ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น

Ars longa, vita brevis เป็นคำแปลภาษาละตินของคำพังเพยที่มีที่มาจากภาษากรีกโบราณ ซึ่งแปลโดยคร่าว ๆ ได้ว่า "ความชำนาญต้องใช้เวลา, ชีวิตนั้นสั้น" (skilfulness takes time and life is short.) โดยคำพังเพยนี้ยกมาจากสองบรรทัดแรกของ Aphorismi โดยฮิปโปเครติส แพทย์ยุคกรีกโบราณ

งานศิลปะตกแต่งเพดานของคณะแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวาเล็นซิอา ประเทศสเปน

ในภาษาไทยนิยมแปลโดยทั่วไปว่า "ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น" และเกี่ยวพันกับศิลป พีระศรี

คำแปล

แก้

ตัวบทต้นฉบับภาษากรีก คำแปลเป็นภาษาละตินมาตรฐาน คำแปลเป็นภาษาอังกฤษจากภาษากรีก และคำแปลเป็นภาษาไทยจากภาษาอังกฤษ คือ:

กรีก:[1] ถอดอักษรเป็นโรมัน
Ὁ βίος βραχύς,
ἡ δὲ τέχνη μακρή,
ὁ δὲ καιρὸς ὀξύς,
ἡ δὲ πεῖρα σφαλερή,
ἡ δὲ κρίσις χαλεπή.
Ho bíos brakhús,
hē dè tékhnē makrḗ,
ho dè kairòs oxús,
hē dè peîra sphalerḗ,
hē dè krísis khalepḗ.
ละติน: อังกฤษ (ไทย):[2]
Vīta brevis,
ars longa,
occāsiō praeceps,
experīmentum perīculōsum,
iūdicium difficile.
Life is short, (ชีวิตนั้นสั้น)
and art long, (และศิลปะยืนยาว)
opportunity fleeting, (โอกาสผ่านมาและผ่านไป)
experimentations perilous, (การทดลองสิ่งใหม่ล้วนมีความเสี่ยง)
and judgment difficult. (และการตัดสินยาก [เสมอ])

การตีความ

แก้

หนึ่งในประเด็นที่มักถูกยกมาพูดคุยมากที่สุดเกี่ยวกับวลีนี้คือคำว่า "ศิลปะ" หรือ "art" (ละติน: ars, กรีกโบราณ: τέχνη tékhnē) ซึ่งมีความหมายดั้งเดิมว่า "เทคนิค, หัตถการ" (ดังเช่นใน The Art of War) ไม่ใช่ศิลปะในแง่ของ "วิจิตรศิลป์" (fine art) คำนี้มาจากงานเขียนของฮิปโปเครติส ซึ่งเป็นแพทย์ยุคโบราณและเขียนวลีนี้เป็นคำเปิดในงานเขียนทางการแพทย์ของเขา บรรทัดต่อมาจากวลีนี้เขียนว่า: "แพทย์จะต้องไม่เพียงแต่เตรียมพร้อมที่จะทำสิ่งที่ถูกต้องโดยตัวเขาเอง แต่จะต้องทำให้ผู้ป่วย ผู้มีส่วนร่วม และบุคคลภายนอกให้ความร่วมมือด้วย"[a] ฉะนั้น หากจะแปลวลีนี้ให้เข้าบริบท ควรแปลว่า "การที่บุคคลหนึ่งจะชำนาญการในสิ่งใดก็ตาม (เช่นในบริบทนี้คือการแพทย์) ต้องใช้เวลา แต่ขณะเดียวกันบุคคลหนึ่งก็มีเวลาสั้นเหลือเกินที่จะทำ [ฝึกฝนจนชำนาญ]"[3] วลีนี้ยังตีความได้ว่า "แม้ศิลปินจะล่วงลับหรือถูกลืม แต่ศิลปะคงอยู่ตลอดไป"[3]

หมายเหตุ

แก้
  1. คำแปลจากภาษาอังกฤษ "The physician must not only be prepared to do what is right himself, but also to make the patient, the attendants, and externals cooperate."

อ้างอิง

แก้
  1. Hippocrates. "Aphorismi". ใน Emile Littré (บ.ก.). Oeuvres complètes d'Hippocrate. Hakkert.
  2. Hippocrates. "Aphorismi". ใน Francis Adams (บ.ก.). The Genuine Works of Hippocrates.
  3. 3.0 3.1 Gary Martin. "Ars longa, vita brevis". The Phrase Finder.