วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕
วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา (อังกฤษ : Nakhonrahasima Technical College ) เป็นวิทยาลัยด้านช่างอุตสาหกรรม สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕ ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยเปิดสอน 3 หลักสูตร คือ ปวช., ปวส. และปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
ชื่อย่อ | NTC |
---|---|
คติพจน์ | ฝีมือเป็นเยี่ยม วิชาการเป็นเลิศ คุณธรรมสูงยิ่ง |
ประเภท | รัฐบาล - วิทยาลัย สังกัด สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕ |
สถาปนา | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2480 |
ที่ตั้ง | เลขที่ 508 ถนนสุรนารี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา |
เว็บไซต์ | http://www.ntc.ac.th |
ประวัติ
แก้วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา เดิมเป็นโรงเรียนเรียกว่า "โรงเรียนประถมช่างไม้" โรงเรียนนี้เป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนประชาบาล ตำบลในเมือง "วัดสระแก้ว" รับนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อเรียนต่อในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาที่เรียนมีวิชาช่างไม้และสามัญ เมื่อแรกตั้งโรงเรียนนี้ดำลงอยู่ด้วยเงินประถมศึกษา เมื่อนักเรียนสอบไล่ได้ปีที่ 6 แล้วนับว่าเรียนจบชั้นประถมบริบูรณ์
- พ.ศ. 2480 ได้เปลี่ยนแปลงแผนการศึกษาใหม่ จึงแยกกิจการออกเป็นเอกเทศแต่คงทำการสอนอยู่ในสถานศึกษาเดิม ส่วนการสอนคงสอนตามหลักสูตรฉบับสังเขปของกระทรวงธรรมการตลอดมา
- พ.ศ. 2481 ทางราชการได้ตั้งโรงเรียนอาชีวการช่างประเภทต่าง ๆ ขึ้นทุกจังหวัดเพื่อส่งเสริมการอาชีพการช่างให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นและทางรัฐบาลมีความจำเป็นต้องจัดการศึกษาประเภทนี้ให้เป็นปึกแผ่นจึงได้สั่งยุบโรงเรียนประถมช่างไม้เดิมเสียและได้ตั้งโรงเรียนประถมอาชีพช่างไม้ขึ้น โดยใช้สถานที่โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดซึ่งทางการได้สั่งย้ายโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด ไปอยู่อำเภอโนนวัด (อำเภอโนนสูงปัจจุบัน) เป็นสถานที่เล่าเรียนโรงเรียนนี้ขึ้นตรงต่อจังหวัดและมาทำการเปิดเรียน ณ สถานศึกษาแห่งใหม่เมื่อ วันที่ 1 สิงหาคม 2481
- พ.ศ. 2482 โรงเรียนประถมอาชีพช่างไม้ เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่จากคำว่า "โรงเรียนประถมอาชีพช่างไม้" เป็น "โรงเรียนช่างไม้นครราชสีมา" รับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 1 (แผนกช่างไม้ฝีมือ) และต่อมาโรงเรียนเปิดทำการสอนในระดับประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย (แผนกช่างไม้ปลูกสร้าง) หลักสูตร 3 ปีขึ้น โดยรับนักเรียนที่สอบไล่ได้ชั้นประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น(แผนกช่างไม้ฝีมือ) และสอบไล่ได้ ม.3 (ป.7 ในปัจจุบัน) เข้าเรียนต่อในชั้นมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลายที่ 1 (แผนกช่างไม้ปลูกสร้าง) เมื่อเรียนสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนกช่างไม้ปลูกสร้าง) เมื่อเรียนสำเร็จการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนกช่างไม้ปลูกสร้าง) เมื่อเรียนสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมอาชีวศึกษา
- พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่คำว่า "โรงเรียนช่างไม้นครราชสีมา" เป็น "โรงเรียนการช่างนครราชสีมา"
- พ.ศ. 2501 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดสอนในระดับประโยคมัธยมอาชีวชั้นสูง (แผนกช่างไม้และก่อสร้าง) หลักสูตร 3 ปี โดยรับนักเรียนที่สอบไล่ได้ชั้นประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนกช่างไม้และก่อสร้าง) เข้าศึกษาต่อในมัธยมศึกษาชั้นสูงปีที่ 1 (แผนกช่างไม้และก่อสร้าง) เมื่อนักเรียนจบหลักสูตรนี้แล้วจะได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาอาชีวศึกษาชั้นสูง (แผนกช่างไม้และก่อสร้าง)
- พ.ศ. 2502 โรงเรียนได้รับความช่วยเหลือจากองค์การ ส.ป.อ. ให้โรงเรียนอยู่ในโครงการฝึกช่างฝีมือที่จัดขึ้นในประเทศไทย เพื่อผลิตช่างฝีมือระดับกลาง ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในด้านอุตสาหกรรม โดยช่วยเหลือทั้งด้านการเงิน อุปกรณ์การสอน และเครื่องมือ เครื่องจักรต่าง ๆ ดังนั้น โรงฝึกงานช่างไม้จึงถูกดัดแปลงตามโครงการนี้ให้เป็นโรงงานที่สามารถใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือ เครื่องจักร ที่ใช้ไฟฟ้าได้
