วิกฤตตัวประกันมะนิลา
วิกฤตตัวประกันมะนิลา (Manila Hostage Crisis) หรือ วิกฤตตัวประกันสวนรีซัล (Rezal Park Hostage Crisis) เกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ที่ถูกปลดออกจากตำแหน่งได้ยึดรถบัสทัวร์หน้าควิริโนแกรนด์สแตนด์ในสวนรีซัล กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 อดีตสารวัตรตำรวจอาวุโสซึ่งไม่พอใจ (มียศเทียบเท่าร้อยเอกในกองทัพบก) โรลันโด เมนโดซา จากสถานีตำรวจมะนิลาได้จี้รถบัสทัวร์ซึ่งมีผู้โดยสารเป็นนักท่องเที่ยวจากฮ่องกงจำนวน 25 คน ในความพยายามที่จะได้รับตำแหน่งงานกลับคืน[3] เขากล่าวว่า เขารู้สึกผิดหวังอย่างยิ่งที่ถูกปลดออกจากตำแหน่งโดยไม่มีโอกาสที่จะปกป้องตนเองอย่างเหมาะสม และสิ่งที่เขาต้องการมีเพียงการรับฟังอย่างยุติธรรมเท่านั้น
วิกฤตตัวประกันมะนิลา | |
---|---|
รถทัวร์ที่ถูกจู่โจมและเป็นตัวประกัน | |
สถานที่ | สวนรีซัล มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ |
พิกัด | 14°34′52″N 120°58′30″E / 14.58104°N 120.974922°E |
วันที่ | 23 สิงหาคม ค.ศ. 2010 10:00–21:00 (UTC+08:00) |
เป้าหมาย | นักท่องเที่ยวชาวฮ่องกงบนรถทัวร์ |
ประเภท | วิกฤตตัวประกัน |
อาวุธ | |
ตาย | 9 (รวมผู้ก่อการ)[1][2] |
เจ็บ | 9 (ตัวประกัน 7 ราย) |
ผู้ก่อเหตุ | โรแลนโด เมนโดซา [2] |
จากผลของการปิดล้อมนานสิบชั่วโมง ความพยายามช่วยเหลือตัวประกันที่ผิดพลาดของตำรวจกรุงมะนิลาได้ปรากฏบนหน้าจอโทรทัศน์ถ่ายทอดสดแก่ผู้ชมหลายล้านคนที่กำลังชมข่าวอยู่ ตัวประกัน 8 คน[1] และเมนโดซา[2] เสียชีวิต และอีก 9 คนได้รับบาดเจ็บ รัฐบาลฮ่องกงได้ประกาศเตือนภัยท่องเที่ยวขั้นสูงสุด "สีดำ" ทันที[4]
ผู้ก่อการ
แก้ผู้ก่อการจี้ชิงตัวประกันในครั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ระบุว่าเป็นโรลันโด เมนโดซา อดีตนายตำรวจสัญญาบัตรระดับสูง[5] ผู้ซึ่งต้องการที่จะกลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมพร้อมกับสิทธิประโยชน์ไปยังสถานีตำรวจเดิมที่เขาทำงานอยู่ในกรุงมะนิลา เขาถูกปลดออกจากตำแหน่งในปี พ.ศ. 2552 เนื่องจากข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการกรรโชกทรัพย์[3][6]
เมนโดซาสำเร็จการศึกษาด้านอาชญวิทยา สมัครเข้าเป็นตำรวจในตำแหน่งสายตรวจ จากนั้นได้ไต่เต้าขึ้นสู่ตำแหน่งสารวัตรอาวุโส เขาได้รับมอบเหรียญตรา 17 ครั้งในความกล้าหาญและเกียรติยศ ผู้ร่วมงานในสถานีตำรวจกรุงมะนิลากล่าวว่า เขาเป็นคนทำงานหนักและใจดี[7] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 เมนโดซานำกลุ่มตำรวจโบกสัญญาณให้กับรถตู้ซึ่งกำลังขนกล่องเงินจำนวน 13 กล่อง ซึ่งอดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส พยายามที่จะลักลอบนำออกนอกประเทศ เมนโดซาและทีมของเขาได้ส่งเงินดังกล่าวคืนให้กับทางการ[7] ในปีนั้น เมนโดซาได้รับรางวัลในฐานะที่เป็นสิบตำรวจยอดเยี่ยมของฟิลิปปินส์[8]
