สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕ (อังกฤษ: Institute of Vocational education : Northeastern Region 5) เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เกิดจากการรวมตัวกันของ วิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยอาชีวศึกษาในกลุ่ม (จังหวัดนครชัยบุรินทร์) นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์และสุรินทร์ เพื่อทำหน้าที่ผลิตปัญญาชน คนอาชีวศึกษาสู่ตลาดแรงงานซึ่งในปัจจุบันถือว่ามีความต้องการสูง และเพิ่มอัตรากำลังคนอาชีวศึกษาให้ได้รับการศึกษาขั้นสูง โดยเปิดทำการสอนในระดับปริญญาตรี (สายปฏิบัติการ) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โดยมีศูนย์กลางตั้งอยู่ภายในวิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อย่อ | สอฉ.๕ / IVENE 5 |
---|---|
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา |
สถาปนา | 2557 |
นายกสภาฯ | รศ.น.อ.ดร.วรพจน์ ขำพิศ |
ที่ตั้ง | ศูนย์กลางเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ เลขที่ 999 หมู่ที 6 ตำบลด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา 30210 |
วิทยาเขต | |
เว็บไซต์ | www.veine5.ac.th |
ประวัติ
แก้สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕ แรกเริ่มเดิมคือ"วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ" เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2536 พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) เจ้าอาวาสแห่งวัดบ้านไร่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ได้ดำริที่จะสร้างสถานศึกษาให้เป็นสถานศึกษาที่สามารถผลิตบุคลากรให้มีวิชาชีพเพื่อใช้ประกอบวิชาชีพได้ โดยไม่ต้องให้เยาวชนเดินทางไปศึกษาที่อื่น
ต่อมา นายสำเร็จ วงศ์ศักดา อาจารย์วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษาที่จะจัดสร้างว่า ควรเป็นสถานศึกษาที่จัดการสอนด้านสายอาชีพหรืออาชีวศึกษา จึงจะเหมาะกับท้องถิ่นดังนั้นจึงได้เกิดโครงการจัดตั้ง “วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ” ขึ้น ซึ่งนายศุภร บุญเนาว์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา เป็นประธานโครงการนี้ และได้มอบหมายให้นายสำเร็จ วงศ์ศักดา และคณะเป็นผู้ประสานงานดำเนินการ
จนกระทั่งวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้ง “วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ” สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ขึ้น โดย พระเทพวิทยาคม สนับสนุนการก่อสร้างอาคารเรียน อาคารปฏิบัติการ อาคารหอสมุดอาคารพัสดุกลาง อาคารอำนวยการ บ้านพักครูและนักการภารโรงตลอดจนสาธารณูปโภคอื่น ๆ ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นตามโครงการในปีการศึกษา 2540 ใช้งบประมาณ ไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาทเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 พระเทพวิทยาคม มอบเงินให้นายสำเร็จ วงศ์ศักดา ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ เพื่อพัฒนาวิทยาลัยฯ และตั้งมูลนิธิจำนวน 50 ล้านบาทการนี้จึงได้สร้างอาคารหอสมุดอนุรักษ์พลังงานใช้งบประมาณในการก่อสร้างราคาตามแบบ 32 ล้านบาท ทีมงาน ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ ออกแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน คุณพจน์ ธนโชติ บริษัทคูซ่า ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ได้ให้ความอนุเคราะห์ก่อสร้าง รวมเฟอร์นิเจอร์ภายในราคา 24 ล้านบาท[1]
ต่อมาปี พ.ศ. 2556 วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ได้รับประกาศให้จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีสายปฏิบัติการ และให้รวมวิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยอาชีวศึกษาในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ จำนวน 9 แห่ง โดยอำศัยอำนาจตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 ระบุว่า "สถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาสามารถรวมเข้าไว้ในสถาบันการจัดตั้งคณะกรรมการอาชีวศึกษาเข้าด้วยกันในสถาบันอาชีวศึกษาสามารถทำได้โดยคำนึงถึงความร่วมมือที่เกิดประโยชน์สูงสุด ทรัพยากรร่วมกันทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ... "[2]
จึงทำให้ วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ วิทยาลัยเทคนิคคูเมือง วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา วิทยาลัยเทคนิคบุรีรมย์ วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา และวิทยาลัยาชีวศึกษาสุรินทร์รวมควบตั้งขึ้นเป็น "สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยมีศูนย์กลางที่จังหวัดนครราชสีมา
หน่วยงานในสังกัด
แก้
วิทยาลัยเทคนิค |
|
หลักสูตร
แก้หลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕[3] | |||
---|---|---|---|
วิทยาลัย | ประกาศนียบัตรวิชาชีพ | ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง | ระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)[4] |
ศูนย์กลางเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเทคนิคคูเมือง | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
- |
วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
- |
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-16. สืบค้นเมื่อ 2017-05-08.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-09. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.
- ↑ "หลักสูตรอาชีวศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-04. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.
- ↑ "หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2558" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.