วัดหินหมากเป้ง
วัดหินหมากเป้ง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ในตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย พื้นที่ด้านหลังติดกับแม่น้ำโขงปัจจุบันเป็นหนึ่งในวัดสำคัญของพระสายวิปัสสนากรรมฐาน ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมากในสมัยพระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรํสี)
วัดหินหมากเป้ง | |
---|---|
![]() | |
![]() | |
ที่ตั้ง | ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
![]() |
วัดหินหมากเป้งก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2482 โดยพระอาจารย์หล้า ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2513 คำว่า "หินหมากเป้ง" เป็นชื่อหิน 3 ก้อน ที่ตั้งเรียงรายกันอยู่ริมฝั่งโขงด้านทิศเหนือของวัด ซึ่งมีลักษณะคล้ายลูกตุ้มเครื่องชั่งทองคำสมัยโบราณ คนพื้นถิ่นเรียก "เต็ง" หรือ "เป้งยอย" อนึ่งหมากเป้งเป็นผลของต้นไม้ตระกูลปาล์มหรือหมากชนิดหนึ่ง[1] มีเรื่องเล่าว่า หินก้อนที่ 1 เป็นของหลวงพระบาง หินก้อนที่ 2 เป็นของบางกอก ส่วนหินก้อนที่ 3 เป็นของเวียงจันทน์
สิ่งก่อสร้างภายในวัดมีมณฑปอนุสรณ์พระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรํสี) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2524 เจดีย์พิพิธภัณฑ์พระราชนิโรธรังสี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 ก่อสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2540 เมรุพระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรํสี) พิพิธภัณฑ์ และศาลาหุ่นขี้ผึ้งพระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรํสี) ภายในสถานที่ที่ระลึกถึงพระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรํสี) มีการจัดแสดงวัตถุและเรื่องราวเกี่ยวกับหลวงปู่เทสก์ เช่น อัฐิ รูปปั้น เครื่องอัฐบริขาร ของใช้ และชีวประวัติของหลวงปู่เทสก์ โดยทุกวันที่ 17-19 ธันวาคมของทุกปี ทางวัดจะจัดงานครบรอบวันมรณภาพของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี[2] นอกจากนั้นทางวัดยังได้สร้างสกายวอล์ก ยกขึ้นเหนือแม่น้ำโขง มีทางเดินพื้นกระจก มองเห็นแม่น้ำโขง[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ "วัดหินหมากเป้ง". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.).
- ↑ ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล. "วัดหินหมากเป้ง : หลักหิน เสมาหิน และพิพิธภัณฑ์หลวงปู่เทสก์". ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย.
- ↑ "สกายวอล์ค "วัดหินหมากเป้ง" แลนด์มาร์คแห่งใหม่ จ.หนองคาย ความงามเหนือแม่น้ำโขง สถานที่แห่งธรรม หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี". สยามรัฐออนไลน์.