วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์/การทับศัพท์ภาษายูเครน

เนื่องจากภาษายูเครนยังไม่เคยมีหลักเกณฑ์การทับศัพท์มาก่อน หน้านี้จึงเป็นแนวทางการทับศัพท์ภาษายูเครนสำหรับชื่อเฉพาะต่าง ๆ เพื่อใช้ในสารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทย

หลักทั่วไป แก้

 
ป้ายชื่อถนนในเมืองลวิว บรรทัดบนเขียนเป็นอักษรซีริลลิก ส่วนบรรทัดล่างถอดเป็นอักษรโรมันตามมาตรฐานของรัฐบาลยูเครน

1. การทับศัพท์ภาษายูเครนนี้ใช้วิธีการถอดเสียงภาษายูเครนตามที่เขียนด้วยอักษรซีริลลิกเป็นหลัก โดยถอดเสียงคำตัวอย่างเป็นอักษรโรมันและสัทอักษรสากลไว้ให้เป็นแนวเทียบ

2. ระบบการถอดอักษรภาษายูเครนเป็นอักษรโรมันมีหลายระบบ ในที่นี้จะใช้ระบบที่ปรากฏในตารางแนบท้ายมติคณะรัฐมนตรียูเครนหมายเลข 55 ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553 ซึ่งใช้สำหรับเขียนคำวิสามานยนามยูเครนเป็นอักษรโรมันในเอกสารทางการ แผนที่ และป้ายบอกชื่อสถานที่สาธารณะต่าง ๆ[1][2] อย่างไรก็ตาม ระบบดังกล่าวไม่จำแนกความแตกต่างระหว่างการถอดอักษรบางตัวไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะมีผลต่อการทับศัพท์ ผู้ทับศัพท์จึงต้องตรวจสอบกับตัวเขียนอักษรซีริลลิกหรือสัทอักษรสากลประกอบกันไปด้วย

3. การถอดเสียงภาษายูเครนเป็นสัทอักษรสากลในที่นี้เป็นการถอดเสียงแบบกว้างเพื่อประโยชน์ในการทับศัพท์เป็นหลัก ไม่ได้มุ่งที่จะแสดงรูปแปรหน่วยเสียงย่อยของทุกหน่วยเสียงอย่างละเอียด จึงอาจแตกต่างจากระบบการถอดเสียงที่ใช้ในที่อื่น ๆ (เช่น วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ) อยู่บ้าง

4. เสียงพยัญชนะ p, t และ k ในภาษายูเครนโดยปรกติมีลักษณะเป็นเสียงไม่พ่นลม[3] จึงทับศัพท์เป็น ป, ต และ ก ตามลำดับ เช่น

преспап
сиро́п
тка́ти
атле́т
кі́шка
козиро́к
prespapie
syrop
tkaty
atlet
kishka
kozyrok
[prɛspɑˈpjɛ]
[sɪˈrɔp]
tkɑtɪ]
tˈɫɛt]
k⁽ʲ⁾iʃkɑ]
[kɔzɪˈrɔk]
รสปิแย
ซือรอ
ตกตื
อัแล
กิ
อซือรอ
"ที่ทับกระดาษ"
"น้ำเชื่อม"
"สาน, ถัก"
"นักกีฬา"
"แมว"
"กะบังหมวก, กันสาด"

5. เสียงพยัญชนะบางเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ให้ทับศัพท์ดังนี้

5.1 เสียงพยัญชนะไม่ก้อง ʃ ทับศัพท์เป็น ช เช่น
ши́нка
вірш
shynka
virsh
ʃɪnkɑ]
[ʋ⁽ʲ⁾irʃ]
ชึนกา
วีร์
"แฮม"
"บทร้อยกรอง"
5.2 เสียงพยัญชนะก้อง ʒ ทับศัพท์เป็น ฌ เช่น
жовто́к
пря́жа
zhovtok
priazha
[ʒɔu̯ˈtɔk]
[ˈprʲɑʒɑ]
อว์ตอก
เปรีย
"ไข่แดง"
"ไจด้ายหรือไหมพรม"
5.3 เสียงพยัญชนะเสียดแทรก x ทับศัพท์เป็น ค เช่น
хурма́
птах
khurma
ptakh
[xurˈmɑ]
[ptɑx]
คูร์มา
ปตั
"พลับ"
"นก"

6. เสียงพยัญชนะกักเสียดแทรก t͡s, t͡sʲ, d͡z และ d͡zʲ เมื่ออยู่ต้นคำให้ทับศัพท์เป็นเสียงพยัญชนะเสียงเดียว แต่เมื่ออยู่ภายในคำหรือท้ายคำให้ทับศัพท์เป็นเสียงพยัญชนะ 2 เสียง ดังนี้

- เสียง t͡s และ t͡sʲ เมื่ออยู่ต้นคำ ใช้ ซ หรือ ส ขึ้นอยู่กับเสียงที่แวดล้อม เช่น
цуке́рка
цвірку́н
tsukerka
tsvirkun
[t͡suˈkɛrkɑ]
[t͡s⁽ʲ⁾ʋ⁽ʲ⁾irˈkun]
ซูแกร์กา
วีร์กุน
"ลูกกวาด"
"จิ้งหรีด"
เมื่ออยู่ภายในคำ ใช้ ตซ หรือ ตส ขึ้นอยู่กับเสียงที่แวดล้อม เช่น
о́цет
мі́цно
otset
mitsno
[ˈɔt͡sɛt]
[ˈm⁽ʲ⁾it͡snɔ]
ออ
มิตส์นอ
"น้ำส้มสายชู"
"อย่างแน่นหนา"
เมื่ออยู่ท้ายคำ ใช้ ตส เช่น
пе́рець
та́нець
perets
tanets
[ˈpɛrɛt͡sʲ]
[ˈtɑnɛt͡sʲ]
แปแรตส์
ตาแนตส์
"พริก, พริกไทย"
"การเต้นรำ"
- เสียง d͡z และ d͡zʲ เมื่ออยู่ต้นคำ ใช้ ซ เช่น
дзи́ґа dzyga d͡zɪɡɑ] ซือกา "ลูกข่าง"
เมื่ออยู่ภายในคำ ใช้ ดซ เช่น
відзна́ка vidznaka [ʋ⁽ʲ⁾id͡zˈnɑkɑ] วิดซ์นากา "เครื่องหมายเด่น, เครื่องหมายยศ"
เมื่ออยู่ท้ายคำ ใช้ ดซ เช่น
ґедзь gedz [ɡɛd͡zʲ] แกดซ์ "เหลือบ"

7. พยัญชนะเบา พยัญชนะยูเครนจำนวนหนึ่งเมื่อตามด้วยสระที่นำด้วย [j] (ได้แก่ є, ю, я) หรือเมื่อตามด้วยอักษร ь ในขณะออกเสียงจะมีการเคลื่อนฐานกรณ์ไปสู่เพดานแข็งร่วมด้วย (แสดงด้วยสัญลักษณ์ ʲ ในชุดสัทอักษรสากล) ไวยากรณ์ยูเครนเรียกพยัญชนะที่มีลักษณะการออกเสียงเช่นนี้ว่า "พยัญชนะเบา" อักขรวิธีไทยไม่มีรูปพยัญชนะที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะเบาได้ตรงกันแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ในการทับศัพท์จึงให้ใช้รูปพยัญชนะไทยตัวเดียวกันกับที่ใช้ถอดเสียงพยัญชนะธรรมดา (หรือ "พยัญชนะหนัก") เช่น

лук
люк
вниз
га́лузь
luk
liuk
vnyz
haluz
[ɫuk]
[uk]
[wnɪz]
[ˈɦɑɫu]
ลุ
ลุ
วนึ
ฮาลุ
"คันธนู"
"ประตูกล"
"ข้างล่าง"
"กิ่งไม้, ก้านไม้"
ในกรณีที่เป็นพยัญชนะฟัน н และ т เมื่อตามด้วยสระที่นำด้วย [j] หรือเมื่อตามด้วยอักษร ь ในบางครั้งหรือในบางบริบทจะออกเสียงโดยเคลื่อนฐานกรณ์เข้าไปใกล้เพดานแข็งมากจนคล้ายหรือกลายเป็นพยัญชนะเพดานแข็ง ในการทับศัพท์ให้ใช้ ญ และ จ ตามลำดับ เช่น
ня́нька
о́сінь
стаття́
тьма
nianka
osin
stattia
tma
[ɑkɑ ~ ɲɑɲkɑ]
[ˈɔs⁽ʲ⁾i ~ ˈɔs⁽ʲ⁾iɲ]
[stɑˈtʲːɑ ~ stɑˈɑ]
[mɑ ~ cmɑ]
ญัญกา
ออซิ
สตัจจ
มา
"พี่เลี้ยงเด็ก"
"ฤดูใบไม้ร่วง"
"บทความ, รายการสิ่งของ"
"ความมืด"
ทั้งนี้ พยัญชนะ н และ т เมื่อตามด้วยสระ і หรือเมื่อตามด้วยพยัญชนะเบา แม้ว่าอาจออกเสียงเป็น และ ได้เช่นกัน แต่ก็ให้ทับศัพท์เป็น น และ ต เช่น
Дніпро́
япо́нський
ті́льки
нові́тній
Dnipró
yaponskyi
tilky
novitniy
[d⁽ʲ⁾n⁽ʲ⁾iˈprɔ]
[jɑˈpɔsʲkɪi̯]
t⁽ʲ⁾ilʲkɪ]
[nɔˈʋ⁽ʲ⁾it⁽ʲ⁾n⁽ʲ⁾ii̯]
นีปรอ
ยาปอสกึย
ติลกือ
นอวิตนีย์
"ชื่อเมือง"
"ที่เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น"
"เพียง, เพิ่ง"
"ล่าสุด"

