วัดหัวคู้

วัดในจังหวัดสมุทรปราการ

วัดหัวคู้ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1 บ้านวัดหัวคู้ ตำบลศีรษะจรเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 23 ไร่ 1 งาน 56 ตารางวา พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ตรงสามแยกคลองหนองงูเห่ากับคลองจรเข้น้อย

วัดหัวคู้
แผนที่
ชื่อสามัญวัดหัวคู้, วัดคู้, วัดศีรษะคู้, วัดคู้วราราม, วัดหัวคู้วราราม
ที่ตั้งเลขที่ 36 หมู่ที่ 1 ซอยจรเข้น้อย ซอย 3 ทางหลวงชนบท สป.2001 ตำบลศีรษะจรเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 10570
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ประวัติ แก้

เชื่อกันว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ยกพลมาตั้งกองทัพที่วัดหัวคุ้งหรือวัดหัวคู้ในปัจจุบัน ปัจจุบันมีการสร้างตำหนักไว้กราบไหว้บูชา

วัดหัวคู้สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2409 ชาวบ้านเรียกว่า วัดคู้ หรือ วัดศีรษะคู้ ได้รับการบูรณะตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา ในยุคของเจ้าอาวาสนามว่า พระครูไพศาลพัฒนโสภณ และวัดได้ใช้นามใหม่เป็น วัดคู้วราราม เมื่อ พ.ศ. 2522 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2442 ได้รับครั้งหลังเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2485[1]

ในด้านการศึกษา ได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2476 ได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์สร้างเมื่อ พ.ศ. 2525 สร้างห้องสมุดโรงเรียนวัดหัวคู้ สถานีอนามัยวัดหัวคู้ ศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2534 ศูนย์พุทธมามกะตั้งเมื่อ พ.ศ. 2541

อาคารเสนาสนะ แก้

อุโบสถหลังเก่ากว้าง 8 เมตร ยาว 30 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2485 วิหารของหลวงพ่อเขียว ภายในประดิษฐานหลวงพ่อเขียวสุขพุทโธภควา หน้าตักกว้าง 9.19 เมตร สูง 13 เมตร ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. 2520 อุโบสถหลังใหม่กว้าง 10 เมตร ยาว 28 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2536 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2539 เจดีย์สร้างเมื่อ พ.ศ. 2536[2] อาคารเสนาสนะอื่น ๆ ได้แก่ ศาลาฟังธรรม ฌาปนสถาน ศาลาบำเพ็ญกุศลศพ 3 หลัง[3]

ประเพณี แก้

วัดหัวคู้มีการจัดงานประเพณี ได้แก่ ประเพณีห่มผ้าหลวงพ่อเขียวซึ่งจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงวันมาฆบูชา[4]

อ้างอิง แก้

  1. "วัดหัวคู้". หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ.
  2. "วัดหัวคู้". องค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะจรเข้น้อย.
  3. "วัดหัวคู้". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
  4. "วัดหัวคู้วราราม". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.