วัดโพธิ์ธาตุ ตั้งอยู่ที่ บ้านชุมแพ หมุ่ที่ 10 ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 6 ไร่ 68 ตารางวา น.ส. 3 ก. เลขที่ 560 อาณาเขตทิศเหนือประมาณ 3 เส้น 1 วา 3 ศอก จดถนนดอนกู่ ทิศใต้ประมาณ 3 เส้น จดถนนเพียแก้ว ทิศตะวันออกประมาณ 1 เส้น 17 วา 2 ศอก จดถนนราษฎร์บำรุง ทิศตะวันตกประมาณ 2 เส้น 3 วา จดถนนโพธิ์ธาตุ ก่อตั้งวัดเมื่อ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ 2221 อ้างอิงจาก หลักฐานทางราชการ ทะเบียนวัดภาค 9 กรมการศาสนา ทะเบียนวัดของอำเภอชุมแพ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 3 แปลง เนื้อที่ 25 ไร่ 2 งาน 74 ตารางวา น.ส. 3 เลขที่ 560 โฉนดที่ดิน เลขที่ 967 และ ส.ค. 1 เลขที่ 154

วัดโพธิ์ธาตุ
วัดโพธิ์ธาตุ
แผนที่
ชื่อสามัญวัดโพธิ์ธาตุ
ที่ตั้งบ้านชุมแพ ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 40130
นิกายมหานิกาย เถรวาท
เจ้าอาวาสพระครูจารุวรรณสาร จารุวณฺโณ
จุดสนใจสักการะเจดีย์โพธิ์ธาตุและเจดีย์ญาคูหงส์
กิจกรรมวัดในพระพุทธศาสนาที่มีกิจกรรมเชิงพุทธตลอดปี
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
พระครูจารุวรรณสาร จารุวณฺโณ

อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 8.20 เมตร ยาว 23.10 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ 2519 ศาลากาญจนาภิเษก เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ 2539 ศาลาการเปรียญ กว้าง 30.00 เมตร ยาว 40.00 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ 2503 หอระฆังขนาดใหญ่ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 หลัง กุฎิพระภิษษุสงฆ์และสามเณร จำนวน 6 หลัง และ ศาลาบำเพ็ญกุศลจำนวน 2 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ปูชนียวัตถุมีพระประธานในพระอุโบสถหล่อด้วยทองคำแท้ ขนาดหน้าตักกว้าง 1.50 เมตร สูง 2 เมตร ปางมารวิชัย ศิลปะแบบสุโขทัย พระพุทธรูปโบราณ พระนาคปรก 2 องค์ พระพุทธรูป นามว่า หลวงพ่อโพธิ์ธาตุ และ มีเจดีย์ 2 องค์ ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้ว 1 องค์ คือ เจดีย์โพธิ์ธาตุ โดยบนเจดีย์มีพระพุทธรูปโบราณประจำวัดประดิษฐาน เดิมเป็นธาตุเจดีย์ที่ก่อด้วยหินทรายที่ได้รับอิทธิพลศิลปะล้านช้างแบบเดียวกันกับเจดีย์วัดธาตุบ้านแห่  มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทขนาดเล็ก ยอดเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุม รูปฐานเป็น 4 เหลี่ยม และมีช่องอยู่บนธาตุทั้งหมด 4 ทิศ ต่อมาได้รับการบูรณะปฏิสังขรป์ในปีพุทธศักราช 2528 สมัยพระครูวิบูลสารนิวิฐ (เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ธาตุรูปที่ 17) โดยใช้ศิลปะท้องถิ่นแบบผสมผสานล้านช้าง-รัตนโกสินทร์ โทนสีขาว-ทอง และได้นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานที่ช่องทั้ง 4 ทิศ ทิศตะวันออกและทิศใต้ ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณปรางนาคปรก ทางทิศเหนือประดิษฐานพระพุทธรูปปรางประทานพรและทางทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธรูปปรางมารวิชัย ละ เจดีย์ที่ยังไม่ได้รับการบูรณะ 1 องค์ คือ เจดีย์ธาตุญาณคูหงส์ ซึ่งปัจจุบันเป็นโบราณสถานที่มีต้นไม้ ได้แก่ ต้นตะโก ต้นมะเกลือ ต้นแจ้ง ขึ้นคลุมเจดีย์ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองชุมแพ โดยวัดโพธิ์ธาตุมีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชุมชนเมืองชุมแพ ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มยุคบุกเบิก โดยเป็นวัดเก่าแก่และวัดประจำอำเภอชุมแพ