8. พยัญชนะที่ออกเสียงซ้ำต่อเนื่อง ให้ทับศัพท์ดังนี้

8.1 ถ้าพยัญชนะที่ออกเสียงซ้ำต่อเนื่องนั้นอยู่ในตำแหน่งกลางคำ ให้ทับศัพท์โดยซ้อนรูปพยัญชนะไทย เพื่อให้ตัวหนึ่งเป็นตัวสะกดของพยางค์หน้าและอีกตัวหนึ่งเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไปตามอักขรวิธีไทย เช่น
обби́ти
збі́жжя
воло́сся
obbyty
zbizhzhia
volossia
[ɔˈɪtɪ]
[ˈz⁽ʲ⁾b⁽ʲ⁾iʒʲːɑ]
[wɔˈɫɔsʲːɑ]
ออบบือตือ
ซบิฌี
วอลอซี
"ปิดคลุม"
"เมล็ดธัญพืช"
"เส้นผม"
8.2 ถ้าพยัญชนะที่ออกเสียงซ้ำต่อเนื่องนั้นอยู่ในตำแหน่งต้นคำ ให้ทับศัพท์โดยใช้รูปพยัญชนะไทยเพียงตัวเดียว เช่น
ззо́вні
ллєш
ссаве́ць
zzovni
lliesh
ssavets
ɔu̯n⁽ʲ⁾i]
[lʲːɛʃ]
[ɑˈʋɛt͡sʲ]
อว์นี
ลียช
าแวตส์
"จากข้างนอก"
"เท"
"สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม"
8.3 ในกรณีที่พยัญชนะควบในตำแหน่งต้นคำเป็นคนละเสียงกันในภาษายูเครน แต่ในการทับศัพท์ใช้รูปพยัญชนะไทยตัวเดียวกัน ก็ให้ซ้อนรูปพยัญชนะได้ เช่น
зсув
зціди́ти
що́йно
zsuv
ztsidyty
shchoino
[zsuu̯]
[z⁽ʲ⁾t͡s⁽ʲ⁾iˈdɪtɪ]
ʃt͡ʃɔi̯nɔ]
ซซูว์
ซซีดือตือ
ชชอยนอ
"แผ่นดินถล่ม"
"การกรอง, การชะแยก"
"เพิ่ง, ทันทีที่"

9. พยัญชนะต้นควบที่ไม่เป็นที่คุ้นเคยในภาษาไทย เมื่อประสมกับสระ แ–, เ–ีย และ เ–า ให้เลื่อนพยัญชนะตัวแรกไปไว้หน้ารูปสระเพื่อความสะดวกในการอ่าน เช่น

глек
пшени́ця
Сла́вка
скля́нка
hlek
pshenytsia
Slavka
sklianka
[ɦlɛk]
[ɛˈnɪt͡sʲɑ]
slɑu̯kɑ]
sklʲɑnkɑ]

นึตเซีย
ากา
กลียนกา
"เหยือก"
"ข้าวสาลี"
"ชื่อแม่น้ำ"
"แก้วน้ำ"

10. พยัญชนะยูเครนโดยทั่วไปออกเสียงตรงตามรูปเขียน แต่เมื่อปรากฏร่วมกับพยัญชนะอื่นในบางบริบท เสียงพยัญชนะบางเสียงอาจถูกตัดออกไปหรืออาจเปลี่ยนแปรไปตามลักษณะการออกเสียงของพยัญชนะที่ตามมา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเสียงดังกล่าวมักปรากฏในคำประสม รูปผันของคำนาม รูปกระจายของคำกริยา หรือระหว่างพยัญชนะท้ายคำข้างหน้ากับพยัญชนะต้นคำที่ตามมา ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นต้องทับศัพท์ในปัจจุบัน จึงไม่ได้แจกแจงไว้ในที่นี้ หากจำเป็นต้องทับศัพท์ ควรถอดเสียงตามเสียงอ่านจริงโดยเทียบกับสัทอักษรในตารางเทียบเสียงพยัญชนะ เช่น

อักษรซีริลลิก อักษรโรมัน คำอ่าน คำทับศัพท์
ตามรูปเขียน
คำทับศัพท์
ตามเสียงอ่าน
การเปลี่ยนแปลงทางเสียง
 про́сьба  prosba  [ˈprɔbɑ]  ปรอบา  ปรอบา  การกลมกลืนเสียง
 до́шці  doshtsi  [ˈdɔs⁽ʲ⁾t͡s⁽ʲ⁾i]  ดอต์ซี  ดอต์ซี  การกลมกลืนเสียง
 зши́ти  zshyty  ʃːɪtɪ]  ซชือตือ  ชือตือ  การกลมกลืนเสียง
 аге́нтство  ahentstvo  [ɑˈɦɛnstwɔ]  อาแฮนต์สตวอ  อาแฮนสตวอ  การตัดเสียง
 шістсо́т  shistsot  [ʃ⁽ʲ⁾iˈsːɔt]  ชิสต์ซอต  ชิสซอต  การตัดเสียง
 шістдеся́т  shistdesjat  [ʃ⁽ʲ⁾izdɛˈsʲɑt]  ชิสต์แดเซียต  ชิแดเซียต  การตัดเสียง + การกลมกลืนเสียง

11. ภาษายูเครนมีหน่วยเสียงสระจำนวน 6 หน่วยเสียง แต่ละหน่วยเสียงมีหน่วยเสียงย่อยที่ปรากฏในบริบทที่แตกต่างกันดังนี้

 
แผนภาพแสดงหน่วยเสียงสระย่อยในภาษายูเครน (ตามคำบรรยายของ Погрібний 1984, p. 10–11) จุดและขนาดตัวอักษรที่ใหญ่ที่สุดบ่งชี้ถึงหน่วยเสียงย่อยหลักของแต่ละหน่วยเสียง เส้นสีแดงเชื่อมโยงหน่วยเสียงย่อยหลักเข้ากับหน่วยเสียงย่อยที่ไม่ได้เป็นแกนพยางค์ เส้นสีน้ำเงินเชื่อมโยงหน่วยเสียงย่อยหลักเข้ากับหน่วยเสียงย่อยในพยางค์ที่ไม่ลงเสียงหนัก และเส้นสีเขียวเชื่อมโยงหน่วยเสียงย่อยที่ไม่ได้ตามหลังพยัญชนะเบาเข้ากับหน่วยเสียงย่อยที่ตามหลังพยัญชนะเบา
รูปสระ หน่วยเสียงสระ หน่วยเสียงสระย่อย
โดยพื้นฐาน ไม่ลงเสียงหนัก ตามหลัง
พยัญชนะเบา
ไม่ลงเสียงหนัก
+ ตามหลัง
พยัญชนะเบา
і ї /i/ [i̽]
[ɪ]
[i] [i]
[i̽]
[i]
[i̽]
и /ɪ/ [ɪ] [ɪ̞]
[ɛ̝]
е є /ɛ/ [ɛ] [ɛ̝]
[ɪ̞]
[ɛ] [e]
а я /ɑ/ [ɑ] [ɑ̽] [ɑ̈] [ɐ]
о /ɔ/ [ɔ] [ɔ̝]
[o]
[ɔ̈] [ɔ̽]
[ö]
у ю /u/ [u] [u] [ʊ] [ʊ]
การออกเสียงสระต่างกันไปตามบริบทเหล่านี้ไม่มีนัยสำคัญในระดับหน่วยเสียง และเจ้าของภาษาไม่จำเป็นต้องออกเสียงสระตรงตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในตารางนี้เสมอไป ดังนั้น การถ่ายเสียงสระเป็นสัทอักษรและการทับศัพท์เสียงสระในที่นี้จะคำนึงถึงเฉพาะหน่วยเสียงย่อยหลัก (คือหน่วยเสียงย่อยที่อยู่ในพยางค์ที่ลงเสียงหนักและไม่ได้ตามหลังพยัญชนะเบา) ของแต่ละหน่วยเสียงเท่านั้น ได้แก่ [i ~ i̽], [ɪ], [ɛ], [ɑ], [ɔ] และ [u]