- พ.ศ. 2504 กรมศึกษาได้เปิดรับนักเรียนที่สำเร็จกากศึกษาชั้น ม.3 (เดิม) เข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนกช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟฟ้า ช่างวิทยุโทรคมนาคม ช่างกลโรงงาน และช่างเชื่อมโลหะแผ่น) หลักสูตร 3 ปี เพื่อทดลองอาชีวศึกษาตอนปลาย (แผนกช่างไม้ก่อสร้าง) และได้รับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประโยคอาชีวศึกษาตอนปลาย (แผนกช่างไม้ก่อสร้าง) และได้รับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประโยคอาชีวศึกษาตอนปลาย (แผนกช่างไม้ก่อสร้าง) และผู้สำเร็จการศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 สายสามัญศึกษาต่อในระดับประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ มีแผนกช่างไฟฟ้า ช่างก่อสร้าง ช่างวิทยุและโทรคมนาคม ช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน และแผนกช่างเชื่อมโลหะแผ่นหลักสูตร 3 ปี เข้าเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สายอาชีพ แผนกต่าง ๆ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วนั้นจะได้รับประกาศนียบัตรมัธนมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ.6) สายอาชีพ ตามแผนกต่าง ๆ ที่เรียนมา
- พ.ศ. 2510 กระทรวงศึกษาธิการ ได้พิจารณาคัดเลือกให้โรงเรียนอยู่ในโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา โครงการนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2510 เป็นต้นมาเป็นเวลา 5 ปี โรงเรียนนี้ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากโครงการนี้ เช่น ปรับปรุงอาคารเรียน อุปกรณ์การสอนและอื่น ๆ อีกมากมายหลายแห่ง
- พ.ศ. 2513 โรงเรียนได้เปลี่ยนชื่อสถานศึกษาใหม่จากคำว่า "โรงเรียนการช่างนครราชสีมา"เป็น"โรงเรียนเทคนิคนครราชสีมา" ในโครงการเงินกู้ เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา
- พ.ศ. 2519 โรงเรียนได้รับการยกฐานะเป็น "วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อสถานศึกษาใหม่เป็น "วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา วิทยาเขต 1" และเปิดนับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพเพื่อเข้าศึกษาต่อในแผนกช่างไฟฟ้ากำลัง แผนกวิชาช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ แผนกวิชาเครื่องมือกล และแผนกวิชาช่างเชื่อมโละแผ่น มีหลักสูตร 2 ปี เมื่อสำเร็จและจะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- พ.ศ. 2521 กระทรวงศึกษาธิการได้พิจารณาเห็นว่า เพื่อให้เกิดความสะดวกและความเหมาะสมในการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาจึงเห็นควรให้ วิทยาลัยอาชีวศึกษา ซึ่งมี 2 วิทยาเขต ได้แยกแต่ละวิทยาเขตออกจากวิทยาลัยและตั้งเป็นวิทยาลัยใหม่ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา วิทยาเขต 1 เป็นวิทยาลัยช่างอุตสาหกรรมนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551
- พ.ศ. 2522 กระทรวงศึกษาะการได้พิจารณาเห็นสมควรเปลี่ยนชื่อ วิทยาลัยช่างอุตสาหกรรมนครราชสีมา เพื่อให้เหมาะสมกับหลักสูตรลักษณะการสอนในปัจจุบัน และสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น จึงให่เปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา" ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2522
- พ.ศ. 2523 กระทรวงศึกษาพิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงขยายการอาชีวศึกษาให้แพร่หลายยิ่งขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ได้มีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้น จึงให้วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา เปิดสอนแผนกวิชาช่างยนต์ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- พ.ศ. 2524 กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงขยายการอาชีวศึกษา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสามัญ (มศ.5) ได้มีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้น จึงให้วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาเปิดสอนแผนกวิชาเทคนิคเครื่องเย็น และปรับอากาศสาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมโยธาและสาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)
- พ.ศ. 2525 กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาเห็นสมควรให้เปิดสาขาวิชาชีพเพิ่มเติม จึงให้วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาเปิดสอนแผนกวิชาสาขาเทคนิคเขียนแบบเครื่องกล ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาให้กว้างขว้างและสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
