วัดหนองมงคล

วัดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

วัดหนองมงคล ตั้งอยู่เลขที่ 96 หมู่ที่ 7 ตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายเถรวาท ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา มีวัดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง และ โรงเรียนระดับประถมศึกษาขั้นพื้นฐาน 1 โรง เส้นทางคมนาคมสายหลักคือถนนบางสะพาน – ท่าหล่อ หนองระแวง ด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรม-ประมง เป็นส่วนใหญ่

วัดหนองมงคล
แผนที่
ที่ตั้งตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

ประวัติ

แก้

เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2484 เดิมชาวบ้านหนองมงคลต้องเดินทางไปทำบุญที่ "วัดดอนยาง" ต้องเดินทางเป็นระยะทางถึง 5 กิโลเมตร ซึ่งลำบากมาก "หลวงพ่อเคล้า" (พระครูศีลาธิการี) เจ้าอาวาสวัดดอนยาง ได้ปรึกษากับครูใหญ่โรงเรียนวัดดอนยาง ชื่อครูทัน ดวงเนตร และชาวบ้านว่าจะสร้างวัดหนองมงคลขึ้น ผู้นำสร้าง คือ หลวงพ่อเคล้า (พระครูศีลาธิการี) เจ้าอาวาสวัดดอนยาง ได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นมา 1 ชุด โดยมี นายใย ครุฑเสม ผู้ใหญ่บ้านหนองมงคล ได้บริจาคที่จำนวน 9 ไร่เศษ และครูประมวล เทียนส่งรัศมี ครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองมงคล นายเจือ วงศ์ทัพ นายแดง เกลื่อนพันธ์ นายจันทร์ เกลื่อนพันธ์ นายปราง เขียวขำ นายดำ ครุฑธา นายทิม ครุฑธา พร้อมด้วยชาวบ้านหนองมงคลได้ช่วยกันสร้างกุฏิ พร้อมหอฉันมุงจาก 1 หลัง และได้นิมนต์ หลวงพ่อช่วง วิสารโธ จากวัดดอนยาง มาอยู่จำพรรษา

ในปี 2484 มีพระจำพรรษา 5 รูป ได้ตั้งชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้านว่า วัดหนองมงคล และได้มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาเรื่อยมา และได้มีผู้ศรัทธาบริจาคที่ดินถวายอีก 2 ไร่ 2 งาน 21 ตารางวา พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่ดอนทรายห่างจากทะเลประมาณ 200 เมตร มีเนื้อที่ตั้งวัด 6 ไร่ 3 งาน 58 ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ 16383 มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 21 ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ 16886 วัดหนองมงคล ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2546 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 30 เมตร ยาว 60 เมตร งวดที่ 4 ประจำปี 2546[1]

ศาสนสถาน

แก้
 
วัดหนองมงคล ศาลาการเปรียญ

อุโบสถ กว้าง 9 เมตร ยาว 15 เมตร สร้งเมื่อ พ.ศ. 2542 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

ศาลาการเปรียญ กว้าง 19 เมตร ยาว 22 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2535 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น

ศาลาบำเพ็ญกุศล 1 หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก บูรณะใหม่เมื่อ พ.ศ. 2539

ศาลาหอฉัน กว้าง 29 เมตร ยาว 22 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520

กุฎิสงฆ์ 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2541 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น 14 ห้อง

กุฎีเจ้าอาวาส กว้าง 7 เมตร ยาว 11 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2553

พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย กว้าง 4 เมตร สูง 4 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2549

ซุ้มประตูกำแพง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2545 หอระฆัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2551 ห้องน้ำห้องสุขา 13 ห้อง ทั่วไป 9 ห้อง

วิหารพระพุทธรัตนมณีมหามงคลชัย กว้าง 16 เมตร ยาว 22 เมตร สร้างเมี่อ พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมา (หลวงปู่ใหญ่)