12. เสียงสระ ɪ ในภาษายูเครนมาตรฐานไม่ตรงกับทั้งเสียงสระอีและเสียงสระอือในภาษาไทย แต่เนื่องจากมีผู้พูดภาษายูเครนในบางท้องถิ่นออกเสียงสระนี้ค่อนไปทางเสียงสระ ɨ[4] และเพื่อแยกความแตกต่างจากรูปสระ –ี และ –ิ ซึ่งใช้ในการทับศัพท์เสียงสระ i ในที่นี้จึงเลือกใช้รูปสระ –ือ และ –ึ ในการทับศัพท์เสียงสระ ɪ เช่น

ми́ша
імби́р
по́нчик
хи́бний
mysha
imbyr
ponchyk
khybnyi
[ˈmɪʃɑ]
[imˈbɪr]
[ˈpɔnt͡ʃɪk]
[ˈxɪbnɪi̯]
มือชา
อิมบือร์
ปอนชึ
คึนึ
"หนูหริ่ง"
"ขิง"
"โดนัต"
"ผิดพลาด"

13. ความสั้นยาวของสระ ในภาษายูเครน ความสั้นยาวของเสียงสระไม่มีผลต่อการจำแนกความหมายของคำ แม้ว่าในการออกเสียงจริง สระในพยางค์ที่ไม่ลงเสียงหนักอาจออกเสียงสั้นกว่าสระในพยางค์ที่ลงเสียงหนัก[5] แต่อักขรวิธีไทยในปัจจุบันไม่มีรูปสระที่สามารถแสดงเสียงสระสั้นในบางบริบทได้อย่างเหมาะสม ในที่นี้จึงกำหนดให้ถ่ายเสียงสระแตกต่างกันไปตามปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ซึ่งจะแจกแจงไว้ในตารางเทียบเสียงสระ

14. สระธรรมดาที่เขียนเรียงกัน ให้ทับศัพท์ตามเสียงสระทีละเสียง ไม่ทับศัพท์เป็นสระประสม เช่น

океа́н
стадіо́н
кругоо́біг
okean
stadion
kruhoobih
[ɔ.kɛˈɑn]
[stɑ.d⁽ʲ⁾iˈɔn]
[kru.ɦɔˈɔ.b⁽ʲ⁾iɦ]
อออั
สตาดี
กรูฮบีห์
"มหาสมุทร"
"สนามกีฬา"
"วัฏจักร, การหมุนเวียน"

15. การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต มีหลักดังนี้

15.1 เสียงพยัญชนะ r และ ɦ ในตำแหน่งท้ายพยางค์ เมื่อทับศัพท์ให้ใช้ ร และ ห ตามลำดับ และใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับไว้ เช่น
ма́рмур
о́бсяг
порі́г
marmur
obsiah
porih
[ˈmɑrmur]
[ˈɔbsʲɑɦ]
[pɔˈr⁽ʲ⁾iɦ]
มาร์มูร์
ออบเซียห์
ปอรีห์
"หินอ่อน"
"ขอบเขต, ขนาด"
"ธรณีประตู"
15.2 เสียงสระ และ ซึ่งกำหนดให้ทับศัพท์โดยใช้ ย และ ว ตามลำดับ เมื่อตามหลังสระบางเสียงไม่สามารถออกเสียงตามระบบเสียงภาษาไทยได้ ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บน ย และ ว นั้น เช่น
Андрі́й
трофе́й
любо́в
Andrii
trofei
liubov
[ɑnˈd⁽ʲ⁾r⁽ʲ⁾i]
[trɔˈfɛ]
[lʲuˈbɔ]
อันดรีย์
ตรอแฟย์
ลูบอว์
"ชื่อบุคคล"
"ถ้วยรางวัล"
"ความรัก"
15.3 พยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะท้าย 2 เสียง และมีเสียง r อยู่หลังสระ เมื่อทับศัพท์ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บน ร เช่น
металу́рг
фіо́рд
торт
metalurh
fiord
tort
[mɛtɑˈɫu]
[f⁽ʲ⁾iˈɔrd]
[tɔrt]
แมตาลูร์ห
ฟีออร์ด
ตอร์ต
"ช่างโลหะ"
"ฟยอร์ด"
"เค้ก"
15.4 พยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะท้าย 2 เสียงหรือมากกว่า และไม่มีเสียง r อยู่หลังสระ เมื่อทับศัพท์ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้ายเพียงแห่งเดียว เช่น
вовк
тигр
глузд
шланг
жанр
хрест
тембр
центр
vovk
tyhr
hluzd
shlanh
zhanr
khrest
tembr
tsentr
[wɔu̯k]
[tɪɦr]
[ɦɫuzd]
[ʃɫɑ]
[ʒɑnr]
[xrɛst]
[tɛmbr]
[t͡sɛntr]
วอวก์
ตือหร์
ฮลุซด์
ชลันห์
ฌันร์
แครสต์
แตมบร์
แซนตร์
"หมาป่า"
"เสือ"
"ปัญญา"
"สายยาง"
"ประเภท (ดนตรี, วรรณกรรม ฯลฯ)"
"กางเขน, กากบาท"
"สีสันเสียง"
"ศูนย์กลาง"
15.5 พยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะท้ายมากกว่า 2 เสียง และมีเสียง r อยู่หลังสระ เมื่อทับศัพท์ไม่ต้องใส่ ร และให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้าย เช่น
Вільногі́рськ
шерсть
борщ
Vilnohirsk
sherst
borshch
[ʋ⁽ʲ⁾ilʲnɔˈɦ⁽ʲ⁾irsʲk]
[ʃɛrsʲtʲ]
[bɔrʃt͡ʃ]
วิลนอฮีสก์
แชสจ์
บอชช์
"ชื่อเมือง"
"ขนสัตว์"
"ซุปชนิดหนึ่ง"

16. การใช้ไม้ไต่คู้ ในที่นี้ไม่กำหนดให้ใส่ไม้ไต่คู้เพื่อแสดงเสียงสระสั้น แต่อาจใส่เพื่อให้เห็นแตกต่างจากคําไทยหรือเพื่อช่วยให้ผู้อ่านแยกพยางค์ได้สะดวกขึ้นก็ได้ เช่น

стек
ку́бок
stek
kubok
[stɛk]
[ˈkubɔk]
สแตก, สแต็
กูบอก, กูบ็อก
"กองซ้อน"
"ถ้วย"

17. การใช้เครื่องหมายวรรคตอน มีหลักดังนี้

17.1 คำที่เป็นชื่อและนามสกุล เมื่อทับศัพท์ให้ใช้เครื่องหมายวรรคตอนตามการเขียนในภาษายูเครน เช่น
Євге́нія Барві́нська / Yevheniia Barvinska
Мико́ла Леонто́вич / Mykola Leontovych
Богда́н-І́гор Анто́нич / Bohdan-Ihor Antonych
=
=
=
แยวแฮนียา บาร์วินสกา
มือกอลา แลออนตอวึช
บอห์ดัน-อีฮอร์ อันตอนึช
17.2 คำที่เป็นคำวิสามานยนามประเภทอื่น ๆ ที่เขียนแยกกันในภาษายูเครน เมื่อทับศัพท์ให้เขียนติดกันไป ไม่ต้องแยกคำตามการเขียนในภาษายูเครน เช่น
Но́вий Би́ків / Novyi Bykiv
Висо́кий за́мок / Vysokyi zamok
Ку́зня на Риба́льському / Kuznia na Rybalskomu
=
=
=
นอวึยบือกิว [ชื่อหมู่บ้าน]
วือซอกึยซามอก, วือซอกึยซาม็อก [ชื่อหนังสือพิมพ์]
กุซญานารือบัลสกอมู [ชื่อบริษัท]
17.3 คำที่มีเครื่องหมายยัติภังค์เชื่อมกันในภาษายูเครน เมื่อทับศัพท์ให้ใส่เครื่องหมายยัติภังค์ตามการเขียนในภาษายูเครน เช่น
будь-хто́ / bud-khto
грома́дсько-політи́чний / hromadsko-politychnyi
Ка́м'янка-Бу́зька / Kamianka-Buzka
=
=
=
บุด-คตอ
ฮรอมัดซ์สกอ-ปอลีตึชนึย
กามิยันกา-บุซกา

