วิกิพีเดีย:การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ธันวาคม 2556/ผู้สมัคร

การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ 2556

สถานะ

  • ขณะนี้หมดเวลาการเลือกตั้งแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งนับคะแนน และประกาศผลแล้ว หน้าลงคะแนนถูกล็อกไม่ให้แก้ไขอีกและเก็บไว้เป็นประวัติอ้างอิง
ปัจจุบันเป็นเวลา 10:27 น. วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน 2567 (ล้างเซิร์ฟเวอร์แคช)


แถลงการณ์เสนอชื่อผู้เขียนลงสมัครรับเลือกตั้งอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2556 จะปรากฏด้านล่าง อนึ่ง ขณะนี้หมดเวลายื่นรับสมัครแล้ว

  • เงื่อนไขคุณสมบัติผู้สมัคร
ผู้เขียนซึ่งมีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งต้อง
(1) มีบัญชีลงทะเบียน
(2) มีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์ของมูลนิธิวิกิมีเดียสำหรับการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวหรือยืนยันในคำแถลงว่าตนจะปฏิบัติตามเกณฑ์อย่างเต็มที่
(3) เปิดเผยบัญชีอื่น ๆ ของตนในคำแถลงเลือกตั้งด้วย

ผู้สมัคร

แก้

เนื่องด้วยวิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์ที่ใครก็สามารถเข้าถึงได้ จึงอาจก่อให้เกิดความเห็นที่แตกต่าง และนำมาซึ่งความขัดแย้ง ในความขัดแย้งนี้เองที่อาจมาจากอคติที่เกิดขึ้นอยู่ในบางครั้ง แม้กระทั่งผู้บริสุทธิ์ก็ยังถูกตัดสินให้เป็นผู้กระทำผิด หรือคนเลวได้รับรางวัล จึงจำต้องมีอนุญาโตตุลาการขึ้นเพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยปัญหาที่ปรากฏเหล่านี้ ทั้งนี้ ข้าพเจ้ามีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่นทุกครั้งเมื่อมีโอกาส จึงยินดีอาสาทำหน้าที่ดังกล่าวด้วยใจ

ข้าพเจ้ามีชื่อบัญชีผู้ใช้อื่นอีก 2 ชื่อ ซึ่งได้แก่ ผู้ใช้:EQ San และ ผู้ใช้:Ahmed เพื่อต้องการที่จะช่วยเหลือผู้คนทั่วไปอยู่เบื้องหลังในบางโอกาส และยินดีที่จะปฏิบัติตามเกณฑ์ว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลตามเงื่อนไขแห่งมูลนิธิวิกิมีเดีย


ทุกคนทราบว่าวิกิพีเดียคือสารานุกรมเสรี สารานุกรมคือสิ่งที่มีสาระต่อกันไปเป็นอนุกรม และเสรีคือความชอบที่จะทำในสิ่งใด ๆ ภายใต้กฎเกณฑ์ ดังนั้นสิ่งที่ไม่เป็นสาระ คือเนื้อหาอื่นใดที่ไม่เป็นไปตามนโยบาย ก็ไม่ควรจะปรากฏอยู่ในวิกิพีเดีย สิ่งนี้รวมไปถึงการโฆษณา การเจตนาบิดเบือนให้เป็นเท็จ และการก่อกวน ซึ่งเป็นเสรีภาพที่เกินขอบเขต นอกจากนี้ถึงแม้ว่าเนื้อหาของวิกิพีเดียมีสาระแล้ว บางจุดบางตอนยังไม่สามารถชี้ถูกชี้ผิดลงไปได้ ทำให้เกิดวิวาทและสงครามแก้ไข บ้างก็มีปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิ์ต่าง ๆ อาทิลิขสิทธิ์และสิทธิส่วนบุคคล ปัญหาเหล่านี้หากระงับไม่ได้ในการอภิปรายของประชาคม ก็จำเป็นต้องมีคนกลางมาช่วยไกล่เกลี่ยหรือระงับข้อพิพาท ดังนั้นคณะอนุญาโตตุลาการจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
ข้าพเจ้ายืนยันว่าจะปฏิบัติตามเกณฑ์ว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเต็มที่ ข้าพเจ้ามีบัญชีผู้ใช้อีกหนึ่งชื่อคือ OctraBot เป็นบอตสำหรับทำงานซ้ำซากจำเจ ทั้งในโครงการและข้ามโครงการ