บรรยากาศคืนวัน ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3
บรรยากาศวันขึ้นปีใหม่ 2567

ศาสนสถาน แก้

  1. อุโบสถ ความกว้าง 8.20 เมตร ความยาว 23.10 เมตร ความสูง 24 เมตร 10 หน้าต่าง 4 ประตู  สร้างตามแบบแปลนของกรมศิลปากร แบบ ก เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่ สร้างเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ 2519 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา โดย พลเอกประจวบ สุนทรางกูล เป็นผู้รับสนองพระราชโองการขณะนั้นและประกาศของสำนักงานนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ 2526 ในการก่อสร้าง พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมนันท์ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นเป็นประธานในพิธียกช่อฟ้าและร่วมทำบุญโดยการถวายเงินส่วนตัว จำนวน 100,000 บาท(หนึ่งแสนบาทถ้วน) ส.ส.แถม ดีบุญมี ณ ชุมแพ ร่วมทำบุญโดยถวายเงินส่วนตัว 100,000 บาท(หนึ่งแสนบาทถ้วน) ส.ส.สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ร่วมทำบุญโดยถวายเงินส่วนตัวจำนวน60,000 บาท(หกหมื่นบาทด้วน)และเงินบริจาคของชาวชุมแพ ใช้ในการก่อสร้างทั้งสิ้น 7,000,000 บาทเศษ สร้างเสร็จมีการเฉลิมฉลองสมโภช 9 วัน 9 คืน คือ วันที่ 11-19 มีนาคม พ.ศ 2532 ภายในอุโบสถมีพระประธาน หล่อด้วยทองคำแท้ ขนาดหน้าตักกว้าง 1.50 เมตร สูง 2 เมตร ปางมารวิชัย ศิลปะแบบสุโขทัย
  2. ศาลากาญจนาภิเษก ตามแบบของกรมศิลปากร เป็นอาคารเสริมเหล็ก 2 ชั้น สร้างเมื่อที่ 4 มีนาคม พ.ศ 2539 วางศิลาฤกษ์ โดย พระราชวิทยาคม(คูณ ปริสุทฺโธ) งบประมาณในการก่อสร้าง รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 5,762,049.75 บาท(ห้าล้านเจ็ดแสนหกหมื่นสองพันสี่สิบเก้าบาทเจ็ดสิบห้าสตางค์) ซึ่งเป็นเงินที่ได้จากการบริจาคทั้งสิ้น เมื่อสร้างเสร็จเฉลิมฉลองสมโภชเมื่อวันที่ 24-26 มีนาคม พ.ศ 2543 รวม 3 วัน 3 คืน ศาลากาญจนาภิเษกเป็นศาลาการเปรียญหลักที่ใช้ในการทำสังฆกรรมในหลายพิธีการของวัดโพธิ์ธาตุ โดยใช้งานชั้นใต้ถุน(ชั้นที่ 1) เนื่องจากชั้นที่ 2 มีบรรไดขึ้นไปสูงชัน ทำให้พระภิษษุสงฆ์อุบาสกอุบาสิกาผู้สูงอายุขึ้นลงลำบากไม่สะดวกนัก จึงได้ย้ายลงมาทำชั้นล่าง ชั้นบนประดิษฐานพระประธาน ขนาดหน้าตักกว้าง 1.50 เมตร สูง 2 เมตร ปางพระพุทธชินราช