18. ตัวอักษรภาษายูเครน มีชื่อเรียกดังนี้

А
Г
Е
З
Ї
Л
О
С
Ф
Ч
Ь
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
อา
แฮ
แอ
แซ
ยี
แอล
ออ
แอส
แอฟ
แช
มิยากึยซนัก
Б
Ґ
Є
И
Й
М
П
Т
Х
Ш
Ю
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
แบ
แก
แย
อือ
ยอต
แอม
แป
แต
คา
ชา
ยู
В
Д
Ж
І
К
Н
Р
У
Ц
Щ
Я
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
แว
แด
แฌ
อี
กา
แอน
แอร์
อู
แซ
ชชา
ยา

19. อักษรย่อ ให้เขียนทับศัพท์โดยไม่ต้องเว้นช่องไฟ เช่น

КПІ / KPI
МЗС / MZS
НБУ / NBU
=
=
=
กาแปอี (สถาบันสารพัดช่างเคียฟ)
แอมแซแอส (กระทรวงการต่างประเทศ)
แอนแบอู (ธนาคารแห่งชาติยูเครน)

20. คำที่ผูกขึ้นจากอักษรย่อ ซึ่งอ่านออกเสียงได้เสมือนคำคำหนึ่ง มิได้ออกเสียงเรียงตัวอักษร ให้เขียนทับศัพท์ตามเสียงที่ออก เช่น

КНЛУ / KNLU  [kɑnɛlɛˈu]
КрАЗ / KrAZ  [krɑz]
СумДУ / SumDU  [sumdɛˈu]
=
=
=
กาแนแลอู (มหาวิทยาลัยภาษาศาสตร์แห่งชาติเคียฟ)
กรัซ (โรงงานรถยนต์แกรแมนชุก)
ซุมแดอู (มหาวิทยาลัยรัฐซูมือ)

21. อักษรย่อชื่อบุคคล ให้เขียนโดยใส่จุดและเว้นช่องไฟระหว่างชื่อกับนามสกุล เช่น

М. Груше́вський / M. Hrushevskyi
Т. Г. Шевче́нко / T. H. Shevchenko
=
=
แอม. ฮรูแชวสกึย
แต. แฮ. แชวแชนกอ

22. การเชื่อมเสียงระหว่างกลุ่มคำ ในการออกเสียงกลุ่มคำยูเครนจะมีการเชื่อมเสียงพยัญชนะท้ายคำกับเสียงสระต้นคำที่ตามมา หรือเชื่อมเสียงสระท้ายคำกับเสียงพยัญชนะต้นคำที่ตามมา ในการทับศัพท์ให้แสดงการเชื่อมเสียงเหล่านั้นด้วย เช่น

він і вона́
вона́ й він
Бі́ла Це́рква
vin i vona
vona y vin
Bila Tserkva
[ʋ⁽ʲ⁾in i wɔˈnɑ]
[wɔˈnɑ j ʋ⁽ʲ⁾in]
[ˈb⁽ʲ⁾iɫɑ ˈt͡sɛrkʋɑ]
วีนีวอนา
วอนัยวิน
บีลัตร์กวา
"เขาและเธอ"
"เธอและเขา"
"ชื่อเมือง"