ชุมชนแบบวิกิพีเดียยังเป็นสิ่งค่อนข้างใหม่สำหรับผู้ใช้งานชาวไทย มักพบความเข้าใจผิดอยู่เนืองๆ และบางครั้งความเข้าใจผิดก็ลุกลามจนกลายเป็นความขัดแย้ง ความพยายามชี้แจงความเข้าใจผิดเป็นสิ่งที่สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่พยายามทำอยู่แล้ว แต่หากมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น การมีบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการขัดแย้งครั้งนั้น (คนกลาง) เข้ามาไกล่เกลี่ยย่อมเป็นประโยชน์ ซึ่งข้าพเจ้าหมายจะปฏิบัติหน้าที่นี้เพื่อประโยชน์แก่ชุมชนวิกิพีเดียแห่งนี้ ข้าพเจ้ายืนยันว่าจะปฏิบัติตามเกณฑ์ว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเต็มที่ ข้าพเจ้ามีบัญชีผู้ใช้ชื่อเดียวคือ Tinuviel ทั้งในโครงการนี้ โครงการพี่น้อง และวิกิมีเดีย

ข้อเสนอแก้ไขนโยบาย

แก้

ปกิณกะ

แก้
ข้อความเดิม ข้อความใหม่ เหตุผล
ข้อ 3 เงื่อนไขการเป็นผู้สมัคร
  1. ไม่ว่าในการเลือกตั้งประจำปีก็ดี หรือการเลือกตั้งพิเศษก็ดี ผู้สมัครต้อง
    1. เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมูลนิธิว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ ณ ภูมิลำเนาตามกฎหมายของตน และอื่นๆ)
    2. ให้สัตยาบันโดยทำเป็นคำแถลงในการเลือกตั้งสมัยตน ว่า ตนจักปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของมูลนิธิว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลโดยเคร่งครัด
    3. เปิดเผยบัญชีผู้ใช้อื่น ๆ ของตนขณะให้สัตยาบันด้วย แต่บัญชีผู้ใช้อันชอบตามระเบียบที่ได้แถลงต่อ คอต. ก่อนที่ตนได้รับการเสนอชื่อนั้น หาจำต้องเปิดเผยอีกไม่
ข้อ 3 เงื่อนไขการเป็นผู้สมัคร
  1. ผู้สมัครต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ ณ ภูมิลำเนาตามกฎหมายของตน และอื่น ๆ)
  2. ผู้สมัครต้องแถลงในคราวเลือกตั้งว่า จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวโดยเคร่งครัด
  3. ในการแถลงตามวรรค 2 ผู้สมัครต้องเปิดเผยบัญชีผู้ใช้อื่น ๆ ของตนด้วย แต่บัญชีผู้ใช้ที่ชอบด้วยนโยบายและได้แจ้งให้ คอต. ทราบก่อนปิดเสนอชื่อนั้น ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยอีก
แก้ไขตามวิกิฯ อังกฤษ และปรับปรุงข้อความ
ข้อ 4 การดำรงตำแหน่ง

วาระดำรงตำแหน่งของตุลาการคนหนึ่ง ๆ ย่อมเริ่มต้นทันทีที่ได้รับเลือกตั้ง ในกรณีเช่นนี้ เขาย่อมเข้าทำคดีได้โดยพลัน

