วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร (อังกฤษ : Chumphon College of Agriculture and Technology ) เป็นวิทยาลัยด้านการเกษตร สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ ตั้งอยู่ในจังหวัดชุมพร โดยเปิดสอน 2 หลักสูตร คือ ประกาศนียบีตรวิชาชีพ (ปวช.), ประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ชื่อย่อ | วษท.ชพ. / CPCAT |
---|---|
คติพจน์ | " เรียนเกษตรเพื่อการผลิต ใช้ชีวิตให้มีคุณธรรม " |
ประเภท | รัฐบาล - วิทยาลัย สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ |
สถาปนา | 11 ตุลาคม 2505 |
ผู้อำนวยการวิทยาลัย | นายจำนงค์ พูลภักดี |
ที่ตั้ง | |
เว็บไซต์ | วษท.ชุมพร |
ประวัติ
แก้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร แรกเริ่มชื่อเดิมว่า “โรงเรียนเกษตรกรรมแผนใหม่ชุมพร” ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2505 บนเนื้อที่ 2,431 ไร่ 1 งาน 30.7 ตารางวา ทำพิธีเปิดป้ายชื่อโรงเรียนเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2505 โรงเรียนเกษตรกรรมแผนใหม่ชุมพร เริ่มเปิดทำการสอนวันที่ 11 พฤศจิกายน 2505 เป็นการสอนแบบหลักสูตรระยะสั้น อบรมเกษตรกรในท้องถิ่น รุ่นละ 5 เดือน ดำเนินการได้ 3 รุ่น มีผู้สำเร็จการอบรม 89 คน
ปี พ.ศ. 2507 ได้เปิดสอนหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ แผนกเกษตรกรรม (ม.ศ. 4-5-6) และงดการเปิดสอนหลักสูตรระยะสั้น
ปี พ.ศ. 2509–2512 ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นโรงเรียนในโครงการเงินกู้จากธนาคารโลก เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา
ปี พ.ศ. 2512 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนเกษตรกรรมชุมพร”
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ได้รับการยกฐานะเป็น “วิทยาลัยเกษตรกรรมชุมพร” ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการเงินยืมจากรัฐบาลเดนมาร์ก เพื่อพัฒนาฟาร์มโคนมและเครื่องมือจักรกลฟาร์ม
ปี พ.ศ. 2525 กรมอาชีวศึกษา ได้มอบรางวัลชมเชยในฐานะที่วิทยาลัยฯ สามารถปฏิบัติงานได้ผลตรงตามนโยบายของกรมฯ
ปี พ.ศ. 2527 ได้รับการคัดเลือกเป็นสถานศึกษาดีเด่น ประเภทวิชาเกษตรกรรม ของกรมอาชีวศึกษา
ปี พ.ศ. 2537 ดำเนินการเปิดสอนในลักษณะวิทยาลัยชุมชนขึ้นภายในวิทยาลัยเกษตร โดยใช้ชื่อ “วิทยาลัยชุมชนทุ่งตะโก”
ปี พ.ศ. 2539 เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร” จนถึงปัจจุบัน ตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาโครงการเกษตรเพื่อชีวิต ที่ให้เรียนฟรี อยู่ประจำ ทำโครงการ ของ นายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น
ปัจจุบันวิทยาลัยฯ มีการจัดการศึกษาเป็น 2 ระบบ คือ
- การศึกษาในระบบ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- การศึกษานอกระบบ
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โครงการอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท (อศ.กช.)
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เทียบโอนประสบการณ์และสะสมหน่วยกิต
- โครงการฝึกอบรมและบริการวิชาชีพ[1]
เปิดสอน
แก้ปัจจุบันทำการเรียนการสอน ดังนี้
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
แก้รับนักเรียนจบ ม.3 เรียนต่อ 3 ปี
- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
- สาขาวิชาพณิชยการ
หลักสูตรประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
แก้รับนักเรียนจบ ม.6 หรือ ปวช. เรียนต่อ 2 ปี
- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
- สาขาวิชาเกษตรอุตสาหกรรม
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- สาขาวิชาพืชศาสตร์
- สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- สาขาวิชาสัตวศาสตร์
- สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร[2]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว๊บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เก็บถาวร 2018-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว๊บไซต์สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้
- เว๊บไซต์วิทยาลัย
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-01. สืบค้นเมื่อ 2017-05-10.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-10. สืบค้นเมื่อ 2017-05-10.