  3. เจดีย์โพธิ์ธาตุ เดิมเป็นธาตุเจดีย์ที่ก่อด้วยหินทรายที่ได้รับอิทธิพลศิลปะล้านช้างแบบเดียวกันกับเจดีย์วัดธาตุบ้านแห่  มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทขนาดเล็ก ยอดเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุม รูปฐานเป็น 4 เหลี่ยม และมีช่องอยู่บนธาตุทั้งหมด 4 ทิศ ต่อมาได้รับการบูรณะปฏิสังขรป์ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ สมัยพระครูวิบูลสารนิวิฐ (เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ธาตุรูปที่ 17) โดยใช้ศิลปะท้องถิ่นแบบผสมผสานล้านช้าง-รัตนโกสินทร์ โทนสีขาว-ทอง และได้นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานที่ช่องทั้ง 4 ทิศ ทิศตะวันออกและทิศใต้ ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณปรางนาคปรก ทางทิศเหนือประดิษฐานพระพุทธรูปปรางประทานพรและทางทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธรูปปรางมารวิชัย
  4. โบราณสถานเจดีย์ญาคูหงส์ สันนิฐานว่าเป็นธาตุเก็บอัฐิของ พระญาคูหงส์ หงฺสเตโช ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอุโบสถ มีลักษณะเป็นซากโบราณสถานขนาดเล็กก่ออิฐ ปัจจุบันมีจอมปลวกและต้นไม้ 3 ต้นห่อหุ้มไว้ คือ ต้นตะโก ต้นมะเกลือ และต้นแจ้ง มองเห็นอิฐถือปูนบางส่วน รอบต้นไม้และธาตุมีการก่อรั้วอิฐมอญล้อมรอบไว้ ภายในรั้วอิฐรอบธาตุมีหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ ได้แก่ เสมาหินทราย 3 ใบ ใบหนึ่งเป็นเสมายอดสามเหลี่ยม มีสันนูนสูงแนวตั้งตรงกลางแผ่น อีกใบหนึ่งเป็นชิ้นส่วนเสมาครึ่งใบ นอกจากนี้ยังมีก้อนหินทรงรีและพระพุทธรูปที่สลักจากหินทราย 2 องค์ รวมทั้งชิ้นส่วนสิ่งก่อสร้างต่างๆที่สร้างขึ้นในสมัยหลัง มีพระพุทธรูป 3 องค์จากอุโบสถ(สิม) หลังเดิมที่ได้รื้อถอนไปแล้ว และ พระพุทธรูปองค์ใหญ่อีก 1 องค์ คือ พระพุทธรูปปรางมารวิชัย ที่ปัจจุบันประดิษฐานไว้ ณ หอพระโรงเรียนบ้านชุมแพ โบราณสถานเจดีย์ญาคูหงส์ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเรื่องการกำหนดจำนวนโบราณวัตถุสถานสำหรับชาติ เล่มที่ 57 หน้า 2527 วันที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2483
  5. ศาลอัฐิพระมงคลธรรมภาณี(ศรีรวย อุตฺตโม ป.ธ.๕)(พระครูวิบูลสารนิวิฐ) อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ธาตุและอดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอสีชมพู สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานอัฐิ หุ่นขี้ผึ้ง พัดยศ สมณะศักดิ์ต่างๆหรือสิ่งของเครื่องใช้ของพระครูวิบูลสารนิวิฐ (อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ธาตุและอดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอสีชมพู)
  6. กุฏิวิบูลรังสรรค์ ใช้เป็นกุฏิสำหรับเจ้าอาวาสวัด ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น พื้นปูด้วยหินอ่อนทั้ง 2 ชั้น หลังคาสามมุก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกศาลากาญจนาภิเษก สร้างเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ 2436 โดยใช้งบประมาณจากเงินบริจาคจำนวน 1,780,000 บาท(หนึ่งล้านเจ็ดแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
