ศูนย์คมนาคมครบวงจรหงเฉียว

ศูนย์คมนาคมครบวงจรหงเฉียว (จีน: 虹桥综合交通枢纽; พินอิน: Hóngqiáo Zònghé Jiāotōng Shūniǔ; อังกฤษ: Hongqiao Comprehensive Transportation Hub) เป็นศูนย์ระบบการขนส่งผู้โดยสารขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่ในเขตชานเมืองทางตะวันตกในเขต ฉางหนิง และ หมิ่นหัง ของ เซี่ยงไฮ้ ศูนย์คมนาคมครบวงจรหงเฉียวประกอบด้วย ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว สถานีรถไฟความเร็วสูงหงเฉียว รถไฟใต้ดิน รถโดยสารประจำทาง รถแท็กซี่ และสถานีแม็กเลฟที่วางแผนไว้สำหรับการใช้งานในอนาคต

สถานีรถไฟซ่างไห่หงเฉียว ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของศูนย์

ศูนย์คมนาคมหงเฉียวเป็นศูนย์คมนาคมครบวงจรแห่งแรกในประเทศจีน และจะมีการสร้างลักษณะเดียวกันตามมาในเมืองอื่นอีก รวมทั้ง หางโจว[1] กว่างโจว[2] และ เซินเจิ้น[3]

ประวัติศาสตร์ แก้

ก่อนหน้าการสร้างศูนย์คมนาคมขนส่งแบบเชื่อมโยงต่างระบบลักษณะนี้ ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียวได้รับการต่อเติมและปรับปรุงใหม่ในปี พ.ศ.2507 ให้เป็นท่าอากาศหลักของเซี่ยงไฮ้ ต่อมาในปี พ.ศ.2548 ความคิดของการรวมศูนย์ระบบการขนส่งให้เป็นศูนย์คมนาคมครบวงจรหงเฉียวนี้ ถูกหยิบยกอย่างเป็นทางการโดยกระทรวงการรถไฟของจีนและเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้

บริษัทจัดการลงทุนซ่างไห่หงเฉียว (Shanghai Rainbow Investment Corp.) ก่อตั้งขึ้นในปี 2549 โดยรัฐบาลเซี่ยงไฮ้เพื่อเป็นนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตแต่เพียงผู้เดียวในการดูแลโครงการก่อสร้างและพัฒนาของศูนย์คมนาคมครบวงจรหงเฉียว และวางแผนให้ศูนย์แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนโครงสร้างพื้นฐานของงานเอ็กซ์โป 2010 ศูนย์นี้แล้วเสร็จสมบูรณ์ก่อนสิ้นปี 2552 (ปี ค.ศ. 2009) และนำไปใช้ในงานเอ็กซ์โป 2010 ในปี 2553

ประเภทการขนส่ง แก้

ทางอากาศ แก้

ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียวให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศ และเที่ยวบินภูมิภาคสู่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นหลัก ในปี 2559 ท่าอากาศยานให้บริการผู้โดยสาร 40,460,135 คน ทำให้เป็นท่าอากาศยานที่พลุกพล่านอันดับ 7 ในประเทศจีน และเป็น อันดับที่ 45 ของโลก[4]

รถไฟความเร็วสูง แก้

สถานีรถไฟเซี่ยงไฮ้หงเฉียวเป็นหนึ่งในสามสถานีรถไฟหลักของเซี่ยงไฮ้ และเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย[5] ให้บริการรถไฟความเร็วสูงระหว่างเมืองไปยังเมืองใหญ่ทั้งหมดของจีน เส้นทางรถไฟที่สำคัญและเป็นที่รู้จักมากที่สุดได้แก่ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงระหว่างเมืองเซี่ยงไฮ้ - นานกิง, เส้นทางรถไฟความเร็วสูงเซี่ยงไฮ้ - หางโจว (ส่วนแรกของ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงเซี่ยงไฮ้ - คุนหมิง ) และ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง - เซี่ยงไฮ้

ระบบรถไฟใต้ดินเซี่ยงไฮ้ แก้

ขณะนี้มีรถไฟใต้ดินสามสายที่ให้บริการในศูนย์แห่งนี้ คือ รถไฟใต้ดินสาย 2, สาย 10 และ สาย 17

รถไฟใต้ดินเซี่ยงไฮ้สาย 2 เป็นเส้นทางสายตะวันออก - ตะวันตกเชื่อมศูนย์คมนาคมหงเฉียวไปยังย่านเมืองเก่าหวงผู่ ย่านการเงินลู่จาจุ่ย (Lujiazui) สวนอุตสาหกรรมไฮเทคจางเจียง และ ท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ผู่ตง

รถไฟใต้ดินเซี่ยงไฮ้สาย 10 เป็นเส้นทางสายตะวันตกเฉียงใต้ - ตะวันออกเฉียงเหนือที่เชื่อมต่อไปยังเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นของ หยางผู่ และ หงโข่ว ผ่านตัวเมืองเซี่ยงไฮ้

รถไฟใต้ดินเซี่ยงไฮ้สาย 17 เชื่อมต่อปลายทางสาย 10 ไปทางทิศตะวันตกเพื่อให้บริการพื้นที่ชานเมืองเซี่ยงไฮ้ ในเขต ชิงผู่

สาย สถานีปลายทาง

( เขตที่ตั้ง )
รูปแบบการบริการ ความยาว

กม.
สถานี
2 สถานีฉูจิงตะวันออก

( ชิงผู่ )
ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง

( ผู่ตง )
ชั่วโมงเร่งด่วน: สถานีฉูจิงตงสถานีถังเจิ้น

เส้นทางปกคิ: สถานีฉูจิงตง ↔ ถนนกว่านหลาน

เส้นทางระยะสั้น: สถานีถนนซงหง ↔ ถนนกว่านหลาน

เส้นทางส่วนชานเมือง: สถานีถนนกว่านหลาน ↔ ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง [6]

63.8 30
10 สถานีซินเจียงว่านเฉิน

( หยางผู่ )
สถานีรถไฟซ่างไห่หงเฉียว ( หมิ่นหัง ) สถานีซินเจียงว่านเฉิน ↔ สถานีรถไฟหงเฉียว
สถานีซินเจียงว่านเฉิน ↔ สถานีถนนหังจง
35.4 31
สถานีถนนหังจง ( หมิ่นหัง )
17 สถานีรถไฟซ่างไห่หงเฉียว

( หมิ่นหัง )
สถานีตงฟางลฺวี่โจว

( ชิงผู่ )
สถานีรถไฟหงเฉียว ↔ สถานีตงฟางลฺวี่โจว
เส้นทางระยะสั้น: สถานีรถไฟหงเฉียว ↔ สถานีถนนเตี้ยนชานหู
35.3 13

พาหนะอื่น แก้

มีบริการรถประจำทางและบริการแท็กซี่ภายในอาคารผู้โดยสารของ สนามบิน และ สถานีรถไฟ

ถนนยกระดับสร้างขึ้นเพื่อให้บริการเชื่อมต่อทางถนนไปยังสถานที่ต่างๆในเซี่ยงไฮ้ และเมืองใกล้เคียง

อ้างอิง แก้

  1. https://www.sohu.com/a/234261091_370705
  2. http://jt.gz.bendibao.com/
  3. http://jt.sz.bendibao.com/news/2017221/789281.htm
  4. "ACI releases World Airport Traffic Report 2010" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2020-07-28.
  5. Shanghai to have Asia's largest railway station
  6. service.shmetro.com/en/hcskb/242.htm