- พ.ศ. 2527 กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาเห็นสมควรให้เปิดสาขาวิชาชีพเพิ่มเติม จึงให้วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาเปิดสอนแผนก วิชาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)
- พ.ศ. 2527 กรมการอาได้ดำเนินการคัดเลือกสถานศึกษาดีเด่นของกรมฯ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติสถานศึกษาที่ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาดีเด่น เพื่อเป็นกำลังใจสนับสนุนผู้บริหารสถานศึกษา ครู-อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา คนงาน ภารโรง ในการร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาปรับปรุงสถานศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานสูงขึ้น ตามนโยบายของกรมอาชีวศึกษา และเพื่อให้ได้สถานศึกษาที่เป็นแบบอย่างหรือเป็นต้นแบบแก่สถานศึกษาโดยทั่วไป โดยกรมอาชีวศึกษาได้แต่งตั้งคระกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อการนี้ เรียกว่า "คณะกรรมการดำเนินการคัดเลือกสถานศึกษาดีเด่นและครูดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2528" มีรองอธิบดีกรมอาชีวศึกษา (นายพิเชฎฐ์ คงทน) เป็นประธาน กรรมการผู้อำนวยการกองสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องเป็นกรรมการและสำนักงานเลขานุการกรมอาชีวศึกษา เป็นฝ่ายเลขานุการ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาดีเด่นประเภทช่างอุตสาหกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2528
- พ.ศ. 2533 เปิดเพิ่มเติมแผนกช่างเชื่อมโลหะระดับชั้น ปวช. ปีที่ 1 จำนวน 2 ห้อง แผนกช่างประกอบผลิตภัณฑ์เป็น 1 ห้อง
- พ.ศ. 2534 เปิดเพิ่มเติมแผนกช่างยนต์ในระดับชั้น ปวช. ปีที่ 1 เป็น 3 ห้องเรียนจากเดิม 2 ห้องเรียน
- พ.ศ. 2535 เปิดเพิ่มแผนกช่างก่อสร้างและช่างกลโรงงานในระดับชั้น ปวช. ปีที่ 1 เป็นแผนกละ 3 ห้องเรียน จากเดิม 2 ห้องเรียน
- พ.ศ. 2537 เปิดเพิ่มเติมระดับ ปวช. สาขาช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี) ระดับ ปวส. สาขาช่างยนต์ ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า และอิเล้กทรอนิกส์ (วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณฯ)
- พ.ศ. 2538 เปิดเพิ่มเติมระดับ ปวส. สาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล
- พ.ศ. 2539 เปิดเพิ่มเติม ระดับ ปวส. สาขาเทคโนโลยีโทรคมนาคม สาขาวิชาเทคนิคการผลิต (สาขางานเครื่องมือกล และสาขางานแม่พิมพ์พลาสติก)
- พ.ศ. 2540 เปิดเพิ่มเติมระดับ ปวช. สาขาเขียนแบบเครื่องกล และประเภทวิชาพาณิชยกรรม
- พ.ศ 2542 ได้รับการคัดเลือกเป็นสถานศึกษารางวัลพระราชทาน
- พ.ศ. 2544 เปิดเพิ่มระดับ ปทส.สาขาเทคนิคไฟฟ้ากำลัง และเป็นศูนย์การเรียนของสถานบันเทคโนโลยีปทุมวัน เปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์
- พ.ศ. 2545 เปิดเพิ่มระดับ ปวส. ช่างอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานระบบโทรคมนาคม
- พ.ศ. 2546 เป็นศูนย์การเรียนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ระดับปริญญาโท สาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (คอ.ม)
- พ.ศ. 2548 เปิดหลักสูตร ปวช. ปวส. ร่วมกับสถานประกอบการบริษัท สงวนอุตสาหกรรม จำกัด
- พ.ศ. 2549 เปิดหลักสูตร ปวช. ปวส. ร่วมกับสถานประกอบการ บริษัท ไดซิน จำกัด
- พ.ศ. 2550 จัดการเรียนการสอน โดยความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา ระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ)[1]
หลักสูตรที่เปิดสอน
แก้วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา ปัจจุบันเปิดสอน 3 หลักสูตร คือ ปวช., ปวส. และปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
- การก่อสร้าง
- เครื่องกล
- เครื่องมือกลและซ่อมบำรุง
- แมคคาทรอนิคส์
- พณิชยการ
- ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- โลหะการ
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
- การก่อสร้าง
- การบัญชี
- เขียนแบบเครื่องกล
- คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- เครื่องกล
- เทคนิคการผลิต
- เทคนิคโลหะ
- เทคนิคอุตสาหกรรม
- ไฟฟ้ากำลัง
- โยธา
- อิเล็กทรอนิกส์
- แมคคาทรอนิกส์
หลักสูตรปริญญาตรี
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า
- สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-21. สืบค้นเมื่อ 2010-11-29.