ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ

(เปลี่ยนทางจาก ศาลเจ้าฟุชิมิ อินะริ)

ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ (ญี่ปุ่น: 伏見稲荷大社โรมาจิFushimiinari-taisha) เป็นศาลเจ้าชินโตของเทพอินาริ อันเป็นเทพแห่งกสิกรรม ตั้งอยู่ในเขตฟูชิมิ นครเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ศาลเจ้านี้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ตัวศาลเจ้าตั้งอยู่บนพื้นที่เชิงเขาที่ระดับความสูง 233 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งภูเขาก็มีนามเดียวกันคือภูเขาอินาริ ซึ่งรอบเชิงเขานี้ยังเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าเล็ก ๆ อีกมากมายตลอดระยะทาง 4 กิโลเมตร ซึ่งสามารถเดินเท้าและเยี่ยมชมได้โดยใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง[1]

ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ
伏見稲荷大社
โทริอิ ที่เรียงรายกันเข้าไปสู่ตัวศาลเจ้า แผนที่
ศาสนา
ศาสนาชินโต
เทพอูคาโนมิตามะโนโอกามิ, et al. as Inari Ōkami
ประเภทศาลเจ้าอินาริ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งเขตฟูชิมิ เกียวโต จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัดภูมิศาสตร์34°58′2″N 135°46′22″E / 34.96722°N 135.77278°E / 34.96722; 135.77278
สถาปัตยกรรม
เริ่มก่อตั้งพ.ศ. 1254
เว็บไซต์
inari.jp/en/
อภิธานศัพท์ชินโต

ตั้งแต่ยุคโบราณ ชาวญี่ปุ่นนับถือเทพอินาริในด้านการอุปถัมภ์ค้ำชูและส่งเสริมความเจริญในการงานและกิจการ ซึ่งความศรัทธานี้ยังคงอยู่จนตราบจนปัจจุบัน บรรดาเสาโทริอิที่มากมายของศาลเจ้าแห่งนี้นั้น ล้วนเป็นศรัทธาจากบริษัท ห้างร้าน และโรงงานในญี่ปุ่น ซึ่งแต่ละต้นจะมีการจารึกผู้บริจาคไว้

ศาลเจ้าแห่งนี้ถือเป็นศาลใหญ่ (ญี่ปุ่น: 大社โรมาจิtaisha) อันเป็นต้นสังกัดของบรรดาศาลเจ้าลูก (ญี่ปุ่น: 分社โรมาจิbunsha) ที่บูชาเทพอินาริ ซึ่งทั่วประเทศญี่ปุ่นมีอยู่กว่า 32,000 แห่ง[2]

ศาลาใหญ่ (ไฮเด็ง)
จุดเริ่มต้นของทางวงกตโทริอิ

ประวัติ แก้

ต้นยุคเฮอัง ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ อยู่ภายใต้พระราชูปถัมภ์ขององค์จักรพรรดิ ใน พ.ศ. 1508 จักรพรรดิมูรากามิทรงบัญชาให้มีการขึ้นบัญชีเหตุการณ์สำคัญของเทพารักษ์แผ่นดิน ซึ่งในบัญชีนี้ ในขั้นต้นกล่าวถึงศาลเจ้า 16 แห่ง ซึ่งศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ ก็เป็นหนึ่งในนั้น[3]

ในยุคจักรวรรดิญี่ปุ่น ศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหนึ่งในศาลเจ้าเอก (ญี่ปุ่น: 官幣大社โรมาจิkanpei taisha) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลพระจักรพรรดิ[4]

อ้างอิง แก้

  1. 全国のお稲荷さんの総本宮、伏見稲荷大社を参拝しました。 [Nationwide Inari Shrines, I visited the Fushimi Inari-taisha.] (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 28 March 2014.
  2. Motegi, Sadazumi. "Shamei Bunpu (Shrine Names and Distributions)". Encyclopedia of Shinto. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-15. สืบค้นเมื่อ 31 March 2010.
  3. Ponsonby-Fane, Richard. (1962). Studies in Shinto and Shrines, pp. 116-117.
  4. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, pp. 124.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้