ศิลปะการใช้ตัวพิมพ์อาหรับ

ศิลปะการใช้ตัวพิมพ์อาหรับ คือศิลปะการใช้ตัวพิมพ์ ของอักษร หน่วยอักขระ หรือข้อความของชุดตัวอักษรอาหรับ เช่น ภาษาอาหรับ เปอร์เซีย หรืออูรดู ศิลปะการใช้ตัวพิมพ์อาหรับในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นผลพลอยได้ของอักษรละตินที่มีสัดส่วนและสุนทรียศาสตร์แบบซีเรียก (Syriac) และละติน ศิลปะการใช้ตัวพิมพ์อาหรับในสมัยนั้นบกพร่องในสามสิ่งเมื่อเทียบกับการเขียนภาษาอาหรับ นั่นคือ อักษรวิจิตร รูปแบบ และระบบ อักษรวิจิตรต้องใช้ทักษะการเขียนที่มีสุนทรียภาพในสไตล์บัญญัติที่เลือก เช่น naskh, nastaʿlīq หรือ ruqʿah ระบบหมายถึงหลักเกณฑ์ของอักษรที่ครอบคลุมกฎต่างๆ เช่น การจัดแนวนอน และการยืด[1]

ลักษณะเฉพาะ

แก้

สไตล์อักษรวิจิตร

แก้

ฟอนต์คอมพิวเตอร์ของภาษาอาหรับบางแบบเป็นอักษรวิจิตร เช่น Arial, เคอเรียร์ นิว และไทมส์นิวโรมัน ฟอนต์เหล่นั้นดูราวกับว่าเขียนด้วยพู่กันหรือปากการูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า คล้ายกับ เชิงของอักษรละติน อันมีต้นกำเนิดมาจากการจารึกหิน ฟอนต์อื่นๆ เช่น Tahoma และ Noto Sans Arabic ใช้รูปแบบที่มีความหนาของเส้นในตัวอักษรคงที่ ซึ่งคล้ายกับอักษรละตินแบบไม่มีเชิงมากกว่า

้เส้นบน

แก้
 
เส้นบน (overline) ในข้อความจากคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาเปอร์เซีย (ค.ศ. 1920)

ในอดีต ข้อความภาษาอาหรับใช้เส้นบน (อังกฤษ: overline) เพื่อระบุการเน้น[2]

ตัวเอียง

แก้

สไตล์อารบิกบางสไตล์ เช่น ดิวานี มีตัวอักษรที่เอียงลง เมื่อเขียนตัวอักษรจากขวาไปซ้าย[3]

มุมฉาก

แก้

ไทป์เฟซอาหรับบางตัวมีมุมฉากเยอะเป็นพิเศษ เช่น Noto Kufi Arabic ส่วนไทป์เฟซอื่นๆ เช่น Tahoma และ Arial จะมีสไตล์ที่โค้งมนมากกว่า (ดูกราฟด้านล่าง) ฟอนต์ที่เน้นมุมฉากมักถูกเรียกว่า 'มีมุม' (angled)[4] และฟอนต์ที่โค้งมนมักถูกเรียกว่า 'ลายมือ' (cursive)[5]

 

อ้างอิง

แก้
  1. Thomas Milo, Arabic Typography, Encyclopedia of Arabic Language and Linguistics, Brill Publishers, 2013
  2. Charette, François (2010). "ArabXeTeX: an ArabTeX-like interface for typesetting languages in Arabic script with XeLaTeX" (PDF). p. 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-25. สืบค้นเมื่อ 2011-10-10.
  3. "TPTQ Arabic: Arabic Calligraphy and Type Design by Kristyan Sarkis". tptq-arabic.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-29. สืบค้นเมื่อ 2020-09-02.
  4. Zoghbi, Pascal (2019-03-14). "29LT Zarid Slab : A Firm & Agile Typeface". 29LT BLOG (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2020-09-02.
  5. Zoghbi, Pascal (2019-03-14). "29LT Zarid Slab : A Firm & Agile Typeface". 29LT BLOG (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2020-09-02.

อ่านเพิ่มเติม

แก้