  7. ศาลาธรรมสังเวช หลังที่ 1 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ใช้เป็นศาลาบำเพ็ญกุศล หรือ ศาลาพักศพ ตั้งอยู่บริเวณทางทิศใต้ของเมรุและทิศตะวันตกของโบราณสถานเจดีย์ญาคูหงส์ โดยเมื่อปี พ.ศ 2560 ได้ต่อเติมหลังคาสังกะสีเพิ่มยื่นออกมาข้างหน้าจนติดกับโบราณสถานเจดีย์ญาคูหงส์
  8. ศาลาธรรมสังเวช หลังที่ 2 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ใช้เป็นศาลาศาลาบำเพ็ญกุศล หรือ ศาลาพักศพหลังที่ 2 ตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือของโบราณสถานเจดีย์ญาคูหงส์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมรุ บูรณะต่อเติมครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ 2564
  9. ศาลาการเปรียญ ก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ 2539 เสาท่องล่างเป็นคอนกรีตเสาท่อนบนเป็นไม้ หลังคาทรงไทยมุงสังกะสี ความยาว 23.00 เมตร ความกว้าง 6.80 เมตร ชั้นบนมีทั้งหมด 7 ห้อง ตั้งอยู่บริเวณหลังเมรุและศาลาธรรมสังเวช
  10. หอระฆังใหญ่ เป็นหอระฆังแบบคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่ มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นที่ 2-3 ติดตั้งระฆัง ชั้นที่ 1 มีกลองเพลน ฆ้อง และ โป่ง โดยหอระฆังตั้งอยู่บริเวณข้างกับศาลาเก็บของและกุฏิพระภิษษุสงฆ์
  11. กุฏิพระภิษษุสงฆ์และสามเณร จำนวน 6 หลัง
  12. ศาลานั่งพักทั่วไป จำนวน 7 หลัง
  13. ศาลาพักรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จำนวน 2 หลัง
  14. เมรุ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อปี พ.ศ 2527 ใช้งบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 100,000 บาทถ้วน(หนึ่งแสนบาทถ้วน) ตั้งอยู่ทิศเหนือวัดโพธิ์ธาตุติดกับศาลาธรรมสังเวช หลังที่ 1 และ หลังที่ 2
  15. ห้องครัวใหญ่ จำนวน 2 หลัง
  16. ห้องน้ำสำหรับปุถุชนอุบาสกอุบาสิกา จำนวน 3 แห่ง
  17. ลานกว้างอเนกประสงค์ จำนวน 1 แห่ง
  18. ประตูโขลงทั้งหมด 4 ทิศ ได้แก่ ประตูโขลงใหญ่ทางทิศตะวันออก มีรูปปั้นยักษ์ทศกัณฐ์และยักษ์อินทราชิตเฝ้าทั้ง 2 ฝั่งของประตู ประตูโขลงทางทิศเหนือ สร้างเมื่อปี พ.ศ 2536 ประตูโขลงทางทิศตะวันตก สร้างเมื่อปี พ.ศ 2534 ประตูโขงทางทิศใต้ สร้างเมื่อปี พ.ศ 2512 (แต่ปัจจุบันได้ทำกันแพงปิดกั้นไว้แล้ว) และ ประตูเล็ก 1 แห่ง ได้แก่ ทางทิศใต้ บริเวณด้านหลังศาลากาญจนาภิเษก จึงสรุปได้ว่ามีประตูที่สามารถเข้าออกได้ในปัจจุบันทั้งหมด 4 ประตู