เชฟโรงแรม คริสเตียน คาลอว์ กล่าวว่า เขาถูกกล่าวหาจากเมนโดซาและตำรวจคนอื่น ๆ ในข้อหาละเมิดการจอดรถเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2551 พวกเขาได้นำถุงเล็ก ๆ ซึ่งภายในบรรจุเมทแอมเฟตามีนในรถของเขา บีบบังคับให้เขารับยาเสพติด กล่าวหาว่าเขาติดยา และต้องการให้เขาส่งเงินในเอทีเอ็มทั้งหมด คาลอว์กล่าวว่าตำรวจได้ปล่อยตัวเขาหลังจากที่เพื่อนของเขาได้ส่งเงินให้กับตำรวจจำนวน 20,000 เปโซ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินพบว่าเมนโดซาและพวกอีก 4 คนมีความผิดจริงในการประพฤติที่ไม่เหมาะสมและสั่งให้เมนโดซาออกจากราชการและยกเลิกสิทธิประโยชน์ทั้งหมดของเขา[7] ข้อกล่าวหาต่อเมนโดซาได้ลงบันทึกไว้เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2551 หลังจากเขาถูกปลดออกจากตำแหน่งหน่วยลาดตระเวนเคลื่อนที่ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 กองที่แปดของสำนักงานอัยการมะนิลาได้ยกฟ้องคดีหลังจากคาลอว์ไม่สามารถเข้าร่วมการพิจารณาคดีได้ ส่วนกิจการภายในของสำนักงานตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์แนะนำให้ยกฟ้องคดีเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ด้วยเหตุผลเดียวกัน น้องชาย เกรโกรีโอ กล่าวว่าสิ่งที่พี่ชายของเขาต้องการ คือ การได้รับฟังอย่างเป็นธรรมโดยผู้ตรจการแผ่นดิน ผู้ซึ่ง "ไม่เคยให้โอกาสเขาที่จะป้องกันตัวเอง พวกเขาปลดออกจากตำแหน่งในทันที"[7]
การจี้ตัวประกัน
แก้การขึ้นรถ
แก้ขณะที่รถบัสทัวร์ของคังไท่ ทราเวล เซอร์วิส กำลังรับนักท่องเที่ยวจากฮ่องกงจำนวน 25 คนหน้าควิริโนแกรนด์สแตนด์ในสวนรีซัล มือปืน โรลันโด เมนโดซา พยายามที่จะตามนักท่องเที่ยวขึ้นไปบนรถและขอโดยสารฟรี เมื่อคนขับปฏิเสธความต้องการของเขา เมนโดซาได้ชักอาวุธของตนเองมา และใส่กุญแจมือคนขับเข้ากับพวงมาลัยและทำการจี้รถบัส[9] อย่างไรก็ตาม ผู้รอดชีวิต ลี อิก บิว ได้เล่าว่าการขึ้นรถนั้นเกิดขึ้นที่ฟอร์ตซานเตียโก[10][11] ข้อเท็จจริงดังกล่าวได้รับการยืนยันโดยคนขับ อัลเบร์โต ลูบัง ผู้ซึ่งกล่าวว่าเมนโดซาได้ประกาศเจตนาที่แท้จริงของเขาที่สวนรีซัล[12]
เมนโดซามีอาวุธปืนขนาดเล็กและไรเฟิลเอ็ม 16[13] แสดงความต้องการขอกลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมพร้อมกับคืนสิทธิประโยชน์ให้แก่เขา พร้อมทั้งกล่าวว่าเขาถูกใส่ร้าย นายกเทศมนตรีกรุงมะนิลา อัลเฟรโด ลิม กล่าวว่าเขาสามารถทำตามความปรารถนาของเมนโดซาที่จะกลับเข้าทำงานได้หากเขาสามารถพิสูจน์ตนเอง[14]
การเจรจา