ข้อ 4 การดำรงตำแหน่ง

วาระดำรงตำแหน่งตุลาการเริ่มต้นทันทีที่ได้รับแต่งตั้งโดยผู้มีสิทธิแต่งตั้ง

แก้ไขตามข้อเท็จจริง
ข้อ 9 เหตุพ้นจากตำแหน่ง
  1. ตุลาการคนหนึ่ง ๆ ย่อมพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
    1. ลาออก โดยให้แถลงต่อ คอต. และให้มีผลทันทีที่ได้แถลง
    2. คอต. โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของตุลาการทั้งหมดที่มีอยู่ สั่งให้พ้นจากตำแหน่ง เพราะ
      1. ละเมิดจริยธรรมข้อหนึ่งข้อใดเป็นอาจิณ หรือเพียงครั้งเดียวแต่ร้ายแรง
      2. บกพร่องในหน้าที่
      3. ละหน้าที่เป็นเวลายาวนาน โดยไม่บอกกล่าวต่อ คอต. หรือไม่มีเหตุสมควร หรือ
      4. ไร้ความสามารถอย่างเห็นประจักษ์
    3. วาระดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปีสิ้นสุดลง แต่อาจได้รับเลือกตั้งมาอีกได้
ข้อ 9 เหตุพ้นจากตำแหน่ง

ตุลาการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

  1. ลาออก โดยให้แถลงต่อ คอต. และให้มีผลทันทีที่ได้แถลง
  2. วาระดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปีสิ้นสุดลง
เอาเรื่องที่ไม่จำเป็นออก
ข้อ 10 การพักหน้าที่

เมื่อมีเหตุตามข้อ 9 วรรค 1 อนุวรรค 3 คอต. โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของตุลาการทั้งหมดที่มีอยู่ จะสั่งให้ตุลาการผู้นั้นพักหน้าที่แทนก็ได้

ข้อ 10 การพักหน้าที่
(ยกเลิก)
เป็นผลมาจากการแก้ไขข้อ 9
ข้อ 11 บทเบ็ดเตล็ด
  1. ตุลาการที่วาระดำรงแหน่งสิ้นสุดลงระหว่างพิจารณาคดี ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคดีถึงที่สุด
  2. ตุลาการที่ได้รับเลือกเข้ามาแทนผู้พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ย่อมอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลือของผู้ที่ตนแทน และอาจได้รับเลือกตั้งมาอีกได้
ข้อ 11 การพ้นจากตำแหน่ง
  1. ตุลาการที่พ้นจากตำแหน่ง อาจได้รับเลือกตั้งอีกได้
  2. ตุลาการที่พ้นจากตำแหน่งเพราะวาระสิ้นสุดลง ให้อยู่ในตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าตุลาการที่ได้รับเลือกตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่
  3. เมื่อตุลาการพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นนอกจากวาระสิ้นสุดลง ให้ คตอ. ประกอบด้วยตุลาการเท่าที่มีอยู่
แก้หัวข้อ เอาข้อความเดิมบางส่วนจากข้อ 9 มาใส่ และเพิ่มข้อความใหม่เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างเลือกตั้ง
ข้อ 12 เขตของ คอต.
  1. คอต. มีเขตเฉพาะแต่ในวิกิพีเดียภาษาไทย, วิกิซอร์ซภาษาไทย, วิกิพจนานุกรมภาษาไทย, วิกิคำคมภาษาไทย และวิกิตำราภาษาไทย
  2. ความข้อนี้ไม่ตัดอำนาจของ คอต. ในอันที่จะพิเคราะห์เรื่องราวทั้งหลายอันเกิดขึ้นภายนอกเขตของตน เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาและวินิจฉัยคดีในอำนาจของตนได้ แต่เรื่องราวเช่นว่านี้ ต้องมีหรือน่าจะมีผลกระทบต่อวิกิพีเดียภาษาไทย, วิกิซอร์ซภาษาไทย, วิกิพจนานุกรมภาษาไทย, วิกิคำคมภาษาไทย หรือวิกิตำราภาษาไทย หรือต่อผู้ใช้โดยรวมด้วย
ข้อ 12 เขตของ คอต.