ลำดับเจ้าอาวาส แก้

ลำดับเจ้าอาวาสวัดวัดโพธิ์ธาตุ ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
ลำดับที่ รายนาม/สมณศักดิ์ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 ท่านญาครูหงส์ หงฺสเตโช พ.ศ. 2221 พ.ศ. 2248
2 พระอาจารย์ชาลี อมโร พ.ศ. 2248 พ.ศ. 2261
3 พระอาจารย์วันทา วนฺทจิตฺโต พ.ศ. 2261 พ.ศ. 2278
4 พระอาจารย์คล้อย (ฮ้อย) วินยธโร พ.ศ. 2278 พ.ศ. 2296
5 พระอาจารย์พุทธา พุทฺธเสฏฺโฐ พ.ศ. 2296 พ.ศ. 2313
6 พระอาจารย์จันดี จนฺทโสภโณ พ.ศ. 2313 พ.ศ. 2332
7 พระประแดงจันดี จนฺทปุญฺโญ พ.ศ. 2332 พ.ศ. 2352
8 พระอาจารย์คำมี อภิปุญฺโญ (ล่ามสมบัติ) พ.ศ. 2352 พ.ศ. 2369
9 พระอาจารย์หนู สุทฺธสีโล (เวียงเหล็ก) พ.ศ. 2369 พ.ศ. 2382
10 พระอาจารย์คำดี สุวณฺโณ (ทองล้น) พ.ศ. 2382 พ.ศ. 2399
11 พระประแดงมูล กตปุญฺโญ (โม้แก้ว) พ.ศ. 2399 พ.ศ. 2416
12 พระอาจารย์สิงห์ จนฺทสาโร (จันทร์หนองขาม) พ.ศ. 2416 พ.ศ. 2435
13 พระประแดงเส็ง พิมฺพวโร (มีพิมพ์) พ.ศ. 2435 พ.ศ. 2451
14 พระอาจารย์จันดา จนฺทูปโม พ.ศ. 2451 พ.ศ. 2469 อุปัชฌาย์
15 พระวิสารทสุธี (พระมหาบด เกสโว) พ.ศ. 2469 พ.ศ. 2485 เจ้าคณะอำเภอชุมแพ , อุปัชฌาย์
16 พระปลัดหนูกานต์ กนฺตสีโล พ.ศ. 2485 พ.ศ. 2502
17 พระมงคลธรรมภาณี (พระครูวิบูลสารนิวิฐ) พ.ศ. 2502 พ.ศ. 2554 ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอสีชมพู , อุปัชฌาย์
18 พระครูสุโมธานเขตคณารักษ์ ดร. พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2557 เจ้าคณะอำเภอชุมแพ , รักษาการเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ธาตุ , อุปัชฌาย์
19 พระครูจารุวรรณสาร ( เกรียง จารุวณฺโณ ) พ.ศ. 2557 ปัจจุบัน

บุญประเพณี แก้

โดยวัดโพธิ์ธาตุไม่ได้ยึดถือเอาบุญหรือประเพณีอย่างใดอย่างหนึ่งประเพณีใดประเพณีหนึ่งเป็นจุดเด่น แต่จะยึดถือตามฮีต 12 คลอง 14 ประเพณีวัฒนธรรมอิสานที่ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ดังนี้

  • บุญเดือนอ้าย
  • บุญเดือนยี่
  • บุญข้าวจี่
  • บุญผะเหวดเทศน์มหาชาติ
  • บุญสงกรานต์
  • บุญเดือนหก (เดิมเป็นบุญบั้งไฟและบุญบวชนาค แต่ในปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว)
  • บุญเบิกบ้าน (บุญซำฮะ)
  • บุญเข้าพรรษา
  • บุญข้าวประดับดิน
  • บุญข้าวสาก
  • บุญออกพรรษา
  • บุญกฐิน
 
พิธีอาราธนาอัญเชิญพระอุปคุต
 
พิธีอัญเชิญพระเวสสันดรเข้าเมือง

ศาสนสถานที่สำคัญ แก้

 
อุโบสถวัดโพธิ์ธาตุ สร้างเมื่อ วันที่ 5 กันยายน 2519
 
ศาลากาญจนาภิเษก สร้างเมื่อ วันที่ 4 มีนาคม 2539
 
โบราณสถานเจดีย์ญาคูหงส์
 
กุฏิวิบูลรังสรรค์ สร้างเมื่อ วันที่ 30 กันยายน 2436
 
เจดีย์โพธิ์ธาตุ (ตอนกลางวัน) บูรณะเมื่อ ปีพุทธศักราช 2528
 
เจดีย์โพธิ์ธาตุ (ตอนกลางคืน) บูรณะเมื่อ ปีพุทธศักราช 2528
 
ศาลอัฐิพระมงคลธรรมภาณี
 
หอระฆังใหญ่ 3 ชั้น
 
ประตูโขลงใหญ่ ฝั่งทิศตะวันออก

อ้างอิง แก้

1. กองพุทธสถาน,กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร หน้าที่ เล่ม 12 ,กรุงเทพฯ : กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา, 2526.

2. ประกาศกรมศิลปากร เรื่องกำหนดจำนวนโบราณวัตถุสถานสำหรับชาติ เล่มที่ 57 หน้า 2527 วันที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2483

3. วัดในอำเภอชุมแพ