แก้อีกเกือบหนึ่งชั่วโมงต่อมา นักท่องเที่ยวฮ่องกงหกคนได้รับการปล่อยตัว:[15] หญิงชราซึ่งบ่นถึงความเจ็บปวดที่ท้องเป็นรายแรกที่ได้รับการปล่อยตัวจากรถบัส สามีของเธอและผู้ป่วยโรคเบาหวานคนหนึ่งในรับการปล่อยตัว จากนั้น หญิงวัยกลางคนและลูกอีกสองคนได้รับการป่อยตัว และเมื่อเธอออกมา เธอได้ขอให้เด็กคนที่สาม (เป็นเด็กชายวัย 12 ปี) ได้รับการปล่อยตัวเช่นกัน โดยอ้างว่าเด็กชายคนดังกล่าวเป็นลูกของเธอ ช่างภาพชาวฟิลิปปินส์สองคนขึ้นมาบนรถบัสและอาสาที่จะถูกจับเป็นตัวประกันแทนการปล่อยตัวก่อนหน้า ผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวได้ถูกนำไปยังพื้นที่ตำรวจในสวนรีซัล[16]
จนถึงเวลาเที่ยง ตัวประกันอีกสี่คน (รวมไปถึงไกด์ทัวร์และช่างภาพอีกสองคน) ได้รับการปล่อยตัว ทำให้มีตัวประกันถูกปล่อยตัวไปแล้ว 10 คน นักข่าวทีวี 5 เออร์วิน ทัลโฟ ยังคงติดต่อกับเมนโดซาอย่างต่อเนื่อง โดยมีออร์ลันโด เยบรา ผู้อำนวยการ และโรเมโอ ซัลวาดอร์ หัวหน้าสารวัตร เป็นผู้นำการเจรจา ยังเหลือตัวประกันอีก 17 คนบนรถ[17] ในเวลานี้ สถานีโทรทัศน์หลายแห่ง (ABS-CBN, GMA, TV5 และ NBN) ได้ถ่ายทอดสดในมะนิลา TVB และ Cable TV ยังได้ถ่ายทอดสอดในฮ่องกงหลังเที่ยงเป็นต้นไป และด้วยการยืมใช้การเชื่อมต่อดาวเทียมจากเครือข่าย GMA ทำให้ CNN, Channel News Asia, และรอยเตอร์ สามารถถ่ายทอดข่าวไปได้ทั่วโลก [18]
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินไม่อนุญาตตามความต้องการของเมนโดซาที่จะรับเขากลับเข้ารับราชการตำรวจอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ยืนยันกับเมนโดซาว่าคดีของเขาจะได้รับการพิจารณาใหม่ อิสโก โมเรโน รองนายกเทศมนตรีกรุงมะนิลา ส่งจดหมายจากผู้ตรวจการแผ่นดินมาถึงบริเวณที่เกิดเหตุการณ์จี้ตัวประกันหลังจากดวงอาทิตย์ตกดิน[19] อย่างไรก็ตาม เมนโดซากล่าวถึงการตัดสินใจของผู้ตรวจการแผ่นดินว่าเป็น "ขยะ" และกล่าวว่าข้อความดังกล่าวมิได้ตอบสนองข้อเรียกร้องของเขา[20] นายกเทศมนตรีลิมกล่าวทางวิทยุท้องถิ่นว่าทางการตกลงที่จะรับเมนโดซากลับเข้ารับราชการและยุติวิกฤตดังกล่าว แต่ข้อความไม่สามารถส่งไปได้เนื่องจากการจราจรที่เลวร้าย[21][22]
เมื่อหน่วยสวาทของสถานีตำรวจมะนิลามาถึง เมนโดซาประกาศทางการสัมภาษณ์ทางวิทยุบน DZXL ว่าเขาจะสังหารผู้โดยสารและต้องการให้หน่วยสวาทออกจากพื้นที่[23] เกรโกรีโอ เมนโดซา น้องชายของเขา ตำแหน่งนายตำรวจอาวุโส-2 (SPO2 เทียบเท่าสิบโทในกองทัพบก) เดินออกไปหลังจากเจรจากับพี่ชาย เขากระตุ้นพี่ชายให้ยอมมอบตัวโดยสันติและกล่าวว่า "ไม่มีอะไรเกิดขึ้นที่นี่"[24] เกรกอรืโอถูกจับกุมหลังจากนั้น โดยกล่าวว่าเขามิได้ถูกร้องขอให้มีส่วนในการเจรจา และเขาฝ่าพื้นที่กีดกันในขณะที่มีอาวุธปืน[25][26] ประธานาธิบดีอากีโนกล่าวในภายหลังว่าน้องชายของมือปืนได้มีส่วนทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงโดยการสร้างความเกลียดชังต่อผู้เจรจา[21]
การโจมตี
แก้หลังจากเมนโดซาเห็นน้องชายของตนถูกจับกุมทางทีวีและวิทยุบนรถบัสซึ่งถ่ายทอดสดทางสื่อ พบว่าเขามีอาการกระสับกระส่าย เขาคิดว่าเขาถูกยิงเตือนเมื่อเห็นน้องชายและลูกชายถูกฉุดออกไปโดยตำรวจ[27] เขาเรียกร้องผ่านทางการสัมภาษณ์ทางวิทยุให้ตำรวจปล่อยตัวน้องชายของเขา มิฉะนั้นเขาจะเริ่มการสังหารตัวประกัน เมนโดซาได้กล่าวอ้างในภายหลังสดทางวิทยุไม่นานก่อนที่ตำรวจจะจู่โจมและเขาได้ยิงตัวประกันไปสองคน[6][28]
