สกุลลาบิโอบาร์บุส

(เปลี่ยนทางจาก สกุลปลาสร้อยลูกนุ่น)
สกุลลาบิโอบาร์บุส
ชนิด L. ocellatus
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
วงศ์ย่อย: Labeoninae
สกุล: Labiobarbus
van Hasselt, 1823
ชื่อพ้อง[1]
  • Dangila Valenciennes, 1842

ลาบิโอบาร์บุส (ชื่อวิทยาศาสตร์: Labiobarbus) เป็นสกุลของปลาสร้อยจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

โยฮัน กุนราด ฟัน ฮัสเซิลต์ ได้ตั้งสกุลนี้ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1823 โดยกำหนดเป็นชื่อสกุลของปลา 2 ชนิดจากเกาะชวา ต่อมาในปี ค.ศ. 1842 ฌอร์ฌ กูว์วีเย และอาชีล วาล็องเซียน ได้ตั้งสกุลดังกิลา (Dangila) ขึ้น โดยไม่ทราบว่าฟัน ฮัสเซิลต์ ได้ตั้งสกุลลาบิโอบาร์บุสไว้ก่อนแล้ว ดังกิลาจึงกลายเป็นชื่อพ้องไป

ปลาในสกุลลาบิโอบาร์บุสเป็นปลาที่พบได้ชุกชุมในแหล่งน้ำจืดของประเทศไทยรวมถึงประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะเด่นที่สังเกตได้ง่าย คือ ฐานครีบหลังยาว มีก้านครีบแขนง 21–27 ก้าน จะงอยปากมีติ่งเนื้อเล็ก ๆ เป็นกระจุก ริมปากบนและล่างติดต่อรวมกันที่มุมปาก มีหนวดยาว 2 คู่ โดยแบ่งออกเป็นปลายจะงอยปาก 1 คู่ และมุมปาก 1 คู่ มีเกล็ดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 30 เซนติเมตร[1]

ในประเทศไทย อาจเรียกปลาบางชนิดในสกุลนี้ว่า "ปลาซ่า" เนื่องมาจากพฤติกรรมที่รวมตัวกันเป็นฝูง เมื่อตกใจจะกระโดดขึ้นเหนือน้ำพร้อม ๆ กันจนเกิดเสียงดังซ่า โดยชื่อปลาซ่ายังหมายรวมถึงปลาในวงศ์ปลาตะเพียนอื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันอีกด้วย เช่น ปลาในสกุลปลาสร้อยนกเขา (Osteochilus) เป็นต้น[2]

การจำแนก แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์, 2547: หน้า 96
  2. 2.0 2.1 สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์, 2547: หน้า 98
  3. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์, 2547: หน้า 97
  4. "Labiobarbus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 30 June 2016.

บรรณานุกรม แก้

  • อัคคะทวีวัฒน์, สมโภชน์ (2547). สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. องค์การค้าของคุรุสภา. ISBN 974-00-8701-9.