ตารางเทียบเสียงพยัญชนะ แก้

รูปเขียน เสียง[# 1] ใช้ ตัวอย่าง
อักษรซีริลลิก อักษรโรมัน อักษรซีริลลิก[# 2] อักษรโรมัน คำอ่าน คำทับศัพท์ ความหมาย
Б
 б  b  b, b⁽ʲ⁾  บ  бараба́н  baraban  [bɑrɑˈbɑn]  าราบั  กลอง
 брова́  brova  [brɔˈʋɑ]  รอวา  คิ้ว
 го́луб  holub  [ˈɦɔɫub]  ฮอลุ  นกพิราบ, นกเขา
В
 в (เมื่อเป็นพยัญชนะต้นพยางค์)  v  ʋ, ʋ⁽ʲ⁾,
 w, ʍ
 ว  ві́дповідь  vidpovid  ʋ⁽ʲ⁾idpɔʋ⁽ʲ⁾idʲ]  วิดปอวิ  คำตอบ
 вуглево́д  vuhlevod  [wuɦɫɛˈwɔd]  วูห์แลอด  คาร์โบไฮเดรต
 все́світ  vsesvit  ʍsɛs⁽ʲ⁾ʋ⁽ʲ⁾it]  แซสวิ  เอกภพ
 в (เมื่อเป็นพยัญชนะท้ายพยางค์)  v   ~ β  ว (เมื่อประสมกับสระ –ิ, –ึ, แ–, เ–ีย)  о́стрів  ostriv  [ˈɔst⁽ʲ⁾r⁽ʲ⁾i]  ออสตริ  เกาะ
 Авді́ївка  Avdiivka  [ɑu̯ˈd⁽ʲ⁾ijikɑ]  เอาดียิกา  ชื่อเมือง
 пивни́й  pyvnyi  [pɪˈnɪi̯]  ปึนึย  ที่เกี่ยวกับเบียร์
 дре́вній  drevnii  [ˈdrɛn⁽ʲ⁾ii̯]  แดรนีย์  โบราณ
 Бо́лдирєв  Boldyriev  [ˈbɔɫdɪrʲɛ]  บอลดือเรีย  ชื่อสกุล
 ว์ (เมื่อประสมกับสระ –ู, –อ)  зсув  zsuv  [zsu]  ซซูว์  แผ่นดินถล่ม
 вірьо́вка  virovka  [ʋ⁽ʲ⁾iˈrʲɔkɑ]  วีรอว์กา  เชือก
 ав (เมื่อไม่มีสระตามมา)  av  ɑu̯ ~ ɑβ  เ–า  авже́ж  avzhezh  [ɑu̯ˈʒɛʒ]  แฌฌ  อย่างแน่นอน
 диноза́вр  dynozavr  [dɪnɔˈzɑu̯r]  ดือนอร์  ไดโนเสาร์
 яв (เมื่อไม่มีสระตามมา)  yav (เมื่ออยู่ต้นคำ);
 iav (เมื่ออยู่ภายใน
 คำ)
 jau̯ ~ jaβ,
 ʲɑu̯ ~ ʲɑβ
 เยา; –ิเยา; เ–ียว; เ–า
 (ดูเพิ่มในตารางเทียบเสียงสระ я)
 я́вний  yavnyi  jɑu̯nɪi̯]  เยานึย  ชัดแจ้ง, เป็นที่ปรากฏ
 п'я́вка  piavka  [ˈpjɑu̯ka]  ปิเยากา  ปลิง
 уявля́в  uiavliav  [ujɑu̯ˈlʲɑu̯]  อูเยาเลียว  นึกภาพ
 найня́в  nainiav  [nɑi̯ˈnʲɑu̯]  นัย  ว่าจ้าง
Г
 г  h (โดยทั่วไป);
 gh (เมื่อตามหลัง з)
 ɦ, ɦ⁽ʲ⁾[# 3]  ฮ (เมื่ออยู่ต้นพยางค์)  Григо́рій  Hryhorii  [ɦrɪˈɦɔr⁽ʲ⁾่ii̯]  รืออรีย์  ชื่อบุคคล
 Згора́ни  Zghorany  [zɦɔˈrɑnɪ]  ซอรานือ  ชื่อหมู่บ้าน
 ห (เมื่ออยู่ท้ายพยางค์)  легки́й  lehkyi  [ɫɛɦˈkɪi̯]  แลห์กึย  เบา, ง่าย
 сніг  snih  [s⁽ʲ⁾n⁽ʲ⁾iɦ]  สนีห์  หิมะ
Ґ
 ґ  g  ɡ, ɡ⁽ʲ⁾  ก  ґирли́ґɑ  gyrlyga  [ɡɪrˈɫɪɡɑ]  กือร์ลือ  ไม้ตะขอคนเลี้ยงแกะ
 ґу́дзик  gudzyk  ɡud͡zɪk]  กุดซึก  กระดุม
 ґрунт  grunt  [ɡrunt]  รุนต์  ดิน, พื้นดิน
Д
 д  d  d, d⁽ʲ⁾  ด  до́свід  dosvid  dɔs⁽ʲ⁾ʋ⁽ʲ⁾id]  อสวิ  ประสบการณ์
 дрізд  drizd  [d⁽ʲ⁾r⁽ʲ⁾izd]  ริซด์  นกเดินดง
 д (เมื่อตามด้วยสระที่นำด้วย [j]
 หรือเมื่อตามด้วย ь)
 d    ด  дя́дько  diadko  ɑkɔ]  เดีกอ  ลุง, อาผู้ชาย, น้าผู้ชาย
 дьо́готь  dohot  ɔɦɔtʲ]  อฮอจ  น้ำมันดิน
 дз  dz  d͡z, d͡z⁽ʲ⁾  ซ (เมื่ออยู่ต้นคำ)  дзе́ркало  dzerkalo  d͡zɛrkɑɫɔ]  แร์กาลอ  กระจก
 дзво́ник  dzvonyk  d͡zwɔnɪk]  วอนึก  กระดิ่ง
 ดซ (เมื่ออยู่ภายในคำ)  кукуру́дза  kukurudza  [kukuˈrud͡zɑ]  กูกูรุดซ  ข้าวโพด
 бри́ндза  bryndza  [ˈbrɪnd͡zɑ]  บรึนด์ซ  เนยแข็งชนิดหนึ่ง
 дз (เมื่อตามด้วยสระที่นำด้วย [j]
 หรือเมื่อตามด้วย ь)
 dz  d͡zʲ  ซ (เมื่ออยู่ต้นคำ)  дзьоб  dzob  [d͡zʲɔb]  อบ  จะงอยปากนก
 ดซ (เมื่ออยู่ภายในคำหรือท้ายคำ)  ґедзь  gedz  [ɡɛd͡zʲ]  แกดซ์  เหลือบ
 дж  dzh  d͡ʒ, d͡ʒ⁽ʲ⁾  จ  джу́нглі  dzhunhli  d͡ʒunɦl⁽ʲ⁾i]  จุนฮลี  ป่ารก
 бджола́  bdzhola  [bd͡ʒɔˈɫɑ]  บอลา  ผึ้ง
 бюдже́т  biudzhet  [bʲuˈd͡ʒɛt]  บูแ  งบประมาณ
 дрі́жджі  drizhdzhi  [ˈd⁽ʲ⁾r⁽ʲ⁾iʒd͡ʒ⁽ʲ⁾i]  ดริฌจี  ยีสต์
 ґандж  gandzh  [ɡɑnd͡ʒ]  กันจ์  ข้อบกพร่อง
Ж
 ж  zh  ʒ, ʒ⁽ʲ⁾  ฌ  жи́то  zhyto  ʒɪtɔ]  ฌือตอ  ข้าวไรย์
 жнива́  zhnyva  [ʒnɪˈʋɑ]  นือวา  การเก็บเกี่ยว
 страж  strazh  [strɑʒ]  สตรั  ผู้พิทักษ์
З
 з  z  z, z⁽ʲ⁾  ซ  залі́зо  zalizo  [zɑˈl⁽ʲ⁾izɔ]  าลี  เหล็ก
 зрости́  zrosty  [zrɔˈstɪ]  รอสตือ  ปลูก, เติบโต
 по́їзд  poizd  [ˈpɔjizd]  ปอยิด์  รถไฟ
 з (เมื่อตามด้วยสระที่นำด้วย [j]
 หรือเมื่อตามด้วย ь)
 z    ซ  хазя́їн  khaziain  [xɑˈɑjin]  คาเซียยิน  เจ้าของ, เจ้าบ้าน
 скрізь  skriz  [skr⁽ʲ⁾i]  สกริ  ทุกที่, ที่ใดก็ตาม
 бли́зько  blyzko  [ˈbɫɪkɔ]  บลึกอ  ใกล้
Й
 й (เมื่ออยู่ต้นคำ
 หรือเมื่ออยู่ระหว่างสระ)
 y (เมื่ออยู่ต้นคำ)
 i (เมื่ออยู่ระหว่าง
 สระ)
 j  ย  йо́гурт  yohurt  jɔɦurt]  อฮูร์ต  โยเกิร์ต
 райо́н  raion  [rɑˈjɔn]  ราอน  เขต, พื้นที่
 прийо́м  pryiom  [prɪˈjɔm]  ปรืออม  การต้อนรับ, การรับรอง
 й (เมื่อตามหลังพยัญชนะ
 หรือเมื่อตามหลัง ь)
 i  j  –ิย  серйо́зний  serioznyi  [sɛˈrjɔznɪi̯]  แซริยอซนึย  จริงจัง
 підйо́м  pidiom  [p⁽ʲ⁾iˈdjɔm]  ปีดิยอม  การขึ้น, การยก
 мільйо́н  milion  [m⁽ʲ⁾iˈlʲjɔn]  มีลิยอน  จำนวนล้าน
 й (เมื่อเป็นพยัญชนะท้ายพยางค์)  i    ย (เมื่อประสมกับสระ –ะ, –ึ, –ุ, –อ)  чай  chai  [t͡ʃɑ]  ชั  ชา
 яйце́  yaitse  [jɑˈt͡sɛ]  ยัต์แซ  ไข่
 ти́хий  tykhyi  [ˈtɪxɪ]  ตือคึ  เงียบสงบ
 буй  bui  [bu]  บุ  ทุ่น
 Пулю́й  Puliui  [puˈlʲu]  ปูลุ  ชื่อสกุล
 геро́й  heroi  [ɦɛˈrɔ]  แฮรอ  วีรชน
 ย์ (เมื่อประสมกับสระ –ี, แ–, เ–ีย)  ни́жній  nyzhnii  [ˈnɪʒn⁽ʲ⁾i]  นึฌนีย์  ล่าง
 мої́й  moii  [mɔˈji]  มอยีย์  ของฉัน
 солове́й  solovei  [sɔɫɔˈʋɛ]  ซอลอแวย์  นกไนติงเกล
 ся́йво  siaivo  [ˈsʲɑwɔ]  เซียย์วอ  แสงจ้า, แสงเรือง
К
 к  k  k, k⁽ʲ⁾  ก  ку́рка  kurka  kurkɑ]  กูร์  ไก่
 кни́жка  knyzhka  knɪʒkɑ]  นึฌ  หนังสือ
 керівни́к  kerivnyk  [kɛr⁽ʲ⁾iu̯ˈnɪk]  แริวนึ  หัวหน้า, ผู้นำ
Л
 л  l  ɫ, l⁽ʲ⁾  ล  леле́ка  leleka  [ɫɛˈɫɛkɑ]  แกา  นกกระสา
 дя́тел  diatel  [ˈdʲɑtɛɫ]  เดียแต  นกหัวขวาน
 л (เมื่อตามด้วยสระที่นำด้วย [j]
 หรือเมื่อตามด้วย ь)
 l    ล  ля́лька  lialka  ɑkɑ]  เลีกา  ตุ๊กตา
 льо́тчик  lotchyk  ɔt͡ʃːɪk]  อตชึก  นักบิน
М
 м  m  m, m⁽ʲ⁾  ม  мі́сто  misto  m⁽ʲ⁾istɔ]  มิสตอ  เมือง, นคร
 млина́р  mlynar  [mɫɪˈnɑr]  ลือนาร์  เจ้าของโรงโม่
 ма́ксимум  maksymum  mɑksɪmum]  มักซือมุม  ค่าสูงสุด
Н
 н  n  n, n⁽ʲ⁾  น  нічни́й  nichnyi  [n⁽ʲ⁾it͡ʃˈnɪi̯]  นินึ  ที่เกี่ยวกับกลางคืน
 сніда́нок  snidanok  [s⁽ʲ⁾n⁽ʲ⁾iˈdɑnɔk]  สนีดาน็อก  มื้อเช้า
 н (เมื่อตามด้วยสระที่นำด้วย [j]
 หรือเมื่อตามด้วย ь)
 n   ~ ɲ  ญ  доро́жнє  dorozhnie  [dɔˈrɔʒɛ]  ดอรอฌแ  ที่เกี่ยวกับถนน
 умі́ння  uminnia  [uˈm⁽ʲ⁾inʲːɑ]  อูมิญญ  ทักษะ
 ньо́го  noho  ɔɦɔ]  อฮอ  เขา, มัน
 ячмі́нь  yachmin  [jɑt͡ʃˈm⁽ʲ⁾i]  ยัชมิ  ข้าวบาร์เลย์
П
 п  p  p, p⁽ʲ⁾  ป  пі́дпис  pidpys  p⁽ʲ⁾idpɪs]  ปิปึ  ลายเซ็น
 пра́пор  prapor  ppɔr]  ราอร์  ธง
 степ  step  [stɛp]  สแต  ทุ่งหญ้าสเตปป์
Р
 р  r  r, r⁽ʲ⁾  ร  рі́чка  richka  r⁽ʲ⁾it͡ʃkɑ]  ริชกา  แม่น้ำ
 рестора́н  restoran  [rɛstɔˈrɑn]  แสตอรั  ภัตตาคาร
 сірни́к  sirnyk  [s⁽ʲ⁾irˈnɪk]  ซีร์นึก  ไม้ขีดไฟ
 ресу́рс  resurs  [rɛˈsurs]  แซูร์  ทรัพยากร
С
 с;
 с (เมื่อตามด้วยสระที่นำด้วย [j]
 หรือเมื่อตามด้วย ь)
 s  s, s⁽ʲ⁾;
 
