วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/ภาษา/เมษายน 2551

นางแก้ว

คำว่า นางแก้ว มีที่มาอย่างไร และมีความหมายว่าอะไร? --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 140.122.237.49 (พูดคุย | ตรวจ) 09:01, 1 เมษายน 2551 (ICT)

คำเรียกสั้นๆของนางแก้วหน้าม้า...มั้ง Kuruni 00:13, 11 เมษายน 2551 (ICT)
นางแก้ว (อิตถีรัตนะ) เป็นหนึ่งในแก้ว 7 ประการของจักรพรรดิ (ได้แก่ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว) ปรากฏในพระสุตันตปิฏก อ่านเพิ่มเติมที่ [1] และ [2] --ธวัชชัย 11:25, 14 เมษายน 2551 (ICT)

ถามคำแปลครับ

language medium แปลว่าอะไรครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 124.121.69.142 (พูดคุย | ตรวจ) 15:24, 1 เมษายน 2551 (ICT)

สื่อภาษา?? (เอกพจน์ medium พหูพจน์ media) --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 18:21, 6 มิถุนายน 2551 (ICT)

ความหมายของคำ

อยากถามถึงความหมายของชื่อ รัชศิชภ ว่ามีความหมายอย่างไร และ มีรากศัพท์ มาจากคำใดบ้าง

ขอบคุณครับ

ถ้าในที่นี้ไม่ทราบ ขอคำแนะนำว่าจะสืบค้นได้ที่ไหน --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 203.170.231.232 (พูดคุย | ตรวจ) 04:51, 9 เมษายน 2551 (ICT)

คันจิ

คันจิ ที่ใช้ ในเขียนชื่อ ในภาษาญี่ปุ่น มีทั้งหมด กี่ตัว อะไรบ้างครับ ขอ คานะ กำกับด้วยครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.69.140.6 (พูดคุย | ตรวจ) 10:21, 9 เมษายน 2551 (ICT)

ไปอ่านที่ คันจิ --ปังคุง 13:22, 15 เมษายน 2551 (ICT)

ถ้าโลกนี้จำเป็นต้องมีเพียงหนึ่งภาษาไว้ สำหรับให้ทุกคนใช้สื่อสาร ภาษานั้นควรเป็นภาษาไทย

เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๑ซึ่งอเมริกันชนถือเป็นวันโกหกของเขา แต่ก็มีเรื่องนอนอิงลิชมาพูดกัน นสพ.ที่อ้างว่ามียอดจำหน่ายสูงสุดของประเทศไทยก็มีคนแปลเรื่องนี้มาเขียนไว้๔ เมษายน ๒๕๕๑ ความสังเขปมีว่า"เลขาธิการโครงการสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาตินายแอนดรู สไตเนอร์ กับหัวหน้าศูนย์ด้านภาษาแคมเดนนายเอเดรียน วอง และโฆษกทำเนียบประธานาธิบดีสหรัฐฯนายกอร์ดอน สแตนเซล สามบุคคลคนสำคัญ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของยูเอ็นอีกจำนวนหนึ่งได้จัดประชุมปรึกษาหารือกัน และมีมติจัดแผนการรณรงค์ให้เลิกใช้ภาษาอื่นๆทุกภาษาที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษเสีย หลังจากที่แต่ละคนต่างให้เหตุผลทุกๆด้าน เช่น การประหยัด การก่อการร้าย และเพื่อลดสภาวะโลกร้อน แล้วแผนการกำจัดภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษก็เริ่มขึ้นโดยกำหนดจำนวนประชากรที่ใช้ภาษาน้อยคนภาษานั้นต้องถูกกำจัดก่อนและถือเป็นยุทธศาสตร์หลัก อันที่จริงการโละทิ้งภาษาที่เขาอ้างว่าไม่มีความจำเป็น มีมานานแล้ว แต่มาเห็นเป็นจริงเป็นจังก็นับตั้งแต่มีนักคิดคนหนึ่งชื่ออีเมอรี่ รี้ฟเขียนหนังสือว่าด้วยการจัดตั้งรัฐบาลโลก(The anatomy of peace) และอัลเบอรต ไอน์สไตน์ออกมาสนับสนุน ให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาโลก สำหรับไอน์สไตน์นี้เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือมากของคนอเมริกัน ดูแต่คำกล่าวของเขาที่ว่าอย่าไปเสียเวลาท่องจำเรื่องที่พอจะหาได้ในสารานุกรม ก็มีการผลิตสารานุกรมกันเป็นการใหญ่ในอเมริกา เพราะฉะนั้นเมื่อท่านเปรยออกมาว่าควรใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสำหรับชาวโลกแล้วมีหรือที่คนชั้นนำของอเมริกันจะไม่ขยับตัวแต่เมื่อย้อนอดีตกลับไปให้ไกลกว่านี้สักหน่อยจะเห็นว่ามีความเพียรพยายามที่จะหา หรือประดิษฐ์ภาษาที่ง่ายที่สุดสำหรับชาวโลกนานมาแล้วเช่นกัน เช่นเอสเปแรนโตที่จักษุแพทย์รัสเซียคิดขึ้นและทดลองใช้ และเคยได้ยินว่ามาเลเซ๊ยก็ประกาศให้ภาษาของเขาเป็นภาษาโลกเช่นกัน ในความเห็นของผม ใครที่มีความคิดจะนิรมิตภาษาโลกไม่ใช่ความคิดอุตริใดๆ ทุกคนทำได้ ยกเว้นแต่คริสต์ศาสนิกชนเท่านั้น ที่ต้องสมควรถูกห้ามเด็ดขาด มิฉะนั้นจะกลายเป็นการขัดพระประสงค์ของพระเจ้า ท่านไม่กลัวถูกลงทัณฑ์กันหรอกหรือ เพราะแต่ก่อนโลกนี้ก็มีเพียงหนึ่งภาษา ทำให้สนทนากันเข้าใจ มนุษย์ต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แต่ต่อมามนุษย์สร้างหอคอยแบ็บเบลขึ้นต่างหากเล่า พระเจ้าจึงทำโทษให้มนุษย์ต้องอยู่กระจัดกระจายกันไป และคิดภาษาพูดขึ้นมาเกือบ๓๐๐๐ภาษามาใช้พูดจากัน และมีภาษาเขียนอีกประมาณ๑๐๐ภาษา ที่ผมยกเรื่องนี้มาเขียนถึงเพราะเอะใจว่า นี่เป็นการโยนหินถามทาง เพื่อกรุยทางไปสู่และ ไปปูทางทำให้สำเร็จตามความมุ่งหวังของชาติมหาอำนาจในวันข้างหน้าใช่หรือไม่ เพราะประมาณเดือนมีนาคม ผมคลิกหน้าเอ็มเอสเอ็นตรงคำ"เรียนอังกฤษออนไลน์" แล้วตามไปเรื่อย จนถึงหน้าที่พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ พบข่าวรัฐบาลอเมริกาทุ่มเงิน๔๐ล้านเหรียญอุดหนุนองค์กรจัดสอนภาษาอังกฤษในทุกประเทศทั่วโลก อันที่จริงอเมริกันไม่ต้องทุ่มเทมากขนาดนั้นก็ได้ สำหรับประเทศที่มีวัฒนธรรมอ่อนแอ เพราะประเทศนั้นๆมีความอ่อนน้อมพร้อมจะเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง และรับทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านหยิบยื่นและโยนให้อยู่แล้ว แต่ทำไมเขาต้องทำ เหตุหรือก็เพราะว่าภาษาอังกฤษ เดี๋ยวนี้มีสองแบบ คือแบบอังกฤษแท้ๆ และอเมริกันอังกฤษ ความจริงถ้าหากได้มีการสอบสวนทวนความกันเสียก่อนว่า ภาษาใดให้คุณประโยชน์แก่ผู้ใช้ได้สูงสุดแล้วนำมาแนะนำให้ใช้ ผมจะไม่ทักท้วงแต่ประการใดเลยทั้งสิ้นเพียงแต่อย่าเรียกร้องค่าลิขสิทธิ์ก็แล้วกันผมกลัวนักเชียวคำว่าทรัพย์สินทางปัญญา แต่จากการค้นคว้าหาความรู้ของผมมาเนิ่นนานปี ผมยังยืนยันตรงนี้ว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่สมบูรณ์แบบที่สุด ถ้าเราเอาความหมายตามคำนิยามของภาษาเข้ามาจับ ภาษาคือการเปล่งเสียงทางปากไปสู่โสตวิญญาณ สำหรับภาษาไทยการพูดเป็นการเปล่งเสียงที่ได้ยินเป็นคำๆ ถ้าเอาเสียงที่เป็นคำมาแยกส่วนประกอบ ก็จะได้สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ สระเป็นบ่อเกิดแห่งเสียง(ไม่สิ้นสุด)พยัญชนะเป็นอุปสรรคทำให้เสียงสะดุดหยุดลง หรืออีกนัยหนึ่งคือทำคำให้ชัดเจนขึ้น หมายความว่าถ้าเปล่งเสียงสระถ้าไม่คิดอยากหยุด คุณจะเปล่งเสียงได้จนกระทั่งหมดช่วงของลมหายใจ แต่ถ้าคุณนำพยัญชนะเข้ามาประกอบเพื่อให้เป็นคำเสียงของคุณจะสิ้นสุดสะดุดลงทันที จึงเป็นอุปสรรคของเสียงแต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ปรากฏชัดเป็นคำที่มีความหมายเท่าที่คุณตั้งเป็นข้อสมมุติบัญญัติไว้(ถ้าไม่มีการตั้งความหมายเอาไว้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ที่แน่ๆถ้าเสียงออกจากปากคน ก็ต้องรู้ว่าเป็นเสียงคน)ภาษาไทยครอบคลุมทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ทั้งนอกและในจักรวาล เพราะฉะนั้นทุกคนสมควรเรียนภาษาไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ง่ายแสนง่าย ท่านสามารถพูดไทยได้เต็มปากเต็มคำ ไม่ต้องกังวลเรื่องเสียงหนักเสียงเบา ทุกเสียงเสมอภาพ พูดได้ตามใจคือไทยครับ vanchana --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.25.19.151 (พูดคุย | ตรวจ) 05:16, 10 เมษายน 2551 (ICT)

