วีเวรียอา
วีเวรียอา | |
---|---|
กระดูกสันหลังส่วนกลางของลำคอ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับใหญ่: | Dinosauria |
อันดับ: | Saurischia |
อันดับย่อย: | †Sauropodomorpha |
วงศ์: | †Brachiosauridae |
สกุล: | †Vouivria Mannion, Allain & Moine, 2017 |
สปีชีส์: | †V. damparisensis |
ชื่อทวินาม | |
†Vouivria damparisensis Mannion, Allain & Moine, 2017 |
วีเวรียอา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Vouivria) ไดโนเสาร์คอยาวชนิดหนึ่ง ถูกค้นพบในสถานที่ ๆ เป็นประเทศฝรั่งเศสในยุคปัจจุบัน มีอายุอยู่ราวยุคจูแรสซิกตอนปลาย มีชนิดต้นแบบ คือ Vouivria damparisensis
วีเวรียอา ถูกค้นพบเป็นซากดึกดำบรรพ์ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 1934 ที่หมู่บ้านดงปารีส์ ในแคว้นฟร็องช์-กงเต ทางภาคตะวันออกของฝรั่งเศส แต่ไม่ได้รับการศึกษาต่อ โดยถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติปารีส และถูกระบุว่าเป็น "ไดโนเสาร์แห่งดงปารีส์" เท่านั้น ต่อมาในต้นปี ค.ศ. 2017 ได้มีการศึกษาจากคณะนักบรรพชีวินวิทยาแห่งราชวิทยาลัยลอนดอน ของประเทศอังกฤษ จึงได้ประกาศว่าเป็นไดโนเสาร์คอยาว หรือซอโรพอดชนิดใหม่
โดยชื่อ "วิเวรียอา" (Vouivria) ที่ใช้เป็นชื่อสกุลด้วย มาจากภาษาฝรั่งเศสโบราณคำว่า La vouivre (ลา วีเวรอะ) ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินที่ใช้เรียกงูพิษจำพวกงูพิษเขี้ยวพับ ซึ่งมีความหมายถึงปีกของไวเวิร์น มังกรตามนิทานพื้นบ้าน และชื่อวิทยาศาสตร์ damparisensis (ดงปารีเซ็นซิส) ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่สถานที่ค้นพบ คือ หมู่บ้านดงปารีส์
มีความยาวตั้งแต่ปลายจมูกจรดปลายหาง 15 เมตร มีลำตัวมหึมาน้ำหนักประมาณ 15,000 กิโลกรัม มีอายุอยู่ราว 160 ล้านปีก่อน ตรงกัยยุคจูแรสซิกตอนปลาย กินอาหารจำพวกใบเฟิร์นโบราณ และสนโคนิเฟอร์โบราณ ซึ่งในยุคนั้นทวีปยุโรป ยังมีสภาพเป็นเกาะแก่งต่าง ๆ ไม่ได้รวมกันเป็นผืนแผ่นดินใหญ่อย่างยุคปัจจุบัน[1]
อ้างอิง
แก้- ↑ หน้า 14 ประชาชื่น-ไอที, พบไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่จากฟอสซิลเก่าเก็บ. มติชนปีที่ 40 ฉบับที่ 14305: วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560