอน 0.03%, ไนโตรเจน 0.50% และโมลิบดีนัม 0.05% เจือผสมกับเหล็ก ซึ่งโลหะผสมนี้มีคุณสมบัติที่ไม่เป็นแม่เหล็ก[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Depleted Uranium [DU]". GlobalSecurity.org. 8 สิงหาคม 2016.
- ↑ "Stakalloy: a uranium-vanadium-niobium alloy". TechLink Center. Montana State University. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 สิงหาคม 2016.
- ↑ "Interim Review No. RD-2002-004 and RD-2003-003". Reference System. Canadian Society of Customs Brokers. 3 กุมภาพันธ์ 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กันยายน 2007.
บรรณานุกรม
แก้- Trueman E. R.; Black S.; Read D. (2004). "Characterisation of depleted uranium (DU) from an unfired CHARM-3 penetrator". Science of the Total Environment. 327 (1–3): 337–340. Bibcode:2004ScTEn.327..337T. doi:10.1016/S0048-9697(03)00401-7. PMID 15172592.
- Pollanen R.; Ikaheimonen T. K.; Klemola S.; และคณะ (2003). "Characterisation of projectiles composed of depleted uranium" (PDF). Review of Tungsten-based Kinetic Energy Penetrator Materials. 2–3: 133–142. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 กันยายน 2007.