วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ ๓
วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี (อังกฤษ : Pattani Fisheries and Agriculture Technology College ) เป็นวิทยาลัยด้านเกษตรกรรมและการประมงแห่งเดียวในประเทศไทย สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ ๓ ตั้งอยู่ในจังหวัดปัตตานี โดยเปิดสอน 3 หลักสูตร คือ ปวช., ปวส. และปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
ชื่อย่อ | วษป.ปน. / PTFAC |
---|---|
คติพจน์ | อดทน กล้าแกร่ง ฝ่าอุปสวรรค รักคุณธรรม |
ประเภท | รัฐบาล - วิทยาลัย สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ |
สถาปนา | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 |
ผู้อำนวยการ | นายสมภพ เพชรภักดี |
ที่ตั้ง | |
เว็บไซต์ | pfcollege |
ประวัติ
แก้วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี แรกเริ่มเป็น "วิทยาลัยประมงปัตตานี" เป็นสถานศึกษา ที่ได้รับการจัดตั้งโดยความประสงค์ ความต้องการของประชาชน ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี นราธิวาส และยะลา) โดยนายพลากร สุวรรณรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นผู้ขอใช้ที่ดิน เพื่อจัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานีและมีประวัติความเป็นมาดังนี้
วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2536 กรมอาชีวศึกษาได้แต่งตั้ง นายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ ผู้อำนวยการวิทยาลัยประมง สงขลาติณสูลานนท์ เป็นผู้ประสานงานจัดตั้ง วิทยาลัยประมงปัตตานี พร้อมศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โดยมีวิทยาลัยการอาชีพปัตตานีเป็นสำนักงานชั่วคราวของวิทยาลัยประมงปัตตานี โดยกองวิทยาลัยเกษตรกรรม ผู้อำนวยการ บุญชุม เปียแดง ได้มอบให้วิทยาลัยประมงสงขลาติณสูลานนท์ร่วมกับศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตรบางพูน เป็นผู้สำรวจพื้นที่วางแผนการใช้ที่ดินและจัดทำแผนหลัก งานฟาร์ม
วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานี โดยอาศัยอำนาจตามความ ในมาตรา 25 แห่ง พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ. 2534 จึงให้จัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานี ที่หมู่ที่ 2 ตำบลบางตาวา และหมู่ที่ 7 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นสถานศึกษา สังกัดกองวิทยาลัยเกษตรกรรม กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยนายสังข์ทอง ศรีธเนศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 สุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แต่งตั้ง นายชลิต เฟื่องเรือง ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรกรรมราชบุรี ทำหน้าที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงปัตตานีคนแรก โดยสนับสนุนงบประมาณ งบกลาง ประจำปี 2540 ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยจ่ายตามโครงการพัฒนาจังหวัด และกรุงเทพมหานคร คือ การสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1,500,000 บาท โดยมีว่าที่ร้อยตรีนิพนธ์ ภู่พลับ อาจารย์ 2 ระดับ 5 และนายอุดม จันทรพาหา อาจารย์ 2 ระดับ 7 มาช่วยปฏิบัติราชการ ตามแผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์2538:เพื่อเตรียมพร้อมพลเมืองไทยสำหรับศตวรรษที่21[1]
วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 กรมอาชีวศึกษาได้แต่งตั้งให้นาย ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส ทำหน้าที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงปัตตานี โดยมี ว่าที่ร้อยตรีนิพนธ์ ภู่พลับ, นายสุรัตน์ชัย อมรจันทราภรณ์ , นางสาวสมสมัย พลอินตา และนายพิเสก ส่องสง เป็นคณะทีมงานช่วยเหลือ
วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2545 กรมอาชีวศึกษา ได้แต่งตั้ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาสทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงปัตตานีอีกหน้าที่หนึ่งขณะนั้น นายไกรสีห์ ชัยพรหม ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส ก็ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงปัตตานี อีกหน้าที่หนึ่ง และได้มอบหมายให้นายปรีชา เวชศาสตร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าวิทยาเขตวิทยาลัยประมงปัตตานี โดยมีนายพิเสก ส่องสง เป็นอาจารย์ผู้สอนอยู่เพียงคนเดียว เพื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอน และดูแลความเป็นวิทยาลัยอยู่
วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2546 กรมอาชีวศึกษา ได้แต่งตั้งให้นายสุชาติ พรหมหิตาทร มาเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส จึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงปัตตานี อีกหน้าที่หนึ่ง ตามคำสั่งเดิมของกรมอาชีวศึกษา และนายสุชาติ พรหมหิตาทร ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรเทคโนโลยีนราธิวาส ก็ได้มอบหมายให้นายปรีชา เวชศาสตร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าวิทยาเขต วิทยาลัยประมงปัตตานี เช่นเดิม โดยวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส ได้มอบหมายให้นาย ตำแหน่งอาจารย์ 1ระดับ5 และนาย ครูพิเศษจ้างสอน มาช่วยบริหารจัดการ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนร่วมด้วย
วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 กรมอาชีวศึกษา ได้แต่งตั้งให้ นายปรีชา เวชศาสตร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส ทำหน้าที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงปัตตานี โดยมีนายพงษ์ศักดิ์ ราชสุวรรณ และนายอนุชาติ บุรีรัตน์ ทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (ทำหน้าที่ตามคำสั่งภายในของวิทยาลัย) ทั้ง 3 คน ก็ได้ยึดอาคารเรียนชั่วคราว ทำเป็นสำนักงาน ทำเป็นห้องเรียน ห้องครัว ห้องละหมาด ห้องสมุด และพักกินนอนอยู่ภายในวิทยาลัยตลอดระยะเวลา และได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ในระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.) ตามโครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตร เพื่อชีวิตได้เต็มรูปแบบและเริ่มแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินอย่างจริงจัง
วันที่ 5 สิงหาคม 2546 นายปรีชา เวชศาสตร์ ได้ผลักดัน โครงการจัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานี เข้าสู่นโยบายเฉพาะกิจการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อของบประมาณ งบกลาง ปี 2546 (แต่ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ)
วันที่ 4 ธันวาคม 2546 วิทยาลัยประมงปัตตานี โดย นายปรีชา เวชศาสตร์ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสถานศึกษา ได้ผลักดันโครงการจัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานี เข้าสู่ประเด็น ยุทธศาสตร์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และธำรงเอกลักษณ์ของท้องถิ่น การส่งเสริมและพัฒนายกระดับการศึกษาในทุกระดับให้ได้มาตามของยุทธศาสตร์จังหวัดปัตตานี
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547 คณะกรรมการที่ปรึกษา วิทยาลัยประมงปัตตานี จำนวน 17 คน ได้เข้าชื่อยื่นเสนอ ขอจัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานี ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายนิกร จำนง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2547 นายปรีชา เวชศาสตร์ ได้ผลักดัน โครงการจัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานี โดยผ่านการทำประชาคม ระดับหมู่บ้าน ระดับตำบลบางตาวา ตำบลตุยง ระดับอำเภอของอำเภอหนองจิกเข้าสู่ เข้าสู่แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดปัตตานี และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ (จังหวัดปัตตานี ,จังหวัดนราธิวาส,จังหวัดยะลา) โดยได้เสนอโครงการจัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานี และ วันที่ 22 มิถุนายน 2547 คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติโครงการจัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานี และได้รับงบประมาณ งบกลาง ปี 2547 (วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2547) จำนวน 22,545,200 บาท ซึ่งได้จัดสรรผ่านหน่วยเบิกของวิทยาลัยการอาชีพปัตตานี ได้ช่วยเหลือสนับสนุนเป็นหน่วยเบิกจ่ายเงินให้ โดยได้สร้างอาคารศูนย์วิทยบริการ ระบบน้ำบาดาล ขยายของเขตไฟฟ้า ปรับปรุงถนนทางเข้า และครุภัณฑ์ สำนักงาน ครุภัณฑ์การศึกษา ครุภัณฑ์ห้องสมุด ครุภัณฑ์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ครุภัณฑ์แปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และครุภัณฑ์ยานพาหนะ (รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ จำนวน 1 คัน) งบบุคลากร งบอุดหนุน โดยมีนายประวิทย์ อ๋องสุวรรณ ตำแหน่งอาจารย์ 1 ระดับ 5 ทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการ เป็นผู้ประสานดำเนินการ และมี นายพงษ์ศักดิ์ ราชสุวรรณ ตำแหน่งอาจารย์ 1 ระดับ 5ทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (คำสั่งภายในวิทยาลัย) และว่าที่ร้อยตรีนิพนธ์ ภู่พลับ เป็นผู้ร่วมดำเนินการ
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 นายปรีชา เวชศาสตร์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพบางแก้วทำหน้าที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงปัตตานี ได้ทำโครงการจัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานี ไปเสนอต่อกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต) เนื่องจากรัฐบาลได้มีการปรับเปลี่ยน วิธีการทางงบประมาณ โครงการส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณ ระยะที่ 2 ของวิทยาลัยประมงปัตตานี ได้ถูกพับไป เมื่อนายปรีชา เวชศาสตร์ ชี้แจ้งถึงความจำเป็น ความสำคัญของวิทยาลัยประมงปัตตานี ทางกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) ก็ได้อนุมัติงบประมาณมาให้ 25,000,000 บาท โดยมีงบบุคลากร งบดำเนินงาน งบอุดหนุน และงบลงทุน โดยได้สร้างอาคารเรียน 2 ชั้น 8 ห้องเรียน 2 หลัง อาคารฝึกอาชีพ 1 ชั้น มีใต้ถุนโล่ง 2 หลัง อาคารประกอบกิจศาสนา จำนวน 2 หลัง หอพักนักศึกษาจำนวน 1 หลัง โรงเพาะฟักสัตว์น้ำกร่อยอีก 1 หลัง ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ครุภัณฑ์สำนักงาน และครุภัณฑ์ยานพาหนะ (รถตู้ 1 คัน , รถกระบะ 1 คัน) โดยมีว่าที่ร้อยตรีนิพนธ์ ภู่พลับ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นผู้ประสานดำเนินการ โดยมี นายประวิทย์ อ๋องสุวรรณ และนายวรยุทธ์ ชีวรัตน์ ทำหน้าที่รองผู้อำนวยการ (คำสั่งภายใน) นางกิตติวรรณ ชีวรัตน์ นายประพัฒน์ กองแก้ว และบุคลากรของอาชีวศึกษาจังหวัดปัตตานีมาร่วมดำเนินการ
วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2547 นายปรีชา เวชศาสตร์ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงปัตตานี ขอเสนอหน่วยเบิกใหม่ ให้วิทยาลัยประมงปัตตานี โดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้อนุมัติ ให้มีรหัสหน่วยงาน รหัสหน่วยเบิกย่อย และรหัสบัญชีย่อย ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2547
วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2548 นายปรีชา เวชศาสตร์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพบางแก้วทำหน้าที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงปัตตานี ได้เสนอโครงการเพิ่มศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน ของวิทยาลัยประมงปัตตานี เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ จากงบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด แบบบูรณาการต่อจังหวัดปัตตานี ก็ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ มาเป็นเงิน 7,772,900 บาท โดยได้เป็นงบบุคลากร งบดำเนินงาน และงบลงทุน โดยสร้างโรงอาหารอเนกประสงค์ ป้ายวิทยาลัย ป้อมยาม เสาธงชาติ ปรับปรุงห้องเป็นห้องเรียนรวมและห้องประชุม ห้องน้ำ 4 หลัง และครุภัณฑ์ยานพาหนะ(รถบรรทุก 6 ล้อ 1 คัน)