แก้
 
พระพุทธรัตนมณีมหามงคลชัย

พระพุทธรัตนมณีมหามงคลชัย

เนื่องจาก พระวัชรินทร์ กนฺตสีโล และ พระสนิท อาภากโร วัดหนองมงคล ได้ไปอยู่ปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงพ่อสำราญ (หลวงพ่อกล้วย) ธมฺมธุโร ที่ป่าช้า วัดป่าธรรมอุทยาน จังหวัดขอนแก่น และได้จำพรรษา 1 พรรษา (รวม 6 เดือน) ในปี พ.ศ. 2541 และในปี พ.ศ. 2548 พระอธิการปริมาณ อนาลโย เจ้าอาวาส วัดหนองมงคลได้ลาสิกขา และได้แต่งตั้งพระวัชรินทร์ กนฺสีโล ขึ้นรักษาการแทนเจ้าอาวาส

ในปี พ.ศ. 2549 แต่งตั้งพระวัชรินทร์ กนฺตสีโล เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองมงคล และได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อสำราญ (หลวงพ่อกล้วย) ธมฺมธุโร วัดป่าธรรมอุทยาน จังหวัดขอนแก่น จะสร้างพระใหญ่ให้ โดยมี ดร.สาโรจน์ ดร.อัญชลี นายศรัล ลีสวรรค์ ท.พ.หญิงอลิสา ลีสวรรค์ เจ้าภาพอุปถัมภ์ เพื่อยกระดับจิตศรัทธาของญาติโยมชาวบ้านให้กลับมาเหมือนดังเดิม และได้มาดูสถานที่สร้างพระพร้อมคณะ ในวันที่ 3 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 และได้ให้สร้างฐานพระไว้ องค์พระ 4 x 4 เมตร

ในวันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ได้นำคณะมาทำพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเทวา และทำพิธีหล่อองค์พระ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แก้วรัตนและสิ่งเป็นมงคล เป็นองค์ที่ 11 นามว่า พระพุทธรัตนมณีมหาปฏิมากร โดยใช้งบก่อสร้าง 400,000 บาท โดยประมาณ และได้เปลี่ยนนามมาเป็น พระพุทธรัตนมณีมหามงคลชัย ตามชื่อหมู่บ้านชุมชนหนองมงคล-ชัยมงคล ตั้งประดิษฐสถานกลางแจ้ง เนี่องจากองค์พระตั้งอยู่กลางแจ้งตากแดดตากฝน จึงเกิดศรัทธาพุทธศาสนิกชนในชุมชนได้มีความคิดร่วมกันสร้างวิหารครอบองค์พระเพื่อกันแดดกันฝนและพิธีวันสำคัญทางศาสนา จึงทำพิธีบวงสรวงเทพเทวา และยกเสาเอกวิหารขึ้น ในวันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556 โดยการนำของพระอธิการวัชรินทร์ กนฺตสีโล เจ้าอาวาสวัดหนองมงคล ชาวบ้านในชุมชนตำบลธงชัยและคณะศรัทธาจากชลบุรี-ลำลูกกา ประทุมธานี ร่วมทอดผ้าป่า ยกเสาเอกเริ่มก่อสร้าง โดยกว้าง 16 เมตร ยาว 22 เมตร - ได้รับความร่วมมือร่วมแรงจากชาวบ้านในการก่อสร้าง - แล้วเสร็จวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ทำเนียบเจ้าอาวาส

แก้
ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 พระช่วง วิสารโธ พ.ศ. 2484 พ.ศ. 2489
2 พระวิเชียร พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2492
3 พระเช้า จนฺทสโร พ.ศ. 2493 พ.ศ. 2495
4 พระชุ้น อินฺทสโร พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2499
5 พระครูมงคลวาปีภิบาล พ.ศ. 2500 พ.ศ. 2536
6 พระณรงค์ สุนฺทโร รก. พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2538
7 พระอธิการปริมาณ อนาลโย พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2548
8 พระอธิการวัชรินทร์ กนฺตสีโล พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน

อ้างอิง

แก้