 ซ (เมื่อตามด้วยสระ)  сімсо́т  simsot  [s⁽ʲ⁾imˈsɔt]  ซิอต  เจ็ดร้อย
 сього́дні  sohodni  [ɔˈɦɔd⁽ʲ⁾n⁽ʲ⁾i]  อฮอดนี  วันนี้
 ส (เมื่อตามด้วยพยัญชนะ)  спис  spys  [spɪs]  ปึส  หอกซัด, แหลน
 свідо́мість  svidomist  [s⁽ʲ⁾ʋ⁽ʲ⁾iˈdɔm⁽ʲ⁾is⁽ʲ⁾tʲ]  วีดอมิจ์  ความรู้สึกตัว, การรับรู้
 ส (เมื่ออยู่ท้ายคำ
 หรือเมื่ออยู่ท้ายพยางค์)
 яки́йсь  yakyis  [jɑˈkɪi̯]  ยากึยส์  บาง, บ้าง
 сосна́  sosna  [sɔsˈnɑ]  ซอนา  ต้นสน
Т
 т  t  t, t⁽ʲ⁾  ต  тала́нт  talant  [tɑˈɫɑnt]  าลันต์  พรสวรรค์
 твори́ти  tvoryty  [twɔˈrɪtɪ]  วอรือตื  สร้าง, ผลิต
 теа́тр  teatr  [tɛˈɑtr]  แอัร์  โรงละคร
 текст  tekst  [tɛkst]  แต็กสต์  ข้อความ, ตัวบท
 т (เมื่อตามด้วยสระที่นำด้วย [j]
 หรือเมื่อตามด้วย ь)
 t   ~ c  จ  тютю́н  tiutiun  [un]  จูจุ  ยาสูบ
 життя́  zhyttia  [ʒɪˈtʲːɑ]  ฌึจจ  ชีวิต
 костьо́л  kostol  [kɔˈs⁽ʲ⁾ɔɫ]  กอสอล  โบสถ์โรมันคาทอลิก
 кі́готь  kihot  [ˈk⁽ʲ⁾iɦɔ]  กีฮอ  กรงเล็บ
Ф
 ф  f  f, f⁽ʲ⁾  ฟ  фа́рба  farba  fɑrbɑ]  าร์บา  สี
 фрукт  frukt  [frukt]  รุกต์  ผลไม้
 верф  verf  [ʋɛrf]  แวร์  ท่าเทียบเรือ
Х
 х  kh  x, x⁽ʲ⁾  ค  ховра́х  khovrakh  [xɔu̯ˈrɑx]  อว์รั  กระรอกดิน
 хліб  khlib  [xl⁽ʲ⁾ib]  ลิบ  ขนมปัง
 хма́ра  khmara  xmɑrɑ]  มารา  เมฆ
Ц
 ц;
 ц (เมื่อตามด้วยสระที่นำด้วย [j]
 หรือเมื่อตามด้วย ь)
 ts  t͡s, t͡s⁽ʲ⁾;
 t͡sʲ
 ซ (เมื่ออยู่ต้นคำและตามด้วยสระ
 หรือเมื่ออยู่ระหว่างพยัญชนะต้นคำ
 กับสระ)
 цуценя́  tsutsenia  [t͡sut͡sɛˈnʲɑ]  ซุตแซญา  ลูกหมา
 цьо́ця  tsotsia  t͡sʲɔt͡sʲɑ]  อตเซีย  ป้า, อาผู้หญิง, น้าผู้หญิง
 зціди́ти  ztsidyty  [z⁽ʲ⁾t͡s⁽ʲ⁾iˈdɪtɪ]  ซซีดือตือ  การกรอง, การชะแยก
 ส (เมื่ออยู่ต้นคำ
 และตามด้วยพยัญชนะ)
 цвях  tsviakh  [t͡s⁽ʲ⁾ʋʲɑx]  เวียค  ตะปู
 цькува́ти  tskuvaty  [t͡sʲkuˈʋɑtɪ]  กูวาตือ  ไล่ตาม, ไล่จับ
 ตซ (เมื่ออยู่ระหว่างสระ
 หรือเมื่ออยู่ระหว่าง ร กับสระ)
 лицьови́й  lytsovyi  [ɫɪt͡sʲɔˈʋɪi̯]  ลึตซอวึย  ที่เกี่ยวกับใบหน้า
 озе́рце  ozertse  [ɔˈzɛrt͡sɛ]  ออแซร์  บึงขนาดเล็ก
 ต์ซ (เมื่ออยู่ระหว่างพยัญชนะอื่น
 กับสระภายในคำ)
 голубці́  holubtsi  [ɦɔɫubˈt͡s⁽ʲ⁾i]  ฮอลุบต์ซี  กะหล่ำปลีม้วนยัดไส้
 вівця́  vivtsia  [ʋ⁽ʲ⁾iu̯ˈt͡sʲɑ]  วิวต์ซี  แกะ
 ตส์ (เมื่ออยู่ระหว่างสระ
 กับพยัญชนะ)
 міцни́й  mitsnyi  [m⁽ʲ⁾it͡sˈnɪi̯]  มิตส์นึย  แข็งแรง, ที่มีพลัง
 Кле́цька  Kletska  [ˈklɛt͡sʲkɑ]  แกลตส์กา  ชื่อแม่น้ำ
 ตส์ (เมื่ออยู่ท้ายคำ)  абза́ц  abzats  [ɑbˈzɑt͡s]  อับซัตส์  ย่อหน้า
 мі́сяць  misiats  [ˈm⁽ʲ⁾isʲɑt͡sʲ]  มีเซียตส์  เดือน, ดวงจันทร์
Ч
 ч  ch  t͡ʃ, t͡ʃ⁽ʲ⁾  ช  ча́йка  chaika  t͡ʃɑi̯ka]  ชัยกา  นกนางนวล
 чверть  chvert  [t͡ʃʋɛrtʲ]  แวร์จ  เศษหนึ่งส่วนสี่
 ве́чір  vechir  [ˈʋɛt͡ʃ⁽ʲ⁾ir]  แวชีร์  เวลาเย็น
 по́руч  poruch  [ˈpɔrut͡ʃ]  ปอรุ  ใกล้
Ш
 ш  sh  ʃ, ʃ⁽ʲ⁾  ช  ше́ршень  shershen  ʃɛrʃɛnʲ]  แร์แ  ต่อ
 шпа́льта  shpalta  ʃpɑlʲtɑ]  ปัลตา  สดมภ์, แนวตั้ง
 афі́ша  afisha  [ɑˈf⁽ʲ⁾iʃɑ]  อาฟี  ป้ายประกาศ
 кашта́н  kashtan  [kɑʃˈtɑn]  กัตัน  เกาลัด
Щ
 щ  shch  ʃt͡ʃ, ʃt͡ʃ⁽ʲ⁾  ชช (เมื่ออยู่ต้นคำ)  щі́тка  shchitka  ʃt͡ʃ⁽ʲ⁾itkɑ]  ชชิตกา  แปรง
 щорі́чний  shchorichnyi  [ʃt͡ʃɔˈr⁽ʲ⁾it͡ʃnɪi̯]  ชชอริชนึย  รายปี, ประจำปี
 ชช (เมื่ออยู่ระหว่างสระ
 หรือเมื่ออยู่ระหว่าง ร กับสระ)
 се́лище  selyshche  [ˈsɛɫɪʃt͡ʃɛ]  แซลึ  หมู่บ้าน, นิคม
 го́рщик  horshchyk  [ˈɦɔrʃt͡ʃɪk]  ฮอร์ชชึ  ภาชนะดินเผา
 ช์ช (เมื่ออยู่ระหว่างพยัญชนะอื่น
 กับสระ)
 автого́нщик  avtohonshchyk  [ɑu̯tɔˈɦɔnʃt͡ʃɪk]  เอาตอฮอนช์ชึ  นักแข่งรถ
 ба́тьківщина  batkivshchyna  [ˈbɑtʲk⁽ʲ⁾iu̯ʃt͡ʃɪnɑ]  บัจกิวช์ชือนา  บ้านเกิดเมืองนอน
 ชช์ (เมื่ออยู่ท้ายคำ)  дощ  doshch  [dɔʃt͡ʃ]  ดอชช์  ฝน
 плащ  plashch  [pɫɑʃt͡ʃ]  ปลัชช์  เสื้อคลุม, เสื้อกันฝน
หมายเหตุ
  1. เสียงพยัญชนะที่มีสัญลักษณ์ ⁽ʲ⁾ กำกับอยู่ อาจออกเสียงโดยเคลื่อนฐานกรณ์ไปสู่เพดานแข็งเพียงเล็กน้อยหรือไม่เลยก็ได้
  2. สระของพยางค์ที่ลงเสียงหนักในคำหลายพยางค์จะมีเครื่องหมายลงน้ำหนักเด่นชัด (´) กำกับอยู่ แต่จะพบการใช้เครื่องหมายนี้ในสารานุกรม พจนานุกรม และตำราเรียนภาษาเป็นหลักเท่านั้น และแทบไม่พบในการเขียนหรือการพิมพ์ทั่วไป เนื่องจากเจ้าของภาษาทราบอยู่แล้วว่าคำแต่ละคำจะลงเสียงหนักที่พยางค์ใด
  3. พยัญชนะ г ในตำแหน่งท้ายพยางค์ ในบางครั้งยังอาจออกเสียงเป็น [ħ] หรือ [x] นอกเหนือจาก [ɦ]; Danyenko & Vakulenko 1995, p. 12

