วันต่อต้านการทุจริตสากล

วันต่อต้านการทุจริตสากล (อังกฤษ: International Anti-Corruption Day) ตรงกับวันที่ 9 ธันวาคม ของทุกปี กำหนดขึ้นตั้งแต่อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (United Nations Convention against Corruption) ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546 เป็นต้นมา[1]

วันต่อต้านการทุจริตสากล
ชื่ออื่นไอเอซีดี
จัดขึ้นโดย สหประชาชาติ
ประเภทรณรงค์
ความสำคัญเพื่อต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ
วันที่9 ธันวาคม
ความถี่ทุกปี
ครั้งแรกค.ศ. 2003
วันต่อต้านการทุจริตสากล
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต

ภูมิหลัง

แก้

ความตอนหนึ่งของอนุสัญญาข้างต้นว่า สหประชาชาติ

"เป็นกังวลเกี่ยวกับความร้ายแรงของปัญหาและภัยคุมคามเสถียรภาพและความมั่นคงของสังคมอันเป็นผลมาจากการทุจริต ซึ่งบ่อนทำลายสถาบันและคุณค่าแห่งประชาธิปไตย คุณค่าทางจริยธรรม และความยุติธรรม ตลอดจนเป็นภัยต่อการพัฒนาการอันยั่งยืนและหลักนิติธรรม"

จึงให้อนุสัญญามีอำนาจ

"ส่งเสริมและสร้างเสริมมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น...ส่งเสริม อำนวยความสะดวก และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศและความช่วยเหลือทางวิชาการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต...[ตลอดจน] ส่งเสริมให้การบริหารราชการและทรัพย์สินแผ่นดินเป็นไปอย่างซื่อสัตย์สุจริต มีผู้รับผิดชอบ และสมควร..."

การรณรงค์ "คอร์รัป 'ฉัน' ไม่ขอรับ"

แก้

การรณรงค์ "คอร์รัป 'ฉัน' ไม่ขอรับ" (Your NO Counts) เป็นขบวนการระหว่างประเทศซึ่งโครงการพัฒนาสหประชาชาติ (United Nations Development Programme) และสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime) ร่วมกันจัดขึ้นในวันต่อต้านการทุจริตสากลเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงการทุจริตและวิธีต่อต้านการทุจริต

ในปี 2553 การรณรงค์นี้มีเป้าหมายแสดงให้เห็นว่า การทุจริตเป็นที่กีดขวางความร่วมมือในอันที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษเช่นไร บ่อนทำลายประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมเช่นไร กับทั้งชักนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน บิดเบือนการตลาด พาความวินาศมาสู่คุณภาพชีวิต รวมถึงส่งผลให้เกิดความผิดอาญาซึ่งกระทำกันเป็นองค์การ การก่อการร้าย และภยันตรายอื่นต่อความมั่นคงของมนุษย์เช่นไร

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้