คอต. มีเขตในวิกิพีเดียภาษาไทย แต่ไม่ห้าม คอต. ที่จะพิเคราะห์เรื่องราวทั้งหลายที่เกิดนอกเขตของตน เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาและวินิจฉัยตามอำนาจของตนได้ แต่เรื่องราวดังกล่าวนี้ต้องมีหรือน่าจะมีผลกระทบต่อวิกิพีเดียภาษาไทยหรือผู้ใช้โดยรวมด้วย

คอต. วิกิฯ ไทยไม่สามารถมีอำนาจในโครงการอื่นได้ ตราบที่สมาชิกโครงการอื่นไม่ได้เลือกด้วย
ข้อ 13 อำนาจพิจารณาและวินิจฉัยของ คอต.
  1. คอต. มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีดังต่อไปนี้
    1. ข้อพิพาททั้งหลายอันเกิดขึ้นในประชาคม และมีสภาพร้ายแรงถึงขนาดที่ประชาคมไม่สามารถระงับลงได้ด้วยตนเอง
    2. ข้อพิพาทต่าง ๆ อันไม่พึงอภิปรายกันในที่สาธารณะ เนื่องจากความเป็นส่วนตัว, เหตุผลทางกฎหมาย หรือปัจจัยอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
    3. การอุทธรณ์คำสั่งของผู้ดูแลระบบที่ห้าม, ปิดกั้น หรือจำกัดโดยประการอื่นต่อผู้ใช้คนใด
    4. การขอให้เพิกถอนเครื่องมือผู้ดูแลระบบ
    5. การขออนุมัติให้
      1. ตรวจสอบผู้ใช้ (CheckUser) หรือ
      2. ให้ใช้รายการพัสดุทางการของ คอต. ร่วมกับ คอต. ด้วย
    6. การขอให้ยกเลิกคำอนุมัติตามความในอนุวรรค 5
    7. การอุทธรณ์คำวินิจฉัยหรือคำสั่งของ คอต.
  2. การปฏิบัติหน้าที่ทางการของมูลนิธิ หรือของเจ้าหน้าที่มูลนิธิ ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยของ คอต.
  3. คอต. ย่อมคงไว้ซึ่งเขตอำนาจเหนือคดีที่ตนได้วินิจฉัยไปแล้ว รวมถึงกระบวนพิจารณาที่ตามมา เช่น การบังคับคดี, การรื้อฟื้นคดี, การขอให้อธิบายคำวินิจฉัย ฯลฯ
  4. เมื่อ คอต. เห็นเอง หรือเมื่อคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือผู้มีส่วนได้เสียร้องขอ คอต. จะสั่งให้รื้อฟื้นคดีใหม่เสียเมื่อใดก็ได้
ข้อ 13 อำนาจพิจารณาและวินิจฉัยของ คอต.
  1. คอต. มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยหรือสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้
    1. ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในประชาคม และมีสภาพร้ายแรงถึงขนาดที่ประชาคมไม่สามารถระงับลงได้ด้วยตนเอง
    2. ข้อพิพาทที่ไม่พึงอภิปรายในที่สาธารณะ เพราะความเป็นส่วนตัว เหตุผลทางกฎหมาย หรือเหตุผลอื่นทำนองเดียวกัน
    3. การขอให้เพิกถอนเครื่องมือผู้ดูแลระบบ
    4. การขอให้แต่งตั้งผู้ตรวจสอบผู้ใช้
    5. อุทธรณ์คำสั่งผู้ดูแลระบบที่ห้าม ปิดกั้น หรือจำกัดโดยประการอื่นต่อผู้ใช้
    6. อุทธรณ์คำวินิจฉัยหรือคำสั่งของ คอต.
  2. การปฏิบัติหน้าที่ทางการของมูลนิธิ หรือของเจ้าหน้าที่มูลนิธิ ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยของ คอต.
  3. คอต. ย่อมคงไว้ซึ่งเขตอำนาจเหนือคดีที่ตนได้วินิจฉัยไปแล้ว รวมถึงกระบวนพิจารณาที่ตามมา เช่น การบังคับคดี การรื้อฟื้นคดี และการขอให้อธิบายคำวินิจฉัย
  4. เมื่อ คอต. เห็นเอง หรือเมื่อคู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียร้องขอ คอต. จะสั่งให้รื้อฟื้นคดีขึ้นใหม่เมื่อใดก็ได้
ปรับปรุงข้อความ
ข้อ 16 ระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณา

คอต. จะตรา และแก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณา โดยไม่ขัดหรือแย้งกับนโยบายนี้ก็ได้

ข้อ 16 ระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณา

คอต. จะวางและแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณาโดยไม่ขัดหรือแย้งกับนโยบายนี้ก็ได้

ปรับปรุงข้อความ
ข้อ 27 รูปแบบคำวินิจฉัย
  1. คำวินิจฉัยของ คอต. นั้น อย่างน้อยต้อง
    1. บรรยายข้อเท็จจริงที่ไต่สวนได้ความ
    2. บรรยายคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี พร้อมเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้น
    3. ระบุข้อกำหนดในการบังคับคดี ถ้ามี
    4. ลงลายมือชื่อและวันที่ของตุลาการทุกคนที่ร่วมทำคำวินิจฉัย ตามวิธีการของวิกิพีเดีย
ข้อ 27 รูปแบบคำวินิจฉัย

คำวินิจฉัยของ คอต. นั้น ปรกติแล้วควร

  1. บรรยายข้อเท็จจริงที่ไต่สวนได้ความ
  2. บรรยายคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี พร้อมเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้น
  3. ระบุข้อกำหนดในการบังคับคดี ถ้ามี
แก้ไขตามวิกิฯ อังกฤษ
ข้อ 34 การแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายนี้
  1. การแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายนี้ ต้องได้รับสัตยาบันทำนองเดียวกัน
  2. ญัตติแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายนี้ คอต. โดยคะแนนเสียงข้างมากของตุลาการทั้งหมดที่มีอยู่ก็ดี หรือผู้ใช้ ซึ่งเข้าชื่อกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 20 เสียงก็ดี ย่อมเสนอไปยังประชาคมได้
  3. ระเบียบว่าด้วยกระบวนพิจารณา ซึ่งนโยบายนี้อนุญาตให้ คอต. ตราขึ้นและแก้ไขเพิ่มเติมเองได้นั้น หาจำต้องได้รับสัตยาบันจากประชาคมอีกไม่
ข้อ 34 การแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายนี้
  1. การแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายนี้ ต้องได้รับสัตยาบันทำนองเดียวกัน
  2. ผู้ใช้ก็ดี หรือ คอต. โดยคะแนนเสียงข้างมากของตุลาการทั้งหมดที่มีอยู่ก็ดี สามารถเสนอให้ประชาคมแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายนี้ได้
  3. ระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณา ซึ่งนโยบายนี้อนุญาตให้ คอต. วางและแก้ไขเพิ่มเติมเองได้นั้น ไม่จำเป็นต้องได้รับสัตยาบันจากประชาคมอีก
- วรรค 1 คงเดิม

- วรรค 2 เปิดให้ผู้ใช้กี่คนก็เสนอแก้ไขนโยบายได้ เพราะวิกิฯ ไทยไม่ได้มีผู้ใช้ประจำมากเท่าวิกิฯ อังกฤษ ไหนจะต้องล่ารายชื่อ อภิปราย แล้วลงคะแนนอีกชั้นหนึ่ง เป็นการสร้างขั้นตอนเกินจำเป็น
- วรรค 3 แก้คำผิด และปรับปรุงข้อความ