  • เชื่อเอพริลฟูลไปได้...ปีที่แล้ว ยูเนสโกยังเป็นห่วงเรื่องมีภาษาสูญพันธุ์ไปไม่รู้กี่ร้อยภาษา(และจะหายไปเรื่อยๆ) ทำให้เราไม่อาจถอดความข้อเขียนหรือเรื่องราวเก่าๆได้อยู่เลย แล้วปีนี้จะมากลับลำ180องศาโดยที่วิกิเราไม่รู้เรื่องเลยหรือ? เข้าใจว่าการปลุกระดมให้คลั่งชาตินั้นต้องสุดโต่งเข้าไว้ แต่เลือกเรื่องที่เอามาอ้างอิงหน่อยเถอะ (ไม่ได้ต่อต้านการเรียนภาษาไทย แต่ไม่ชอบการย่ำวัฒนธรรมอื่นเพื่อยกของตน) Kuruni 00:21, 11 เมษายน 2551 (ICT)

อยากทราบว่า คำที่ใช้ในการแบ่งเขตเมือง หรือแคว้นต่างๆ มีคำว่าอะไรบ้างน่ะค่ะ

คือ...ตอนนี้อยากขอความช่วยเหลือจากคนที่มีความรู้ เรื่องเกี่ยวกับการแบ่งเขตเมืองน่ะค่ะ

อยากจะทราบว่า มีการกำหดยังไง ถึงจะเรียกว่าเป็น หมู่บ้าน อำเภอ เมือง แคว้น หรือประเทศ หรือคำอื่นๆ

แล้วในแต่ละแบบมีหน่อยพื้นที่ประมาณเท่าไหร่

แล้วก็ถ้ามีคำที่เราใช้ในไทย อย่างเช่น อำเภอ หรือตำบล ในต่างประเทศจะเรียกว่าอะไร รบกวนคนที่รู้เรื่องนี้ ช่วยบอกทีนะคะ ^^

ส่งคำตอบมาที่ เมล nung26031988@hotmail.com ขอความกรุณาด้วยนะคะ เพราะเราไม่รู้ว่าจะไปหาข้อมูลเรื่องนี้จากที่ไหนจริงๆ T^T--ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 61.90.249.246 (พูดคุย | ตรวจ) 04:46, 14 เมษายน 2551 (ICT)

ถ้าใช้ตรงตัวแบบภาษาอังกฤษนะครับ จังหวัดในประเทศไทย เราใช้ Province (โพรวินซ์)เช่น Nongkhai Province (จังหวัดหนองคาย)
อำเภอ เรียกว่า District
ตำบล เรียกว่า Sub-district แต่ในประเทศอังกฤษใช้ shiere (ไชร์)
หมู่บ้านใช้ village 
เขตการปกครองพิเศษ เช่น ในออสเตตรเลียและแคนาดา ใช้ territory 

แล้วแต่ประเทศนั้นๆด้วยนะครับ อย่างคำว่า province ในจีนนั้น หมายถึง มณฑล เลยหล่ะครับ ส่วนจังหวัดที่เราเรียก เขาใช้คำว่า city

ส่วนในออสเตรเลียจะแบ่งดังนี้ครับ

state หรือ รัฐ ซึ่งปกครองโดย state government

city หรือเมือง ปกครองโดย city council

subberb อันนี้ไม่ทราบว่าจะแปลว่าอะไรดี แต่เป็นขนาดนั้น คงเทียบได้กับ กิ่งอำเภอในจังหวัดหน่ะครับ

ขนาดของ city ในออสเตรเลียนั้น ไม่ได้แบ่งตามพื้นที่ครับ แต่ว่า มีความข้องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การก่อตัวของรัฐมากกว่า