ตารางเทียบเสียงสระ แก้

สระธรรมดา แก้

รูปเขียน เสียง ใช้ ตัวอย่าง
อักษรซีริลลิก อักษรโรมัน อักษรซีริลลิก อักษรโรมัน คำอ่าน คำทับศัพท์ ความหมาย
А
 а  a  a  –า (เมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ดซ, ตซ
 หรือเมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ตามด้วย ร, ห)
 Ната́лія  Nataliia  [nɑˈtɑl⁽ʲ⁾ijɑ]  นลียา  ชื่อบุคคล
 жарки́й  zharkyi  ɑrˈkɪi̯]  ฌร์กึย  ร้อน, อบอ้าว
 магні́т  mahnit  [mɑɦˈn⁽ʲ⁾it]  มห์นิต  แม่เหล็ก
 –ั (เมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ร, ห
 หรือเป็นพยางค์เปิดที่ตามด้วย ดซ, ตซ)
 майда́н  maidan  [mɑi̯ˈdɑn]  มัดั  จัตุรัสกลางเมือง
 пра́щур  prashchur  [ˈprɑʃt͡ʃur]  ปรัชชูร์  บรรพชน
 ситуа́ція  sytuatsiia  [sɪtuˈɑt͡s⁽ʲ⁾ijɑ]  ซือตูอัตซียา  สถานการณ์
 В'ячесла́в  Viacheslav  [ʋjɑt͡ʃɛsˈɫɑu̯]  วิยาแชส [อะ + ว]  ชื่อบุคคล
Е
 е  e  ɛ  แ–  лепеха́  lepekha  ɛpɛˈxɑ]  ปคา  ว่านน้ำ
 фе́нхель  fenkhel  [ˈfɛnxɛlʲ]  ฟนคล  ยี่หร่าฝรั่ง
 Єлисе́й  Yelysei  [jɛɫɪˈsɛi̯]  แยลือซย์  ชื่อบุคคล
 ене́ргія  enerhiia  [ɛˈnɛrɦ⁽ʲ⁾ijɑ]  นร์ฮียา  พลังงาน
 зле́гка  zlehka  [ˈzɫɛɦkɑ]  ซลห์กา  อย่างเล็กน้อย
 шеде́вр  shedevr  ɛˈdɛu̯r]  ดวร์  ผลงานชิ้นโบแดง
И
 и  y  ɪ  –ือ (เมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ดซ, ตซ
 หรือเมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ตามด้วย ห)
 глибина́  hlybyna  [ɦɫɪbɪˈnɑ]  ฮลือบือนา  ความลึก
 по́двиг  podvyh  [ˈpɔdʋɪɦ]  ปอดวือห์  วีรกรรม
 –ือ (เมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ตามด้วย ร
 และไม่มีพยัญชนะท้ายตามมาอีก)
 інжи́р  inzhyr  [inˈʒɪr]  อินฌือร์  มะเดื่อ
 си́рники  syrnyky  [ˈsɪrnɪkɪ]  ซือร์นือกือ  แพนเค้กชนิดหนึ่ง
 –ื (เมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ตามด้วย ร
 และยังมีพยัญชนะท้ายตามมาอีก)
 спирт  spyrt  [spɪrt]  สปืร์ต  แอลกอฮอล์
 цирк  tsyrk  [t͡sɪrk]  ซืร์ก  คณะละครสัตว์
 –ึ (เมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ร, ห
 หรือเป็นพยางค์เปิดที่ตามด้วย ดซ, ตซ)
 швидки́й  shvydkyi  [ʃʋɪdˈkɪi̯]  ชวึกึ  เร็ว
 ли́цар  lytsar  [ˈɫɪt͡sɑr]  ลึตซาร์  อัศวิน
І
 і  i  i  –ี (เมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ดซ, ตซ
 หรือเมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ตามด้วย ย, ร, ห)
 ліні́йний  liniinyi  [l⁽ʲ⁾iˈn⁽ʲ⁾ii̯nɪi̯]  ลีนีย์นึย  เชิงเส้น
 зі́рка  zirka  [ˈz⁽ʲ⁾irkɑ]  ซีร์กา  ดาว, ดารา
 пробі́г  probih  [prɔˈb⁽ʲ⁾iɦ]  ปรอบีห์  ระยะทางสะสม
 –ิ (เมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ย, ร, ห
 หรือเป็นพยางค์เปิดที่ตามด้วย ดซ, ตซ)
 згі́дність  zghidnist  [ˈz⁽ʲ⁾ɦ⁽ʲ⁾id⁽ʲ⁾n⁽ʲ⁾is⁽ʲ⁾tʲ]  ซฮินิสจ์  ความกลมกลืน
 трі́щина  trishchyna  [ˈt⁽ʲ⁾r⁽ʲ⁾iʃt͡ʃɪnɑ]  ตริชชือนา  รอยแตก, รอยแยก
 ініціати́ва  initsiatyva  [in⁽ʲ⁾it͡s⁽ʲ⁾iɑˈtɪʋɑ]  อีนิตซีอาตือวา  ความริเริ่ม
О
 о  o  ɔ  –อ  боло́то  boloto  [bɔˈɫɔtɔ]  บ  ที่ลุ่มชื้นแฉะ
 огіро́к  ohirok  [ɔɦ⁽ʲ⁾iˈrɔk]  อฮีร  แตงกวา
 проце́с  protses  [prɔˈt͡sɛs]  ปรตแซส  กระบวนการ
 фо́сфор  fosfor  [ˈfɔsfɔr]  ฟสฟร์  ฟอสฟอรัส
 баво́вна  bavovna  [bɑˈwɔu̯nɑ]  บาวว์นา  ฝ้าย
 проло́г  proloh  [prɔˈlɔɦ]  ปรห์  อารัมภบท
У
 у  u  u  –ู (เมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ดซ, ตซ
 หรือเมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ตามด้วย ร, ว, ห)
 кукуру́дза  kukurudza  [kukuˈrud͡zɑ]  กูกูรุดซา  ข้าวโพด
 ко́нкурс  konkurs  [ˈkɔnkurs]  กอนกูร์ส  การประกวด
 друг  druh  [druɦ]  ดรูห์  เพื่อน
 –ุ (เมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ร, ว, ห
 หรือเป็นพยางค์เปิดที่ตามด้วย ดซ, ตซ)
 каву́н  kavun  [kɑˈwun]  กาวุ  แตงโม
 уще́лина  ushchelyna  [uʃˈt͡ʃɛɫɪnɑ]  อุชแชลือนา  เหว
 суці́льний  sutsilnyi  [suˈt͡s⁽ʲ⁾ilʲnɪi̯]  ซุตซิลนึย  สมบูรณ์ในตัว

