วิลเลียม ไฮด์ วอลลัสตัน

วิลเลียม ไฮด์ วอลลัสตัน (อังกฤษ: William Hyde Wollaston; 6 สิงหาคม ค.ศ. 1766 – 22 ธันวาคม ค.ศ. 1828) หรือ วูลลัสตัน (/ˈwʊləstən/)[ม 1] เป็นนักเคมีและนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ เกิดที่เมืองเดียแรม เป็นบุตรของนักดาราศาสตร์ ฟรานซิส วอลลัสตันและอัลเธีย ไฮด์ วอลลัสตันเรียนที่โรงเรียนชาร์เตอร์เฮาส์และวิทยาลัยกอนวิลล์และคีสในเคมบริดจ์ ในปี ค.ศ. 1793 วอลลัสตันได้รับปริญญาเอกด้านการแพทย์จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์และทำงานเป็นหมอชนบทก่อนจะย้ายมาอยู่กรุงลอนดอน หลังจากนั้นวอลลัสตันหันมาสนใจวิชาเคมี ผลิกศาสตร์ โลหะวิทยาและฟิสิกส์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1820 วอลลัสตันดำรงตำแหน่งประธานราชสมาคมแห่งลอนดอน[1] สองปีต่อมา เขาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของราชบัณฑิตยสถานด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์อเมริกัน[2]

วิลเลียม ไฮด์ วอลลัสตัน
เกิด6 สิงหาคม ค.ศ. 1766(1766-08-06)
เดียแรม นอร์ฟอล์ก อังกฤษ
เสียชีวิต22 ธันวาคม ค.ศ. 1828(1828-12-22) (62 ปี)
ชิเซิลเฮิสต์ อังกฤษ
สัญชาติอังกฤษ
มีชื่อเสียงจาก
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาเคมี, ฟิสิกส์

วอลลัสตันเป็นโสดตลอดชีวิต เขาเสียชีวิตที่เมืองชิเซิลเฮิสต์ในปี ค.ศ. 1828[1][3]

งาน แก้

ในปี ค.ศ. 1800 วอลลัสตันทำธุรกิจเคมีภัณฑ์กับสมิธสัน เทนแนนต์และคิดค้นวิธีผลิตแพลตินัมแท่งจากสินแร่ ทำให้เขามีฐานะร่ำรวยและผูกขาดการผลิตแพลตินัมแท่งในอังกฤษนานกว่า 20 ปี[1] การศึกษาธาตุแพลตินัมทำให้วอลลัสตันค้นพบธาตุแพลเลเดียมในปี ค.ศ. 1802 และธาตุโรเดียมในปี ค.ศ. 1804[1] นอกจากนี้วอลลัสตันยังมีผลงานด้านอื่น ๆ เช่น ค้นพบการเหนี่ยวนำไฟฟ้าก่อนไมเคิล ฟาราเดย์ 10 ปี[4], การศึกษาเส้นทึบในเส้นเฟราน์โฮเฟอร์[5], ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่เรียกว่า คาเมรา ลูซีดา ปริซึมวอลลัสตันและไครโอฟอรัส เป็นต้น

สิ่งสืบเนื่อง แก้

หมายเหตุ แก้

  1. อ่านได้ทั้ง "วอลลัสตัน" และ "วูลลัสตัน" [1] [2] [3]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Melvyn C. Usselman: William Hyde Wollaston Encyclopedia Britannica, retrieved 31 March 2013
  2. "Book of Members, 1780–2010: Chapter W" (PDF). American Academy of Arts and Sciences. สืบค้นเมื่อ 7 August 2014.
  3. วิลเลียม ไฮด์ วอลลัสตัน ที่ไฟน์อะเกรฟ
  4. H Davy. "On a New Phenomenon of Electro-Magnetism", Philosophical Transactions of the Royal Society of London, London, 1823.
  5. William Hyde Wollaston (1802) "A method of examining refractive and dispersive powers, by prismatic reflection," Philosophical Transactions of the Royal Society, 92: 365–380; see especially p. 378.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้