วัดหนองโนใต้

วัดในจังหวัดสระบุรี

วัดหนองโนใต้ ตั้งอยู่เลขที่ 80 บ้านหนองโนใต้ หมู่ที่ 6 ตำบลหนองโน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ พื้นที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 25 ไร่ โฉนดเลขที่ 41523, 8576, 321, 6742, 6743.[1]

วัดหนองโนใต้
แผนที่
ชื่อสามัญวัดหนองโนใต้ (Wat Nong No Tai)
ที่ตั้งตั้งอยู่เลขที่ 80 บ.หนองโนใต้ ม.6 ต.หนองโน อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย (เถรวาท)
พระประธานพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างจากหินทราย ขนาดหน้าตักกว้าง 40 นิ้ว สูง 80 นิ้ว
เจ้าอาวาสพระครูมงคลธรรมสุนทร
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

อาณาเขต แก้

  • ทิศเหนือ ติดกับบึงหนองโน
  • ทิศใต้ ติดกับถนนสาธารณะ เข้าอำเภอหนองแซง
  • ทิศตะวันออก ติดกับบ้านเรือนของประชาชน
  • ทิศตะวันตก ติดกับทุ่งนาและบ้านเรือนของประชาชน

ประวัติ แก้

  • วัดหนองโนใต้ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2343 เดิมชื่อวัดบ้านภู่ตั้งอยู่ที่บ้านภู่ ต.หนองยาว อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านหนองโนใต้ไปประมาณ 6-7 กิโลเมตร ต่อมาได้ย้ายเสนาสนมาสร้างใหม่อยู่ ณ ที่หมู่บ้านหนองโนใต้ และเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “วัดประชาบาล” ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็น “วัดหนองโนใต้” ในสมัยนั้นมี พระอาจารย์อินทร์ เป็นเจ้าอาวาส

ปัจจุบันวัดหนองโนใต้ตั้งอยู่เลขที่ 80 บ้านหนองโนใต้ หมู่ที่ 6 ตำบลหนองโน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2500 มีเขตวิสุงคามสีมากว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร.[2]

อาคารเสนาสนะ แก้

  • 1. อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2500 กว้าง 6 เมตร ยาว 16. เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2500 มี เขตวิสุงคามสีมากว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร
  • 2. ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2530 กว้าง 16 เมตร ยาว 20 เมตร เป็นอาคาคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย ประยุกต์ 2 ชั้น
  • 3. หอสวดมนต์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2549 ขนาด กว้าง 6 เมตร ยาว 20 เมตร เป็นอาคารไม้
  • 4. กุฏิสงฆ์ จำนวน 1 หลัง สร้าง พ.ศ. 2549
  • 5. กุฏิเจ้าอาวาส จำนวน 1 หลัง สร้าง พ.ศ. 2548 ลักษณะเป็นทรงไทยสร้างจากไม้ยกพื้นสูง
  • 6. ศาลาธรรมสังเวช 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2529
  • 7. ฌาปนสถาน (เมรุ) 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2522 กว้าง 6 เมตร ยาว 15 เมตร
  • 8. หอระฆัง 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 กว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร
  • 9. ซุ้มประตูวัด สร้างเมื่อวันที่ 1เมษายน พ.ศ. 2545
  • นอกจากนี้ยังมี ศาลาอเนกประสงค์ โรงเก็บพัสดุ 1 หลัง โรงครัว 1 หลัง หลังห้องน้ำ 30 ห้อง.[3]

ศาสนวัตถุ แก้

  • 1.พระประธานประจำอุโบสถปางมารวิชัย สร้างจากหินทรายขนาดหน้าตักกว้าง 40 นิ้ว สูง 80 นิ้ว สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2500
  • 2. พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 60 นิ้ว สูง 180 นิ้วสร้างเมื่อ พ.ศ. 2533

การบริหารและการปกครอง แก้

ลำดับเจ้าอาวาส แก้

  • รูปที่ 1 พระอาจารย์อินทร์
  • รูปที่ 2 พระอาจารย์ทอง
  • รูปที่ 3 พระอาจารย์คำ
  • รูปที่ 4 พระอาจารย์ต๋า
  • รูปที่ 5 พระอาจารย์มาก
  • รูปที่ 6 พระอาจารย์สุข
  • รูปที่ 7 พระอาจารย์ทุย
  • รูปที่ 8 พระอาจารย์ต๊ะ
  • รูปที่ 9 พระอาจารย์เริญ
  • รูปที่ 10 พระอาจารย์มี
  • รูปที่ 11 พระอาจารย์เรือง
  • รูปที่ 12 พระอาจารย์ประดิษฐ์
  • รูปที่ 13 พระอาจารย์สมสมศรี
  • รูปที่ 14 พระอาจารย์สุข
  • รูปที่ 15 พระอาจารย์ใบ
  • รูปที่ 16 พระอาจารย์จันทร์
  • รูปที่ 17 พระอาจารย์มัด'
  • รูปที่ 18 พระอาจารย์ณรงค์
  • รูปที่ 19 พระอาจารย์พรหมมี
  • รูปที่ 20 พระอาจารย์สนัด
  • รูปที่ 21 พระอาจารย์ภักดี
  • รูปที่ 22 พระอาจารย์สายบัว
  • รูปที่ 23 พระครูมงคลธรรมสุนทร พ.ศ. 2524 – ปัจจุบัน.[4]

ลำดับเจ้าอาวาส แก้

ลำดับเจ้าอาวาสวัดหนองโนใต้ ต.หนองโน อ.เมือง จ.สระบุรี
ลำดับที่ รายนาม/สมณศักดิ์ ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 พระอาจารย์อินทร์ เจ้าอาวาส - -
2 พระอาจารย์ทอง เจ้าอาวาส - -
3 พระอาจารย์คำ เจ้าอาวาส - -
4 พระอาจารย์ต๋า เจ้าอาวาส - -
5 พระอาจารย์มาก เจ้าอาวาส - -
6 พระอาจารย์สุข เจ้าอาวาส - -
7 พระอาจารย์ทุย เจ้าอาวาส - -
8 พระอาจารย์ต๊ะ เจ้าอาวาส - -
9 พระอาจารย์เริญ เจ้าอาวาส - -
10 พระอาจารย์มี เจ้าอาวาส - -
11 พระอาจารย์เรือง เจ้าอาวาส - -
12 พระอาจารย์ประดิษฐ์ เจ้าอาวาส - -
13 พระอาจารย์สมสมศรี เจ้าอาวาส - -
14 พระอาจารย์สุข เจ้าอาวาส - -
15 พระอาจารย์ใบ เจ้าอาวาส - -
16 พระอาจารย์จันทร์ เจ้าอาวาส - -
17 พระอาจารย์มัด เจ้าอาวาส - -
18 พระอาจารย์ณรงค์ เจ้าอาวาส - -
19 พระอาจารย์พรหมมี เจ้าอาวาส - -
20 พระอาจารย์สนัด เจ้าอาวาส - -
21 พระอาจารย์ภักดี เจ้าอาวาส - -
22 พระอาจารย์สายบัว เจ้าอาวาส - -
23  พระครูมงคลธรรมสุนทร เจ้าอาวาส พ.ศ. 2524 - ปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

  1. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:554.
  2. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:554.
  3. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:554.
  4. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:555.
  • ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรเล่ม 4 หน้า 556-557