สระที่นำด้วย [j] แก้

รูปเขียน เสียง ใช้ ตัวอย่าง
อักษรซีริลลิก อักษรโรมัน อักษรซีริลลิก อักษรโรมัน คำอ่าน คำทับศัพท์ ความหมาย
Є
 є (เมื่ออยู่ต้นคำหรือเมื่อตามหลังสระ)  ye (เมื่ออยู่ต้นคำ);
 ie (เมื่อตามหลังสระ)
   แย  Єна́кієве  Yenakiieve  [ˈnɑk⁽ʲ⁾iʋɛ]  แยนากีแยแว  ชื่อเมือง
 Євге́н  Yevhen  [u̯ˈɦɛn]  แยวแฮน  ชื่อบุคคล
 надає́  nadaie  [nɑdɑˈ]  นาดาแย  ให้
 боє́ць  boiets  [bɔˈt͡sʲ]  บอแยตส์  นักสู้
 є (เมื่อตามหลัง ь
 หรือเมื่อตามหลังอะพอสทรอฟี)
 ie    –ิแย  рельє́ф  relief  [rɛˈlʲf]  แรลิแย  รูปนูน
 об'є́м  obiem  [ɔˈbm]  ออบิแย  ปริมาตร
 є (เมื่อตามหลังพยัญชนะที่ไม่ใช่ н, т)  ie  ʲɛ  เ–ีย  Сєвєродоне́цьк  Sievierodonetsk  [ˌsʲɛʋʲɛrɔdɔˈnɛt͡sʲk]  เซียเวียรอดอแนตสก์  ชื่อเมือง
 ллєш  lliesh  [lʲːɛʃ]  เลีย  เท
 є (เมื่อตามหลังพยัญชนะ н, т)  ie  ʲɛ  แ–  си́нє  synie  [ˈsɪnʲɛ]  ซือ  ที่มีสีน้ำเงิน
 життє́вий  zhyttievyi  [ʒɪˈtʲːɛʋɪi̯]  ฌึจจวึย  ที่เกี่ยวกับชีวิต
Ї
 ї (เมื่ออยู่ต้นคำหรือเมื่อตามหลังสระ)  yi (เมื่ออยู่ต้นคำ);
 i (เมื่อตามหลังสระ)
 ji  ยี; ยิ[# 1]  їжа́к  yizhak  [jiˈʒɑk]  ยีฌัก  เม่นแคระ
 ї́здити  yizdyty  jizdɪtɪ]  ยิซดือตือ  ไป
 приї́хати  pryikhaty  [prɪˈjixɑtɪ]  ปรือยีคาตือ  มา, มาถึง
 корої́д  koroid  [kɔrɔˈjid]  กอรอยิ  ด้วงเจาะเปลือกไม้สน
 ї (เมื่อตามหลัง ь
 หรือเมื่อตามหลังอะพอสทรอฟี)
 i  ji  –ิยี; –ิยิ[# 1]  Ма́р'їне  Marine  [ˈmɑrjinɛ]  มาริยีแน  ชื่อหมู่บ้าน
 від'ї́зд  vidizd  [ʋ⁽ʲ⁾iˈdjizd]  วีดิยิซด์  การออกไป
Ю
 ю (เมื่ออยู่ต้นคำหรือเมื่อตามหลังสระ)  yu (เมื่ออยู่ต้นคำ);
 iu (เมื่อตามหลังสระ)
 ju  ยู; ยุ[# 2]  Ю́лія  Yuliia  jul⁽ʲ⁾ijɑ]  ยูลียา  ชื่อบุคคล
 ю́шка  yushka  juʃkɑ]  ยุชกา  ซุปปลา
 ціє́ю  tsiieiu  [t͡s⁽ʲ⁾iˈjɛju]  ซีแยยู  นี้
 бажа́ють  bazhaiut  [bɑˈʒɑjutʲ]  บาฌายุ  ปรารถนา
 ю (เมื่อตามหลัง ь
 หรือเมื่อตามหลังอะพอสทรอฟี)
 iu  ju  –ิยู; –ิยุ[# 2]  Нью-Йо́рк  Niu-York  [nʲju ˈjɔrk]  ญิยู-ยอร์ก  ชื่อเมือง
 інтерв'ю́  interviu  [intɛrˈʋju]  อินแตร์วิยู  การสัมภาษณ์
 ю (เมื่อตามหลังพยัญชนะ)  iu  ʲu  –ู; –ุ[# 2][# 3]  лю́тий  liutyi  [ˈlʲutɪi̯]  ลูตึย  กุมภาพันธ์
 тюле́нь  tiulen  [tʲuˈɫɛnʲ]  จูแลญ  แมวน้ำ
 пацю́к  patsiuk  [pɑˈt͡sʲuk]  ปัตซุ  หนู
 ключ  kliuch  [klʲut͡ʃ]  กลุ  กุญแจ, ประแจ
Я
 я (เมื่ออยู่ต้นคำหรือเมื่อตามหลังสระ)  ya (เมื่ออยู่ต้นคำ);
 ia (เมื่อตามหลังสระ)
   ยา; ยั[# 4]  я́блуко  yabluko  bɫukɔ]  ยาบลูกอ  แอปเปิล
 я́струб  yastrub  strub]  ยัสตรุบ  เหยี่ยว
 Софі́я  Sofiia  [sɔˈf⁽ʲ⁾i]  ซอฟียา  ชื่อบุคคล
 мая́к  maiak  [mɑˈk]  มายั  ประภาคาร
 я́вний  yavnii  jɑu̯nɪi̯]  เยานึย [ยะ + ว]  ชัดแจ้ง, เป็นที่ปรากฏ
 я (เมื่อตามหลัง ь
 หรือเมื่อตามหลังอะพอสทรอฟี)
 ia    –ิยา; –ิยั[# 4]  ім'я́  imia  [iˈm]  อีมิยา  ชื่อ
 подві́р'я  podviria  [pɔd⁽ʲ⁾ˈʋ⁽ʲ⁾ir]  ปอดวีริยา  ลานหรือสนามที่มีรั้วล้อม
 зв'я́зка  zviazka  [ˈzʋzkɑ]  ซวิยัซกา  เส้นเอ็น
 хом'я́к  khomiak  [xɔˈmk]  คอมิยั  แฮมสเตอร์
 п'я́вка  piavka  [ˈpjɑu̯kɑ]  ปิเยากา [ยะ + ว]  ปลิง
 я (เมื่อตามหลังพยัญชนะที่ไม่ใช่ н, т)  ia  ʲɑ  เ–ีย  паляни́ця  palianytsia  [pɑlʲɑˈnɪt͡sʲɑ]  ปาเลียนึตเซีย  ขนมปังชนิดหนึ่ง
 буря́к  buriak  [buˈrʲɑk]  บูเรีย  บีตรูต
 пляж  pliazh  [plʲɑʒ]  ลีย  ชายหาด
 Гуляйпо́ле  Huliaipole  [ɦulʲɑi̯ˈpɔlɛ]  ฮูเลียย์ปอแล  ชื่อเมือง
 уявля́в  uiavliav  [ujɑu̯ˈlʲɑu̯]  อูเยาเลีย  นึกภาพ
 я (เมื่อตามหลังพยัญชนะ н, т)  ia  ʲɑ  –า; –ั[# 4]  пі́сня  pisnia  [ˈp⁽ʲ⁾is⁽ʲ⁾nʲɑ]  ปิสญ  เพลง
 ня́нька  nianka  [nʲɑnʲkɑ]  ญัญกา  พี่เลี้ยงเด็ก
 заня́ття  zaniattia  [zɑnʲɑtʲːɑ]  ซาญัจจ  ชั้นเรียน
 тяжки́й  tiazhkyi  [tʲɑʒˈkɪi̯]  จัฌกึย  หนัก, รุนแรง
 найня́в  nainiav  [nɑi̯ˈnʲɑu̯]  นัย [อะ + ว]  ว่าจ้าง
หมายเหตุ
  1. 1.0 1.1 การเลือกใช้รูปสระสั้นหรือรูปสระยาวสำหรับถอดเสียงสระนี้ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในตารางเทียบเสียงสระ і
  2. 2.0 2.1 2.2 การเลือกใช้รูปสระสั้นหรือรูปสระยาวสำหรับถอดเสียงสระนี้ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในตารางเทียบเสียงสระ у
  3. เนื่องจากไม่มีรูปสระประสมหรือรูปอักษรไทยอื่นใดที่พอจะเทียบเคียงกับเสียง [ʲu] ได้ในหนึ่งพยางค์ ในที่นี้จึงเลือกใช้รูปสระเดี่ยว –ู หรือ –ุ แทน
  4. 4.0 4.1 4.2 การเลือกใช้รูปสระสั้นหรือรูปสระยาวสำหรับถอดเสียงสระนี้ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในตารางเทียบเสียงสระ а

อ้างอิง แก้

  1. "Постанова Кабінету Міністрів України від 27 січня 2010 р. № 55 «Про впорядкування транслітерації українського алфавіту латиницею»". Верховна Рада України. 2010. Дата звернення: 30 жовтня 2022.
  2. "Romanization system in Ukraine" (PDF). Tenth United Nations Conference on the Standardization of Geographical Names. United Nations Statistics Division. 2012. Retrieved October 30, 2022.
  3. Pompino-Marschall, Steriopolo & Żygis 2017, p. 352
  4. Погрібний 1992, p. 9: "У частині карпатських говорів зберігається давній досить напружений голосний [ы]."
  5. Русанівський & Тараненко 2004, p. 407

บรรณานุกรม แก้

  • Погрібний, Микола Іванович (1984). Орфоепічний словник / уклад. Київ: Рад. школа. (ยูเครน)
  • Погрібний, Микола Іванович (1992). Українська літературна вимова. Дніпропетровськ: Трансформ. (ยูเครน)
  • Русанівський, В. М.; Тараненко, О. О.; และคณะ (2004). Українська мова: Енциклопедія. Київ: Енциклопедичне видавництво. (ยูเครน)
  • Danyenko, Andrii; Vakulenko, Serhii (1995). Ukrainian. München – Newcastle: Lincom Europa. (อังกฤษ)
  • Pompino-Marschall, Bernd; Steriopolo, Elena; Żygis, Marzena (2017). "Ukrainian". Journal of the International Phonetic Association. 47 (3): 349–357. (อังกฤษ)