โนโต (ฟอนต์)
โนโต (Noto) คือตระกูลฟอนต์ขยายเสรีอันมีฟอนต์คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยมากกว่า 100 แบบ โดยได้รับการออกแบบร่วมกันให้ครอบคลุมระบบการเขียนทั้งหมดที่มีในยูนิโคด ข้อมูลเมื่อ ตุลาคม 2016[update] ระบุว่าโนโตมีรูปอักขระครอบคลุมระบบการเขียนทั้งหมด 93 ระบบที่กำหนดไว้ในยูนิโคด เวอร์ชัน 6.1 (เมษายน 2012) แม้ว่าจะครอบคลุมอักษรจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีได้น้อยกว่า 30,000 ตัวจากอักษรทั้งหมดเกือบ 75,000 ตัวในเวอร์ชัน 6.0 ก็ตาม โนโตครอบคลุมอักขระมากกว่า 77,000 ตัว[1] ซึ่งคิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของอักขระ 149,186 ตัวที่กำหนดไว้ใน Unicode 15.0 (เปิดตัวในเดือนกันยายน 2022)
ชนิด | Sans-serif (humanist); serif (transitional); non-Latin |
---|---|
การจัดหมู่แบบว็อกซ์-เอไทไพ | Sans-serif (humanist); serif (transitional); non-Latin |
กรรมาธิการ | |
วันที่สร้าง | 2012–2020 |
วันที่เผยแพร่ | 2013 |
สัญญาอนุญาต |
|
เว็บไซต์ | notofonts |
เป้าหมายในการออกแบบโนโต คือต้องการให้อักษรต่างๆ ดูมีความกลมกลืนทางภาพ (เช่น ความสูงและความหนาของเส้นงที่เข้ากันได้) ในแต่ละภาษา/ระบบการเขียน ตระกูลฟอนต์ขยายนี้ริเริ่มโดย Google และแจกจ่ายภายใต้สัญญาอนุญาตโอเพนฟอนต์ [2] โดยก่อนหน้านี้ฟอนต์เหล่านี้แจกจ่ายภายใต้สัญญาอนุญาตอะแพชี 2.0 มาจนถึงปี 2015[3]
นิรุกติศาสตร์
แก้ในการแสดงข้อความโดยคอมพิวเตอร์ บางครั้งอักขระจะแสดงเป็นอักขระทดแทน (โดยทั่วไปเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆ) ตัวอักษรเหล่านี้แสดงถึงตัวอักษรที่ไม่สามารถแสดงได้เนื่องจากขาดฟอนต์ที่มีตัวอักษรนั้นๆ ในคอมพิวเตอร์ และบางครั้งก็ถูกเรียกด้วยชื่อเล่นว่าเป็น เต้าหู้ (เนื่องจากดูคล้ายกับเต้าหู้ที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า)
เป้าหมายของ Google ในการสร้างโนโต (ซึ่งชื่อของฟอนต์นั้นมาจากคำว่า no ผสมกับ tofu ที่แปลได้ว่า ไม่มีเต้าหู้) คือการลบ 'เต้าหู้' เหล่านี้ออกจากเว็บ[4][5]
ลักษณะเฉพาะ
แก้อิโมจิ
แก้โครงการ Noto Emoji มีแบบอักษรอีโมจิทั้งแบบสีและขาวดำ เวอร์ชันสีใช้บนโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ เช่น Gmail, Google Chat, Google Meet,[6] Google Hangouts และ YouTube เช่นเดียวกับ ระบบปฏิบัติการ Android, Wear OS,[7] และ ChromeOS[8] นอกจากนี้ยังใช้ในแอป Slack บน Windows, Linux และ Android อีกด้วย[9]
อักษรละติน กรีก และซีริลลิก
แก้Noto Sans และ Noto Serif มีรูปอักขระละติน กรีก และซีริลลิก Noto Sans มีพื้นฐานมาจาก Droid Sans และ Open Sans ในขณะที่ Noto Serif มีพื้นฐานมาจาก Droid Serif[10] ฟอนต์เหล่านี้ออกแบบโดย Steve Matteson[11]
Noto Sans มีอักษรแอลพิมพ์เล็ก U+006C l latin small letter l ที่ไม่มีหาง, ซึ่งอาจทำให้สับสนกับตัวไอพิมพ์ใหญ่ (U+0049 I latin capital letter i) หรือเลขหนึ่ง (U+0031 1 digit one) ได้[12]
ดูเพิ่ม
แก้- แบบอักษรยูนิโคดโอเพนซอร์ส
- ดรอยด์ ฟอนต์โดยปริยายของ Android เวอร์ชันแรกๆ
- โอเพนแซนส์ ฟอนต์ที่พัฒนาต่อมาจากดรอยด์ แซนส์
- โรบอโต ฟอนต์โดยปริยายของ Android เวอร์ชันหลัง ๆ
- ไอบีเอ็มเพล็กซ์ ฟอนต์ที่เสรีและโอเพนซอร์สจากไอบีเอ็ม
- ฟอนต์แห่งชาติ
- ฟอนต์พีที ฟอนต์ที่เสรีและโอเพนซอร์สจากรัสเซีย
อ้างอิง
แก้- ↑ "Use Noto fonts". สืบค้นเมื่อ 2023-09-22.
- ↑ "Noto Font". GitHub. สืบค้นเมื่อ November 24, 2015.
- ↑ "Add NEWS for license change - googlei18n/noto-fonts". GitHub. สืบค้นเมื่อ 2016-04-03.
- ↑ Mizra, Tanvi (3 August 2014). "Can Google Build A Typeface To Support Every Written Language?". NPR. NPR. สืบค้นเมื่อ 5 August 2014.
- ↑ "Google Noto Fonts". google.com. สืบค้นเมื่อ 18 January 2021.
- ↑ Li, Abner (2021-02-17). "Google Meet adding emoji reactions, moderation tools". 9to5Google (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-07.
- ↑ Campbell, Ian Carlos (2021-05-06). "Google remembers Wear OS long enough to add a new keyboard". The Verge (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-07.
- ↑ Schoon, Ben (2018-06-06). "How to get Chrome's built-in emoji picker on Chrome OS, Windows, Mac". 9to5Google (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-07.
- ↑ "Slack Overhauls Emoji Support With One Catch". Emojipedia (ภาษาอังกฤษ). 2018-02-06. สืบค้นเมื่อ 2021-05-07.
- ↑ "Noto use page". Google Fonts. สืบค้นเมื่อ 29 October 2021.
- ↑ "FAQ – Google Noto Fonts".
- ↑ "Add a tail to the 'l' please (Lowercase L) · Issue #821 · notofonts/Noto-fonts". GitHub.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ
- Noto at Google Fonts
- Noto Fonts at GitHub