ศิลปะอัศจรรย์ หรือ อัศจรรย์ศิลป์ (อังกฤษ: Fantastic art) คือประเภทของงานศิลปะ ขอบข่ายของศิลปะอัศจรรย์ได้รับการนิยามอย่างเคร่งครัดโดยนักวิชาการมาตั้งแต่สมัยของชูลส์ แวร์นและเอช. จี. เวลส์ ก่อนหน้าและระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ก็ได้มีขบวนการศิลปินไซ-ไฟ/แฟนตาซีที่ครอบคลุมงานประเภทศิลปินภาพประกอบศิลปะและหนังสือคอมมิค บทเขียนรวมเกี่ยวกับงานศิลปะประเภทนี้เห็นได้ชัดในหนังสือ “Infinite Worlds: The Fantastic Visions of Science Fiction Art” โดยศิลปินอเมริกันวินเซนต์ ดิ เฟทโดยมีนักเขียนอเมริกันเรย์ แบรดเบอร์รีเป็นผู้เขียนบทนำ

“Mermaid Syndrom”, ค.ศ. 2006

ศิลปะอัศจรรย์เดิมจำกัดอยู่เฉพาะแต่งานจิตรกรรมและภาพประกอบ แต่ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมาก็ขยายไปรวมภาพถ่าย ศิลปะอัศจรรย์มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับแฟนตาซี, แฟนตาซีเชิงวิทยาศาสตร์ (ประเภทย่อยของไซ-ไฟที่เกี่ยวกับความลี้ลับของมนุษย์ต่างดาวและศาสนาของมนุษย์ต่างดาว), จินตนาการ, และภาวะกึ่งฝัน, วิลักษณ์[1], มโนทัศน์อันเหนือจริง[2] และรวมทั้งศิลปะเชิงกอธิค การที่ศิลปะอัศจรรย์มีที่มาจากประเภทของงานศิลปะแบบสัญลักษณ์นิยมของสมัยวิคตอเรียทำให้ครอบคลุมหัวข้อที่คล้ายคลึงกันที่รวมทั้งเทพวิทยา, รหัสญาณ (Occultism) และ รหัสยลัทธิ (mysticism), หรือ ตำนานและตำนานพื้นบ้าน และ จะแสวงหาคุณค่าของคุณสมบัติภายใน (ธรรมชาติของวิญญาณและจิตวิญญาณ)

แฟนตาซีเป็นส่วนสำคัญของการสร้างงานศิลปะมาตั้งแต่ก่อตัวขึ้น[2] แต่มาเพิ่มความสำคัญยิ่งขึ้นอีกในการเขียนจิตรกรรมแมนเนอริสม์, สัจนิยมแนวมายา, จินตนิยม, สัญลักษณ์นิยม, เหนือจริง, สัญลักษณ์นิยม และ ศิลปะใต้ดิน (Lowbrow) ฝรั่งเศสเรียกศิลปะในกลุ่มนี้ว่า “ศิลปะแฟนทาสทีค” (Fantastique) ในภาษาอังกฤษบางครั้งก็จะเรียกว่า “ศิลปะมโนทัศน์” (Visionary art) หรือ “ศิลปะวิลักษณ์” (Grotesque art) หรือ “ศิลปะแมนเนอริสม์” ศิลปะอัศจรรย์มีความสัมพันธ์อย่างเกี่ยวดองกับวรรณกรรมแฟนตาซี

จิตกรประวัติศาสตร์และวิจิตรศิลป์

แก้

จิตรกรศิลปะอัศจรรย์ที่เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นคนแรกคือจิตรกรชาวดัตช์เฮียโรนิมัส บอส[2] จิตรกรผู้อื่นที่ได้ชื่อว่าเป็นจิตรกรศิลปะอัศจรรย์ก็ได้แก่ เปียเตอร์ บรูเกล, จุยเซ็ปเป อาร์ชิมโบลโด, แม็ทไทอัส กรึนวอลด์, ฮันส์ บาลดุง, ฟรานซิสโก โกยา, กุสตาฟ โมโร, แม็กซ์ แม็กนัส นอร์มัน, เฮนรี ฟูเซลี, โอดิยอง เรอดอง, แม็กซ์ คลิงเกอร์, อาร์โนลด์ เบิคลิน, วิลเลียม เบลค, กุสตาฟว์ ดอเร, จิโอวานนิ บัตติสตา พิราเนซี, ซัลบาดอร์ ดาลี, อาริค เบราเออร์, โยห์ฟรา บอสชาร์ท, ออดด์ เนอร์ดรุม และ มาที คลาไวน์[ต้องการอ้างอิง]

