วันดาราคติ (sidereal day) เป็นการแบ่งช่วงระยะเวลาแบบหนึ่งตามการเคลื่อนที่ในรอบวันเทียบกับตำแหน่งดาวฤกษ์ที่ปรากฏ

วันดาราคติ
เป็นหน่วยของเวลา
การแปลงหน่วย
1 วันดาราคติ ใน ...... มีค่าเท่ากับ ...
   เอสไอ   86164.091 วินาที
   ชั่วโมง   23.9344696
   วัน   0.997269566
สำหรับผู้สังเกตบนโลก สมมติว่า ณ เวลา นั้นดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลโพ้นอยู่ ณ จุดเหนือศีรษะในเวลาเดียวกัน ที่เวลา โลกหมุนรอบตัวเอง 360 องศา และดาวฤกษ์ดวงเดิมอยู่ที่จุดเหนือศีรษะอีกครั้ง ( = วันดาราคติ) อย่างไรก็ตาม ดวงอาทิตย์ก็ขึ้นสู่เหนือศีรษะในเวลา ซึ่งช้ากว่า เล็กน้อย ( = วันสุริยคติ)

วันดาราคติปรากฏ แก้

วันดาราคติปรากฏ (apparent sidereal day) คือเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองไปครบรอบ 360 องศา หรือพูดให้เจาะจงกว่านั้นคือ ช่วงเวลาระหว่างที่ดาวฤกษ์ที่ใช้อ้างอิงเคลื่อนผ่านเส้นเมริเดียน 2 ครั้ง วันดาราคติปรากฏนั้นสั้นกว่าวันสุริยคติประมาณ 3 นาที 56 วินาที (86,400 วินาที) ซึ่งหมายความว่าโลกหมุนไปในทิศทางเดียวกับที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ แม้ว่าโลกจะหมุนรอบ 360 องศาเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ แต่ในระหว่างนั้นโลกก็หมุนรอบดวงอาทิตย์ไปด้วย เมื่อมองเทียบกับดวงอาทิตย์แล้วจะต้องใช้เวลามากขึ้นอีกประมาณ 4 นาทีจึงจะเหมือนว่าหมุนครบรอบ

คาบการโคจรของโลกอยู่ที่ประมาณ 365.2422 วัน ดังนั้นความแตกต่างระหว่างวันดาราคติปรากฏกับวันสุริยคติคือ (360 องศา/ประมาณ 365.2422 วัน) x (86400 วินาที/360 องศา) = ประมาณ 236 วินาที = ประมาณ 3 นาที 56 วินาที

เหตุผลที่การนับวันดาราคติ 1 ปีมากกว่าการนับวันโดยปกติไป 1 วัน ก็คือเพราะโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปทีละน้อยทุก ๆ วัน ดังนั้นสำหรับผูสังเกตการณ์ที่อยู่บนโลกเมื่อผ่านไป 365 + 1/ 4 วัน โลกก็จะหมุนรอบตัวเองไป 366 + 1/4 รอบ (โลกโคจรไปในทิศทางเดียวกับการหมุนรอบตัวเอง ทั้งคู่จะทวนเข็มนาฬิกาเมื่อมองจากทิศเหนือ)

วันดาราคติเฉลี่ย แก้

เวลาเที่ยงคืน 0 นาฬิกาของเวลาดาราคติคือเวลาที่จุดวสันตวิษุวัตเคลื่อนผ่านเหนือเส้นเมริเดียน

วันดาราคติเฉลี่ย (mean sidereal day) คือวันดาราคติที่คำนวณจากการข้ามเส้นเมริเดียนของจุดวสันตวิษุวัตเฉลี่ย ไม่ใช่การข้ามเส้นเมริเดียนจริง