ศาสนาในประเทศมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซียถือเป็นดินแดนพหุวัฒนธรรม โดยมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ จากการสำรวจสำมะโนครัวประชากร พ.ศ. 2563 พบว่าประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 63.5 ศาสนาพุทธร้อยละ 18.7 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 9.1 ศาสนาฮินดู 6.1 และศาสนาอื่น ๆ กับไม่ให้ข้อมูลร้อยละ 2.7 กลุ่มศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ วิญญาณนิยม, ศาสนาพื้นเมือง, ศาสนาซิกข์, ศาสนาบาไฮ และระบบความเชื่ออื่น ๆ[2][3] รัฐซาราวัก รัฐปีนัง และดินแดนสหพันธ์กัวลาลัมเปอร์มีประชากรส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่มุสลิม[4][5] มีประชากรจำนวนไม่มากที่ไม่เชื่อในพระเจ้า รัฐถูกวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติต่อผู้ไม่เชื่อในพระเจ้า คณะรัฐมนตรีคนบางกล่าวไว้ว่า "เราจะไม่ถูกกฎเกณฑ์ศาสนาอื่น ๆ มาบังคับเราได้ตราบใดที่เราไม่ได้นับถือศาสนานั้น" (the freedom of religion is not the freedom from religion)[6][7]

ศาสนาหลักในประเทศมาเลเซียตามสำมะโน พ.ศ. 2563[1]
เขียวเข้ม: มุสลิมเป็นชนกลุ่มใหญ่ > 50%
เขียวอ่อน: มุสลิมส่วนใหญ่ < 50%
น้ำเงิน: คริสต์เป็นชนกลุ่มใหญ่ > 50%

ศาสนาอิสลามในประเทศมาเลเซียนับถือนิกายซุนนีสำนักชาฟีอีเป็นหลัก ส่วนนิกายอื่นโดยเฉพาะนิกายชีอะฮ์จะถูกรัฐบาลจำกัดอย่างเข้มงวด[8][9] รัฐธรรมนูญมาเลเซียระบุว่าเป็นรัฐโลกวิสัยและให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่ในขณะเดียวกันก็ไว้บัญญัติว่าศาสนาอิสลามเป็น "ศาสนาของสหพันธรัฐ" เป็นอัตลักษณ์ของสังคมมาเลเซีย[8][9]

ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนโดยมากนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานและศาสนาพื้นบ้านจีน (รวมถึงลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อ) ขณะที่ชาวมาเลเซียเชื้อสายสยามแถบรัฐทางเหนือนับถือนิกายเถรวาท และชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดียโดยมากนับถือศาสนาฮินดู ส่วนศาสนาคริสต์มีอิทธิพลมากแถบมาเลเซียตะวันออกโดยไม่ยึดติดกับชาติพันธุ์ใด ๆ อย่างไรก็ตามแม้ชาติพันธุ์จะต่างกัน แต่การยอมรับความต่างทางศาสนานั้นมีอยู่ระดับหนึ่ง[10]

ประชากรศาสตร์ แก้

ศาสนาในประเทศมาเลเซีย (2563)[11][12]

  อิสลาม (63.5%)
  พุทธ (18.7%)
  ฮินดู (6.1%)
  อื่น ๆ (0.9%)
  ไม่มี (1.8%)

ประเทศมาเลเซียเป็นแหล่งรวมศาสนาหลักของโลกเอาไว้[13] ข้อมูลต่อไปนี้เป็นข้อมูลการสำรวจสำมะโนครัวประชากรรายปี:[2]

ปี อิสลาม พุทธ คริสต์ ฮินดู ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า และศาสนาพื้นเมืองจีนอื่น ๆ ศาสนาอื่น ๆ ไม่มีศาสนาหรือไม่มีข้อมูล
2543 60.4% 19.2% 9.1% 6.3% 2.6% 2.4%
2553 61.3% 19.8% 9.2% 6.3% 1.7% 1.7%
2563 63.5% 18.7% 9.0% 6.1% 0.9% 1.8%

ชาวมาเลเซียเชื้อสายมลายูทุกคนจะต้องนับถือศาสนาอิสลามตามกฎหมาย ขณะที่ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานหรือศาสนาพื้นบ้านจีน (เช่น ลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื๊อ การบูชาบรรพบุรุษ หรือศาสนาเกิดใหม่อื่น ๆ) เป็นส่วนใหญ่[13] จากการสำรวจสำมะโนครัวประชากร พ.ศ. 2553 พบว่า ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 83.6 ศาสนาพื้นบ้านจีนร้อยละ 3.4 และศาสนาคริสต์ร้อยละ 11.1[2] อย่างไรก็ตามจำนวนผู้นับถือศาสนาพุทธและพื้นบ้านจีนอาจจะสูงกว่านี้เพราะชาวจีนส่วนใหญ่นับถือศาสนาทั้งสองปะปนกัน

กลุ่มชนภูมิบุตรที่ไม่ใช่ชาวมลายูนับถือศาสนาคริสต์ร้อยละ 46.5 นอกนั้นนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 40.4[2] ชนพื้นเมืองหลายเผ่าในมาเลเซียตะวันออกเข้ารีตศาสนาคริสต์มากขึ้น แต่ศาสนาคริสต์เผยแผ่ไปในคาบสมุทรมลายูได้ยากยิ่ง[13]

อ้างอิง แก้

  1. "Department of Statistics Malaysia Official Portal".
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Taburan Penduduk dan Ciri-ciri Asas Demografi" (PDF). Jabatan Perangkaan Malaysia. p. 82. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2013.
  3. "Population Distribution and Basic Demographic Characteristic Report 2010 (Updated: 05/08/2011)". Department of Statistics, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-13. สืบค้นเมื่อ 11 March 2017.
  4. "Department of Statistics Malaysia Official Portal".
  5. "Malaysia Christians pray for peace, equality, freedom - UCA News".
  6. "Putrajaya: Freedom of religion does not equal freedom from religion". 2017-11-23. สืบค้นเมื่อ 2018-03-10.
  7. Robert Evans (9 December 2013). "Atheists face death in 13 countries, global discrimination: study". Reuters.
  8. 8.0 8.1 Ambiga Sreenevasan (18 July 2007). "PRESS STATEMENT: Malaysia a secular State". The Malaysian Bar. สืบค้นเมื่อ 11 March 2017.
  9. 9.0 9.1 Wu & Hickling, p. 35.
  10. "Racism has poisoned Malaysian politics for far too long". The National (ภาษาอังกฤษ). 26 November 2018. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
  11. "Taburan Penduduk dan Ciri-ciri Asas Demografi" (PDF). Jabatan Perangkaan Malaysia. p. 82. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2019.
  12. "TABURAN PENDUDUK MENGIKUT PBT & MUKIM 2010". Department of Statistics, Malaysia. สืบค้นเมื่อ 15 December 2017.
  13. 13.0 13.1 13.2 "Religion". Tourism Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 เมษายน 2011. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2011.

อ่านเพิ่ม แก้

  • Lee, Raymond L. M.; Ackerman, Susan Ellen (1997). Sacred Tensions: Modernity and Religious Transformation in Malaysia. University of South Carolina Press. ISBN 978-1-57003-167-0.