อาจได้รับการยอมรับจากโครงการพี่น้อง

แก้
  1. ข้อ 1 บทวิเคราะห์ศัพท์ เดิมระบุว่า "ประชาคม" หมายถึง ประชาคมวิกิพีเดียภาษาไทย อันประกอบด้วยผู้ใช้ทั้งปวง ขอแก้ไขเป็น "ประชาคม" หมายถึง ประชาคมวิกิพีเดียภาษาไทย อันประกอบด้วยผู้ใช้ทั้งปวง รวมถึงโครงการพี่น้องที่มีมติชุมชนยินดีเข้าร่วมกระบวนการอนุญาโตตุลาการกับประชาคมวิกิพีเดียภาษาไทยและคณะอนุญาโตตุลาการได้มีมติรับรองประชาคมโครงการพี่น้องนั้นเข้าไว้ในความดูแล ประชาคมโครงการพี่น้องมีสภาพการเป็นประชาคมในนโยบายคณะอนุญาโตตุลาการทันทีเมื่อทั้งคณะอนุญาโตตุลาการและประชาคมโครงการพี่น้องได้มีมติรับรอง ในขณะที่ประชาคมโครงการพี่น้องอาจสิ้นสภาพการพเป็นประชาคมในนโยบายคณะอนุญาโตตุลาการนี้ได้ทันทีเมื่อคณะอนุญาโตตุลาการหรือประชาคมโครงการพี่น้องนั้นมีมติเพิกถอน
  2. ข้อ 12 ตามร่างแก้ไข้างต้น หรือในที่อื่นๆ เว้นแต่ในบทนิยาม แก้ วิกิพีเดียภาษาไทย เป็น ประชาคม

อาจได้สิทธิผู้ดูแลเพื่อดำเนินการในฐานะตุลาการเท่านั้น (ถ้ามีนโยบายของโครงการให้สิทธิ)

แก้

ข้อ 4 เพิ่มหัวข้อย่อยที่ 2. หากมีนโยบายของประชาคมโครงการวิกิพีเดียภาษาไทยหรือประชาคมโครงการพี่น้องรองรับ อนุญาโตตุลาการอาจได้รับสิทธิเป็นผู้ดูแลระบบโครงการนั้นด้วยก็ได้ แต่ทั้งนี้จำกัดเฉพาะระหว่างดำรงตำแหน่งหรือระหว่างพิจารณาข้อหาหรือคำขอ และให้ใช้เพื่อการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการโดยเคร่งครัดเท่านั้น

อาจดำเนินการในนามส่วนตัว

แก้

ข้อ 4 เพิ่มหัวข้อย่อยที่ 3. ตุลาการหรือคณะตุลาการอาจทำการไกล่เกลี่ย พูดคุย หรือประสานงานเพื่อระงับข้อพิพาท หรือสร้างความเข้าใจอันดีกันในประชาคมในนามส่วนตนก็ได้ ทั้งนี้การที่กระทำไปทั้งปวงในข้อจะไม่ผูกพันต่อ คอต.

จำนวนและวิธีการเลือกตั้ง

แก้

ข้อ 2 การเลือกตั้งตุลาการ เพิ่มข้อสุดท้าย ในการเลือกตั้งประจำปีครั้งหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนผู้ลงสมัคร แต่จำกัดจำนวนตำแหน่งตุลาการที่ผ่านการรับเลือกไว้ในอัตราตุลาการใหม่ 1 คน ต่อผู้ใช้ที่แก้ไขกว่าห้าครั้งต่อเดือน 100 คน การคำนวณนี้หากมีเศษให้ปัดขั้นเป็นจำนวนเต็มได้และใช้จำนวนผู้ใช้จากเดือนที่มีการเลือกตั้งเป็นสำคัญ

ประเด็นอื่นที่พึงพิจารณา

แก้
  1. ลงชื่อสนับสนุนและลงคะแนนเลือกอัตลักษณ์ Thai Wikivoyage
  2. ลงชื่อเป็นอาสาสมัครในทีมงาน Wiki loves monuments 2014 in Thailand