ในคริสต์ทศวรรษ 1930 ในสหรัฐอเมริกา ก็มีกลุ่มศิลปินในวิสคอนซินผู้ได้รับอิทธิพลจากขบวนการลัทธิเหนือจริงของยุโรปก่อตั้งตัวขึ้นเป็นกลุ่มศิลปะอัศจรรย์ ที่ประกอบด้วยศิลปินที่ทำงานอยู่ในบริเวณแมดิสันในวิสคอนซินที่รวมทั้ง มาร์แชล เกลเซียร์, ดัดลีย์ ฮัพเพลอร์ และ จอห์น ไวล์ด, คาร์ล พรีบจากมิลวอคี และ เกอร์ทรูด อเบอร์ครอมบีจากชิคาโก ศิลปะของศิลปินกลุ่มนี้ผสานอารมณ์ขันเชิงมรณนิยม (macabre), ความลี้ลับ และ การแฝงนัย (irony)[3] ที่เป็นงานศิลปะที่ตรงไปตรงมา และตรงกันข้ามกับศิลปะภูมิภาคนิยมอเมริกัน (American Regionalism) ที่กำลังเป็นที่นิยมกันอยู่ในขณะนั้น

ขบวนการปรัชญาศิลปะหลัก “จินตภาพนิยมชิคาโก” (Chicago Imagism) ของชิคาโกหลังสงครามโลกครั้งที่สองสร้างงานจิตรกรรมที่มีลักษณะเป็นงานศิลปะอัศจรรย์และศิลปะวิลักษณ์ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์อันแตกต่างจากศิลปะแอ็บสแตร็คท์ของนิวยอร์กที่เป็นที่นิยมกันในขณะนั้น ศิลปินจินตภาพนิยมคนสำคัญก็ได้แก่โรเจอร์ บราวน์, แกลดิส นิลส์สัน, จิม นัทท์, เอ็ด แพสค์ และ คาร์ล เวอร์ซัม[4]

จิตรกร

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-01-15.
  2. 2.0 2.1 2.2 Schurian, Walter (2005) Beyond Mere Understanding. In: Fantastic Art, Schurian, W. & Grosenick, U. (Ed.), Taschen, Germany, p.6-25. ISBN 978-3-8228-2954-7 (English edition)
  3. Sara Krajewski, “Surreal Wisconsin: Surrealism and its Legacy of Wisconsin Art,” Madison Art Center, 1998 https://web.archive.org/web/19991205115926/http://members.aol.com/MenuBar/surreal/surreal.htm accessed 3/26/2003
  4. Richard Vine, "Where the Wild Things Were", Art in America, May 1997, pp. 98-111.

ดูเพิ่ม

แก้
  • Coleman, A.D. (1977). The Grotesque in Photography. New York: Summit, Ridge Press.
  • Watney, Simon (1977). Fantastic Painters. London: Thames & Hudson.
  • Colombo, Attilio (1979). Fantastic Photographs. London: Gordon Fraser.
  • Johnson, Diana L. (1979). Fantastic illustration and design in Britain, 1850-1930. Rhode Island School of Design.
  • Krichbaum, Jorg & Zondergeld. R.A. (Eds.) (1985). Dictionary of Fantastic Art. Barron's Educational Series.
  • Menton, Seymour (1983). Magic Realism Rediscovered 1918-1981. Philadelphia, The Art Alliance Press.
  • Day, Holliday T. & Sturges, Hollister (1989). Art of the Fantastic: Latin America, 1920-1987. Indianapolis: Indianapolis Museum of Art.
  • Clair, Jean (1995). Lost Paradise: Symbolist Europe. Montreal: Montreal Museum of Fine Arts.
  • Palumbo, Donald (Ed.) (1986). Eros in the Mind's Eye: Sexuality and the Fantastic in Art and Film (Contributions to the Study of Science Fiction and Fantasy). Greenwood Press.
  • Stathatos, John (2001). A Vindication of Tlon: Photography and the Fantastic. Greece: Thessaloniki Museum of Photography
  • Schurian, Prof. Dr. Walter (2005). Fantastic Art. Taschen. ISBN 978-3-8228-2954-7 (English edition)
  • beinArt collective (2007). Metamorphosis. beinArt. ISBN 978-0-9803231-0-8

ดูเพิ่ม

แก้