กระสุนปืนนัดแรกยิงมาจากในรถบัสเมื่อเวลา 19.21 น. ในเวลาใกล้เคียงกัน มีรายงานว่าพลแม่นปืนได้ยิงยางรถบัสทำให้รถไม่สามารถเคลื่อนที่ต่อไปได้หลังจากพบว่ารถกำลังจะเคลื่อนที่ คนขับรถบัสสามารถหลบหนีออกมาได้เมื่อราว 19.30 น. และเล่าแก่ตำรวจว่าตัวประกันทั้งหมดบนรถถูกฆ่าแล้ว เขาได้ยอมรับในภายหลังว่าการสันนิษฐานของเขามาจากการได้เห็นเมนโดซายิงตัวประกันสามคนและยิงกระสุนออกไปไม่ทราบจำนวนบนรถบัส[12][25][29]
ทีมสวาทได้เริ่มล้อมรถบัสเมื่อเวลา 19.37 น.[29] ตำรวจได้พังกระจกรถบัสด้วยค้อนขนาดใหญ่และพยายามที่จะเข้าสู่ตัวรถ แต่ก็ไม่สามารถทำได้เนื่องจากถูกยิงขัดขวาง ความพยายามที่จะขึ้นรถใช้เวลาไปกว่าหนึ่งชั่วโมง หลังจากนั้น ระเบิดแก๊สน้ำตาสี่ลูกได้ถูกโยนเข้ามาในรถเมื่อตำรวจพยายามที่จะเปิดประตูรถ ไม่มีตำรวจนายได้ทราบถึงที่เปิดประตูฉุกเฉิน ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและความพยายามของพวกเขา ความพยายามที่จะพังประตูเขามาโดยผูกเชือกเข้ากับยานพาหนะของตำรวจทำให้เชือกกระชาก และกลายเป็นการดันประตูไปแทน[30] นักแม่นปืนตำรวจ ผู้ซึ่งเข้าตำแหน่งก่อนหน้านี้ ได้ยิงเมนโดซาเข้าที่หัวระหว่างการโจมตี ในเวลานั้น ตามที่โฆษกประธานาธิบดี เอ็ดวิน ลาเซียร์ดา มีตัวประกันอีกสี่คนที่ได้รับยืนยันว่าเสียชีวิต ตัวประกันอีกหกคนได้รับยืนยันว่ารอดชีวิตและไม่ได้รับบาดเจ็บสาหัส[31] มีรายงานว่ามีสองคนนอกรถ ได้แก่วิศวกรของ TVB วัย 47 ปีและเด็กผู้มุงดูเหตุการณ์ ได้รับลูกหลงบาดเจ็บจากกระสุนที่ยิงออกมา[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Manila hostage incident victim name list". Hong Kong's Information Services Department Press Release. August 24, 2010. สืบค้นเมื่อ August 24, 2010. - For the names in Chinese, see the versions in Traditional Chinese and Simplified Chinese
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Conde, Carlos (August 23, 2010). "Gunman and 8 Hostages Dead in the Philippines". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 24, 2010.
- ↑ 3.0 3.1 Carcamo, Dennis (2010-08-23). "Report: Disgruntled cop takes tourists hostage in Manila". The Philippine Star. Manila, Philippines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
A dismissed police official has taken hostage 25 passengers of a tourist bus, including some children, in Manila this morning, a radio report said.
- ↑ "Hong Kong bans Philippines travel after hijack deaths". BBC News. 2010-08-24. สืบค้นเมื่อ 24 August 2010.