ปีงบประมาณ 2550 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุน (งบลงทุน) สร้างโรงฝึกอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ 1 หลัง สร้างอาคารบ้านพักครู 6 หน่วย 2 ชั้น 1 หลัง สร้างบ้านพักผู้บริหาร จำนวน 1 หลัง และครุภัณฑ์ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นเงิน 10,553,000 บาท และชุดกล้องวงจรปิด งบตามโครงการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 900,000 บาท
นายปรีชา เวชศาสตร์ ได้ของบกลางปี 2550 ได้งบสร้างฟาร์มตัวอย่าง, ขยายเขตไฟฟ้าแรงต่ำ, สร้างบ้านพักเกษตรกร, สร้างถนนภายใน, ซื้อรถแทรกเตอร์ 1 คัน และสร้างรั้วรอบวิทยาลัย รวมงบประมาณ เป็นเงิน 14,200,000 บาท และสร้างรั้ว เป็นจำนวนเงิน 5,000,000 บาท
ปีงบประมาณ 2551 ได้รับการจัดสรรงบภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามกลยุทธการเพิ่มศักยภาพสถานศึกษาอาชีพเฉพาะทางเชื่อมโยงการมีงานทำเพื่อความมั่นคง (วิทยาลัยประมงปัตตานี) เป็นเงิน 8,000,000 บาท และวิทยาลัยได้เสนอโครงการพัฒนาวิทยาลัยประมงปัตตานีเพื่อของบประมาณจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) ได้สร้างบ้านพักนักเรียนนักศึกษา จำนวน 2 หลังๆละ 2,300,000 บาท เป็นเงิน 4,600,000 บาท และได้ขอความอนุเคราะห์สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดปัตตานีขุดสระเก็บน้ำจืดไว้ใช้เพื่อการเกษตร จำนวน16 ไร่ เป็นเงิน 2,617,000 บาท และได้รับจัดสรรงบลงทุนสร้างอาคารจำหน่ายผลผลิตของนักเรียนนักศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 1,228,500 บาท
ปีงบประมาณ 2552 ได้รับจัดสรรงบลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นรายการปรับปรุงถนนภายในฟาร์มตัวอย่าง เป็นเงิน 5,000,000 บาท ครุภัณฑ์ชุดมัลติมีเดีย เป็นเงิน 1,850,000 บาท
ปีงบประมาณ 2553 ได้รับงบเงินกู้ (SP:2) โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะ 2 สร้างอาคารเรียนปฏิบัติการพื้นที่ 1,920 ตารางเซนติเมตร งบประมาณ 15,360,000 บาท และขอสนับสนุนระบบน้ำเพื่อใช้ในฟาร์มเกษตรผสมผสานจากโครงการชลประทานปัตตานี กรมชลประทาน งบประมาณ 10,000,000 บาท
ปีงบประมาณ 2554 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดสรรงบประมาณ (งบลงทุน) ค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง ในการปรับปรุงอาคารโรงเรือน งบประมาณ 5,880,000 บาท และค่าขยายขอบเขตไฟฟ้าแรงต่ำภายในแปลงเกษตรผสมผสาน งบประมาณ 1,800,000 บาท[2]
เปิดสอน
แก้ปัจจุบันทำการเรียนการสอน ดังนี้
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
แก้รับนักเรียนจบ ม.3 เรียนต่อ 3 ปี[3]
- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
- สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ
- สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
หลักสูตรประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
แก้รับนักเรียนจบ ม.6 หรือ ปวช. เรียนต่อ 2 ปี
- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
- สาขาวิชาช่างกลเกษตร
- สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ
- สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสำนักงาน[4]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว๊บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เก็บถาวร 2018-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว๊บไซต์สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ ๓
- เว๊บไซต์วิทยาลัย เก็บถาวร 2017-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ้างอิง
แก้- ↑ https://drive.google.com/file/d/1JLvKeOom22AL7w_RBHFXOTC7nydqLtew/edit
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-21. สืบค้นเมื่อ 2017-05-10.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-09. สืบค้นเมื่อ 2017-05-10.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-21. สืบค้นเมื่อ 2017-05-10.