ศาสนาพื้นเมืองม้ง

ศาสนาพื้นเมืองม้ง, ศาสนาม้ง (อังกฤษ: Hmongism) หรือ เก๊ด๊าขั่ว (ม้ง: kev dab qhuas "การบูชาผีบ้าน")[1] เป็นศาสนาที่ชาวอเมริกันเชื้อสายม้งจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2555 เพื่อจัดระเบียบการนับถือศาสนาดั้งเดิมของชาวม้งในสหรัฐ[2] กล่าวกันว่าชาวอเมริกันเชื้อสายม้งนับถือศาสนาพื้นเมืองมากถึงร้อยละ 75[3]

สัญลักษณ์ เย้ง (Yeeb) และย่า (yaj) เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาม้งในสหรัฐ

ศาสนาม้งมีความเชื่อแบบสรรพเทวนิยม[4] มีเทพเจ้าและผีบรรพบุรุษเป็นศูนย์กลาง โดยคติความเชื่อและพิธีกรรมที่ได้อิทธิพลจากลัทธิเต๋ามาแต่โบราณกาล[5] รวมทั้งอิทธิพลจากศาสนาพื้นบ้านจีนที่ขับเน้นความสมดุลกันระหว่างธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์[5]

ปัจจุบันชาวม้งส่วนใหญ่ในเอเชียยังนับถือศาสนาม้งแบบดั้งเดิม บางส่วนที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธก็จะเอาความเชื่อดั้งเดิมไปผสานเข้าด้วยกัน[5] ขณะที่ชาวม้งในสหรัฐและในออสเตรเลียจำนวนมากเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์และพุทธเพิ่มขึ้น[6] ส่วนม้งในไทยบางส่วนเข้ารีตศาสนาคริสต์เพื่อยกสถานะตนให้ทัดเทียมกับชาวตะวันตกและเหนือกว่าคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ โดยมองว่าศาสนาพื้นเมืองเดิมนั้นล้าหลังและงมงาย[7]

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. Lee, Tapp, 2010. p. 36
  2. Bylaws of the Temple of Hmongism. Hmongism.org: published March 3, 2013
  3. "Hmong Americans". Cultural Aspects of Healthcare. The College of St. Scholastica. 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-30. สืบค้นเมื่อ 15 February 2013. Primary religious/spiritual affiliation. A recent study found that 75% of Hmong people practiced traditional religion which is animistic. Many Hmong also practice Buddhism or Christianity with membership to various churches such as Catholic, Missionary Alliance, Baptist, Mormon, and others.
  4. Tapp, 1989. p. 59
  5. 5.0 5.1 5.2 Lee, Tapp, 2010. p. 38
  6. Lee, 2010.
  7. รัตนา ด้วยดี. ม้งคริสเตียนกับความทันสมัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. p. 2.
บรรณานุกรม