- ↑ "PNP statement on the hostage-taking incident at Quirino Grandstand, August 23, 2010, as of 1:14 PM". Philippine National Police. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
- ↑ 6.0 6.1 Jeannette Andrade; Marlon Ramos; DJ Yap; Tetch Torres (2010-08-23). "Driver escapes, claims Chinese hostages killed". Philippine Daily Inquirer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 Robles, Alan (24 August 2010). "Disgrace of a model policeman thrown out of force for corruption", South China Morning Post
- ↑ Papa, Alcuin (2010-08-23). "Who is this hostage-taking cop?". Philippine Daily Inquirer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
- ↑ 9.0 9.1 Natalie Wong (2010-08-24). "Tour leader calmly sent SOS to office". The Standard. Hong Kong. สืบค้นเมื่อ 2010-08-24.
- ↑ "英勇与怯懦 就这一瞬间 (Translation: Bravery and Cowardice in a Blink of an Eye)". Jinling Evening News (via Wangyi News) (ภาษาจีน). 27 August 2010. สืบค้นเมื่อ 27 August 2010.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "甩身李太曾想再登旅巴 (Translation: Released Mrs. Lee Wanted to Re-Board the Tour Bus)". Apple Daily (ภาษาจีน). 27 August 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-29. สืบค้นเมื่อ 27 August 2010.
- ↑ 12.0 12.1 "Bus driver: Hostage-taker got mad after brod's arrest". ABS-CBN News. 2010-08-24. สืบค้นเมื่อ 2010-08-24.
- ↑ Chong, Dennis (August 26, 2010). "Police may go it alone in deaths probe", The Standard (Hong Kong)
- ↑ Carcamo, Dennis (2010-08-23). "Lim calls for review of Manila hostage-taker's case". Manila, Philippines: The Philippine Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
Manila mayor Alfredo Lim has called for a review of the case involving a disgruntled former police officer who hijacked a tourist bus with 25 people on board today at the Luneta Grandstand.
- ↑ Carcamo, Dennis (2010-08-23). "6 freed in Manila hostage drama". The Philippine Star. Manila, Philippines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
Six hostages, including three children have been released to police by a dismissed police officer who took hijacked a bus carrying 25 tourists n Manila, a radio report said.
- ↑ "Ex-cop holds tourist bus passengers hostage in Manila". GMANews.tv. 2010-08-23. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
- ↑ Jeannette Andrade; Cathy Miranda (2010-08-23). "9th hostage freed, 17 others left onboard bus". Philippine Daily Inquirer, INQUIRER.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
- ↑ "菲人質事件陷僵局 槍手貼出字條「3p.m. dead lock」". Radio Taiwan International. 2010-08-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-24. แม่แบบ:Zh-tw icon
- ↑ Cathy C. Yamsuan; Tetch Torres (2010-08-23). "Policeman's demand for reinstatement nixed". Philippine Daily Inquirer. INQUIRER.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
- ↑ http://www.abs-cbnnews.com/-depth/08/24/10/bus-driver-hostage-taker-got-mad-after-brods-arrest
- ↑ 21.0 21.1 Chong, Dennis &agencies (August 25, 2010). "Letter reinstating Mendoza stuck in traffic", The Standard
- ↑ "Police were ready to reinstate hostage-taker at the last minute" เก็บถาวร 2010-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Manila Standard Today
- ↑ "Police hostage-taker threatens to kill hostages". Agence France Presse. INQUIRER.net. 2010-08-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
- ↑ Andrade, Jeannette (2010-08-23). "Hostage-taking cop's brother walks out of negotiations". Philippine Daily Inquirer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
- ↑ 25.0 25.1 "Shots fired in Manila hostage crisis — report". GMANews.tv. 2010-08-23. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
- ↑ "President Aquino: SPO2 Gregorio Mendoza in custody". ANC News. 2010-08-23. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
- ↑ "Dismissed cop kills most of Chinese hostages—tourist bus driver". INQUIRER.net. 2010-08-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-27. สืบค้นเมื่อ 2010-08-28.
- ↑ "Gunman tells live radio he shot two Hong Kong hostages". Agence France Presse. INQUIRER.net. 2010-08-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
- ↑ 29.0 29.1 Abella, Jerrie, Pia Faustino, et al. (2010-08-24). Massacre in nation's heart: Timeline of Manila bus siege. GMA News. Retrieved 2010-08-26.
- ↑ Edep, Jesse (2010-08-23). "Assault starts vs Manila hostage-taker — report". GMANews.tv. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
- ↑ Abella, Jerrie (2010-08-23). "Hostage crisis ends in bloody carnage; 4 hostages dead". GMANews.tv. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.