สงครามกลางเมืองรวันดา

สงครามกลางเมืองรวันดา เป็นสงครามกลางเมืองครั้งใหญ่ระหว่างกองทัพรวันดาของฝ่ายรัฐบาลกับแนวร่วมรักชาติรวันดา (RPF) ที่เป็นฝ่ายกบฏ สงครามนี้เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1990 – 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1994 ความขัดแย้งเกิดจากข้อพิพาทอันยาวนานระหว่างชาวฮูตูกับทุตซี โดยระหว่างค.ศ. 1959–1962 เกิดความรุนแรงทางชาติพันธุ์ที่นำไปสู่การล้มล้างราชาธิปไตยทุตซีและสถาปนาสาธารณรัฐที่นำโดยฮูตู[4][5] ส่งผลให้ชาวทุตซีกว่า 300,000 คนลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้าน[6][7] กลุ่มผู้ลี้ภัยในประเทศยูกันดาจัดตั้ง RPF ที่มีเฟรด รวิกเยมาและพอล คากาเมเป็นผู้นำ กลุ่มนี้กลายเป็นกลุ่มติดอาวุธช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980

สงครามกลางเมืองรวันดา
Refer to caption.
ซ้ายไปขวา: พอล คากาเมและจูเวนัล ไฮเบียรีมานา
ผู้นำ RPF และผู้นำรัฐบาลรวันดาตามลำดับ
วันที่1 ตุลาคม ค.ศ. 1990 − 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1994
สถานที่
ผล

แนวร่วมรักชาติรวันดา (RPF) ชนะ

คู่สงคราม
แนวร่วมรักชาติรวันดา (RPF) รวันดา รวันดา
 ซาอีร์ (1990)
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เฟรด รวิกเยมา 
พอล คากาเม
รวันดา จูเวนัล ไฮเบียรีมานา 
รวันดา เตโอเนสเต บาโกโซรา
กำลัง
RPF:
20,000[1]
รวันดา กองทัพรวันดา:
35,000[1]
ฝรั่งเศส กองทัพฝรั่งเศส:
600 (1990)
400 (1993)
2,500 (1994)
ความสูญเสีย
7,500 พลรบถูกฆ่า[2]
500,000-800,000 พลเรือนถูกฆ่าในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา
15 เจ้าหน้าที่ UNAMIR ถูกฆ่า[3]

สงครามอุบัติขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1990 เมื่อ RPF รุกรานตะวันออกเฉียงเหนือของรวันดา ก่อนจะชะงักเมื่อรวิกเยมาถูกสังหารในวันต่อมา[8] กองทัพรวันดาที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสได้เปรียบและเอาชนะ RPF ได้ในปลายเดือนตุลาคม[9] คากาเมผู้ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่สหรัฐกลับมาบัญชาการ สั่งถอนกำลังไปที่เทือกเขาวีรูงกาเป็นเวลาหลายเดือนก่อนจะเริ่มทำสงครามกองโจร[10][11] กลางค.ศ. 1992 ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถเอาชนะกันได้ ฝ่ายรัฐบาลนำโดยประธานาธิบดีจูเวนัล ไฮเบียรีมานาที่เผชิญการประท้วงตกลงเจรจาสันติภาพกับ RPF และพรรคฝ่ายค้านในประเทศ[12] แม้จะถูกขัดขวางจากกลุ่มหัวรุนแรงฮูตูที่ปฏิเสธการเจรจา[13] และการรุกของ RPF ครั้งใหม่ตอนต้นค.ศ. 1993[14] แต่การเจรจาประสบผลสำเร็จ นำไปสู่การลงนามในความตกลงอารูชาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1993[15]

หลังลงนามในความตกลง มีการส่งเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ (UNAMIR) มาที่รวันดาเพื่อรักษาสันติภาพ[16] แต่กลุ่มหัวรุนแรงฮูตูที่มีอำนาจมากขึ้นวางแผนก่อพันธุฆาตชาวทุตซี[17] แผนการเริ่มขึ้นหลังประธานาธิบดีไฮเบียรีมานาถูกลอบสังหารในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1994 ระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม มีชาวทุตซีและฮูตูสายกลาง 500,000–1,000,000 คนถูกฆ่าในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา[18][19] RPF จึงทำสงครามต่อทันที จนในวันที่ 4 กรกฎาคม RPF สามารถยึดเมืองหลวงคิกาลีไว้ได้ สงครามกลางเมืองรวันดาจบลงในเดือนนั้นหลัง RPF ยึดที่มั่นสุดท้ายของรัฐบาล และผลักดันฝ่ายรัฐบาลและผู้ก่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไปยังประเทศซาอีร์[20]

RPF ที่เป็นฝ่ายกำชัยเข้าปกครองประเทศ โดยมีคากาเมเป็นผู้นำโดยพฤตินัย คากาเมดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีระหว่างค.ศ. 1994–2000 ก่อนจะเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ค.ศ. 2000 RPF เริ่มโครงการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจ นำตัวผู้ก่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มาดำเนินคดี และส่งเสริมความปรองดองระหว่างฮูตูและทุตซี[21] ในค.ศ. 1996 รัฐบาลรวันดานำโดย RPF เริ่มการรุกค่ายผู้ลี้ภัยในซาอีร์ซึ่งเป็นที่พักพิงของผู้นำรัฐบาลเดิมและผู้ลี้ภัยฮูตูราว 2 ล้านคน นำไปสู่สงครามคองโกครั้งที่หนึ่งที่ทำให้โมบูตู เซเซ เซโก เผด็จการของซาอีร์พ้นจากอำนาจในที่สุด[22] ปัจจุบันคากาเมและ RPF ยังคงเป็นกลุ่มการเมืองนำในรวันดา[23]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 IPEP 2000, pp. 49–50.
  2. Cunningham 2011, p. 137.
  3. Dallaire 2003, p. 400.
  4. Sabar 2013.
  5. Prunier 1999, pp. 53–54.
  6. Prunier 1999, p. 62.
  7. Mayersen 2010, p. 21.
  8. Kinzer 2008, p. 76.
  9. Prunier 1999, p. 96.
  10. Kinzer 2008, p. 79.
  11. Muhanguzi Kampe 2016, pp. 112–113.
  12. Kinzer 2008, p. 103.
  13. Prunier 1999, p. 173.
  14. Prunier 1999, p. 174.
  15. Guichaoua, André (2015). From War to Genocide: Criminal Politics in Rwanda, 1990–1994 (ภาษาอังกฤษ). University of Wisconsin Press. pp. 62–63. ISBN 9780299298203.
  16. Dallaire 2003, p. 98.
  17. Prunier 1999, p. 200.
  18. Meierhenrich, Jens (2020). "How Many Victims Were There in the Rwandan Genocide? A Statistical Debate". Journal of Genocide Research. 22 (1): 72–82. doi:10.1080/14623528.2019.1709611. S2CID 213046710. The lower bound for Tutsi deaths is 491,000 (McDoom), see page 75 mention
  19. Reyntjens, Filip (1997). "Estimation du nombre de personnes tuées au Rwanda en 1994". ใน Marysse, Stefaan; Reyntjens, Filip (บ.ก.). L'Afrique des Grands Lacs, Annuaire 1996-1997 (PDF). L'Harmattan.
  20. Prunier 1999, pp. 298–299.
  21. Bonner 1994.
  22. BBC News (II).
  23. Park 2020.

บรรณานุกรม แก้