ตัวอย่างเช่น ในรัฐ South Australia รัฐเดียวในออสเตรเลียที่ไม่มีการนำเข้านักโทษนั้น รับเอาพวกผู้ดีแต่ละชาติ โดยเฉพาะผู้ลี้ภัยทางการเมือง เข้ามา และรัฐบาลก็จัดพื้นที่อยู่อาศัยให้ผู้อพยพแต่ละชาติ แต่ละชุดที่เข้ามา ดังนั้น ผู้ที่อาศัยใน ซับเบิร์บ ติดๆกัน และมีเชื้อชาติเดียวกัน ก็จะรวมตัวกันสร้างเมืองขึ้นมาครับ

อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมาคือลักษณะการปกครองในส่วนเมืองหลวงเท่านั้น

ส่วนที่อยู่นอกเมืองหลวงนั้น จะแบ่งเป็น district หรือ เป็น region ในแทน ตามขนาดของพื้นที่ (ต้องเข้าใจว่า ส่วนกลางของออสเตรเลียเป็นทะเลทราย จึงอาจจะมีพื้นที่กว้างใหญ่ แต่ประชากรน้อยครับ) ซึ่งทั้งหมดนี้ จะถูกปกครองด้วย district/regional council ซึ่งเรียกรวมๆว่า Local Government Areas (LGA)

และใน LGA ก็จะมีส่วนย่อยๆ เรียกว่า Town ครับผม

--ไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรม 14:13, 9 มิถุนายน 2551 (ICT)

อักษรย่อ

ก.ก. ก.ค. ก.ต กต. ก.ท. ก.ส กันย์ กุม จ.ว. จส. ฉช. จี.ไอ ช.ม ซีซี ต.ญ. ทีบี ทีวี น.ร. ป.ณ ปร. ปล. พ.ร. ม.ก. ม.ข ม.ช ม.ธ ม.น ย.ธ สก. ส.ฏ. สส. อ.ต อส. เอ.พี เอ.เอ็ม เอฟ.เอ็ม โอ.เค ไอ.คิว ก.ตร. ก.ฟ.น. ก.ฟ.ภ. ก.ฟ.ผ. ข.ต.ว. ขทร. เค.จี.บี. จทบ. ซี ไอ เอ ดี ดี ที ท.ท.ท. ทสป. ธกท. นนร. น.ป.ท. น.ม.ส. น.อ.ภ. บก.น บี.บี.ซี ป.ช.ป. ป.ต.อ. ผยก. ผ.ก.ง. พ.ส.ธ. พ.ส.ล. ภ.ป.ร. ม.จ.ร. มท.บ. ม.ธ.ก. มศว. ยู.พี.ไอ ศ.ธจ. ศ.ธอ. ส.ธ.อ. บก.ปค. บก.ปร. บชอ.ป. ปช.ปช. ว.ททบ. ศปปอ. ศ.อ.ศ.อ. ส.ก.ส.ส. สธวท. ส.น.ส.ท. ส.ป.ส.ท. ส.ส.ว.ท. คำเต็มคืออะไร กระทรวงเศรษฐการ กสิกรรมบัณฑิต เทคโนโลยีการเกษรบัณฑิต แพทยศาสตร์บัณฑิต จ่าสิบตำรวจตรี พันเอกพิเศษ ผลหารแสดงเชาว์แสดงปัญญา อำมาตย์เอก อาสาสมัคร องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก องค์การทอผ้า อักษรย่อคืออะไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.133.159.42 (พูดคุย | ตรวจ) 09:42, 18 เมษายน 2551 (ICT)

ลองเปิดดูที่ ปาทานุกรมฉบับนักเรียน จะมีเฉลยไว้หมดแล้วครับ Prapass --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 117.121.208.254 (พูดคุย | ตรวจ) 08:28, 21 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ภาษา

คำว่า หัสกร แปลว่าอะไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.149.24.129 (พูดคุย | ตรวจ) 18:29, 21 เมษายน 2551 (ICT)

"หัสกร" ไม่พบครับ พบแต่ "หาสกร" (สันสกฤต) แปลว่า การทำให้หัวเราะ, การหัวเราะอย่างร่าเริง ; หัสกร ถ้าจะแปลว่า ผู้ทำให้เกิดการหัวเราะ ก็พอได้ครับ --ธวัชชัย 08:53, 4 มิถุนายน 2551 (ICT)

คำอ่านออกเสียงพระนามสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

พระนามของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ คำว่าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี อ่านออกเสียงว่าอย่างไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.143.147.202 (พูดคุย | ตรวจ) 03:10, 29 เมษายน 2551 (ICT)

"สม-เด็ด-พระ-เทบ-พะ-รัด-ราด-สุ-ดา-สะ-หยาม-บอ-รม-มะ-ราด-ชะ-กุ-มา-รี" (จาก.. จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ 11 ฉบับที่ 117 กุมภาพันธ์ 2544) --ธวัชชัย 19:54, 13 พฤษภาคม 2551 (ICT)