ศาสนาคริสต์ในญี่ปุ่น

ศาสนาคริสต์ในญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในศาสนากลุ่มน้อยของประเทศ โดยมีผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์และที่เกี่ยวข้องระหว่างน้อยกว่า 1[1][2][3][4] ถึง 1.5%[5] ของประชากร นิกายในศาสนาคริสต์ที่ใหญ่ที่สุด เช่น โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ สามารถพบเห็นได้ในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1990 คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่นับถือศาสนาชินโตหรือศาสนาพุทธ คู่รักชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ประมาณ 60-70% มักแต่งงานแบบคริสต์ สิ่งนี้ทำให้งานแต่งงานแบบคริสต์เป็นแง่มุมของศาสนาคริสต์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดของศาสนาคริสต์ในประเทศญี่ปุ่นสมัยปัจจุบัน[6]

วัฒนธรรม แก้

ญี่ปุ่นยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเป็นฆราวาสมากที่สุดในโลกจาก World Values Survey ในขณะที่อาจมีชาวญี่ปุ่นนับถือศาสนาคริสต์มากถึง 3 ล้านคน[7] แต่ก็มักแพร่กระจายไปในหลายนิกาย 70 เปอร์เซ็นต์ของโบสถ์ในญี่ปุ่นมักมีผู้เข้าร่วมโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 50 คนแม้ว่าจะมีจำนวนสมาชิกมากกว่าเกือบสองเท่า[8]

วันหยุด แก้

งานเฉลิมฉลองในวันหยุดตามศาสนาคริสต์ได้รับความนิยมในญี่ปุ่นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง โดยส่วนใหญ่เป็นงานเชิงพาณิชย์ แต่ยังให้ความสำคัญกับการแบ่งปันเวลากับคนรักทั้งคนสำคัญในตรอบครัวหรือครอบครัวที่ใกล้ชิด

ยกเว้นในชุมชนที่นับถือศาสนาคริสต์ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยของญี่ปุ่น โดยทั่วไปแล้วเทศกาลอีสเตอร์จะไม่มีการเฉลิมฉลองพิเศษใด ๆ

คริสต์มาสในญี่ปุ่นมีการเฉลิมฉลองในระดับที่ใหญ่กว่าในฐานะเทศกาลทางการค้ามาก แต่ไม่ใช่วันหยุดราชการ ไฟคริสต์มาส[9] ซานตาคลอส ปาร์ตี้แลกเปลี่ยนของขวัญ และรับประทานอาหารคริสต์มาสที่ได้รับแรงบันดาลใจจากตะวันตก โดยเฉพาะไก่ทอดเคนตักกี้ และสตรอเบอร์รี่ชอร์ตเค้ก ล้วนเป็นลักษณะที่คุ้นเคยของงานนี้[10] ชาวคริสต์และฝ่ายซ้ายบางคนวิพากษ์วิจารณ์ว่านี่เป็นทำให้วันหยุดเป็นเชิงพาณิชย์ซึ่งขัดกับคำสอนของพระเยซู[11][12] ในญี่ปุ่นแทนที่จะเป็นงานครอบครัวหรืองานทางศาสนา คริสต์มาสถูกมองว่าเป็นเวลาที่จะใช้ร่วมกับเพื่อนหรือคนสำคัญอื่น ๆ คริสต์มาสอีฟมีการเฉลิมฉลองเป็นวันหยุดของคู่รักที่มีการแลกเปลี่ยนของขวัญ

วันวาเลนไทน์ในญี่ปุ่นก็มีการเฉลิมฉลองเช่นกัน แต่ประเพณีวัฒนธรรมมักจะสลับกันกับตะวันตก ผู้หญิงให้ของขวัญช็อคโกแลตแก่ผู้ชายวันวาเลนไทน์ และในไวต์เดย์หนึ่งเดือนต่อมาจะส่งของขวัญคืน ผู้หญิงแลกเปลี่ยนของขวัญระหว่างกันบ่อยและบางครั้งจะให้ช็อคโกแลตเพื่อนร่วมงานชาย แม้ว่าการแลกเปลี่ยนนี้มักจะเป็นของขวัญตามหน้าที่ ไม่ใช่เรื่องปกติที่คู่รักจะออกเดทด้วยกัน ซึ่งมักจะทำในวันคริสต์มาสอีฟแทน

การแสดงออก แก้

งานแต่งงานแบบคริสต์กลายเป็นทางเลือก (หรือเพิ่มเติม) ให้กับพิธีชินโตแบบดั้งเดิม ส่วนหนึ่งเกิดจากความพยายามในการเผยแผ่ศาสนาของโบสถ์คริสต์ในประเทศญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จและความพยายามทางการค้า สถาปัตยกรรมโบสถ์จัดงานแต่งงานได้ผุดขึ้นทั่วญี่ปุ่นเพื่อตอบสนองความต้องการของชาวญี่ปุ่นที่ไม่ได้เข้าร่วมคริสตจักรแต่ยังคงต้องการพิธีนี้[6]

อ้างอิง แก้

  1. Why Japan Wants Its Past Persecution of Christians to Be World Renowned May 29, 2018 Christianity Today
  2. "Christians use English to reach Japanese youth". Mission Network News. 3 September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2010. สืบค้นเมื่อ 20 September 2010. The population of Japan is less than one-percent Christian
  3. Heide Fehrenbach, Uta G. Poiger (2000). Transactions, transgressions, transformations: American culture in Western Europe and Japan. Berghahn Books. p. 62. ISBN 978-1-57181-108-0. ... followers of the Christian faith constitute only about a half percent of the Japanese population
  4. Ishikawa Akito (22 November 2019), "A Little Faith: Christianity and the Japanese", Nippon.com. Retrieved 7 December 2019.
  5. 宗教年鑑 令和元年版 [Religious Yearbook 2019] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs, Government of Japan. 2019. p. 35.
  6. 6.0 6.1 LeFebvre, Jesse (2 November 2015). "Christian Wedding Ceremonies 'Nonreligiousness' in Contemporary Japan". Japanese Journal of Religious Studies. 42 (2). doi:10.18874/jjrs.42.2.2015.185-203.
  7. US State Department 2007 Religious Freedom Report. State.gov (2007-09-14). Retrieved on 2011-06-15.
  8. OMF International – Japan, the Land of Contrasts เก็บถาวร 2013-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Omf.org. Retrieved on 2011-06-15.
  9. Shizuko Mishima, About.com guide. Christmas in Japan เก็บถาวร 2011-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Japan travel section of About.com. Retrieved 2010-01-27.
  10. https://www.smithsonianmag.com/arts-culture/why-japan-is-obsessed-with-kentucky-fried-chicken-on-christmas-1-161666960/
  11. Kimura, Junko; Belk, Russell (September 2005). "Christmas in Japan: Globalization Versus Localization". Consumption Markets & Culture. 8 (3): 325–338. doi:10.1080/10253860500160361. S2CID 144740841.
  12. Luna Batinga, Georgiana; de Rezende Pinto, Marcelo; Pimenta Resende, Sara (October 2017). "Christmas, consumption and materialism: discourse analysis of children's Christmas letters". Review of Business Management: 557–573. doi:10.7819/rbgn.v0i0.3429.