วัดรางบัว (กรุงเทพมหานคร)

วัดในกรุงเทพมหานคร

วัดรางบัว เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ริมคลองภาษีเจริญและคลองรางบัว ในแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 11 ไร่ 1 งาน 86 ตารางวา ปัจจุบันมีพระครูพิทักษ์ปทุมกิจ (เชาวลิต) เป็นเจ้าอาวาส

วัดรางบัว
แผนที่
ที่ตั้งซอยเทอดไท 66 ถนนเทอดไท แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระประธานหลวงพ่อสามสี
เจ้าอาวาสพระครูพิทักษ์ปทุมกิจ (เชาวลิต)
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดรางบัวตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2383 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยประชาชนได้ช่วยกันสร้างวัดนี้ วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2502[1] ในอดีต บริเวณวัดเป็นสวนหมาก สวนพลู สวนมะพร้าว ที่ทำการอำเภอภาษีเจริญเดิมซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2442 ตัวอาคารตั้งอยู่ริมคลองตรงวัดรางบัว[2] อาคารเสนาสนะต่าง ๆ ได้แก่ อุโบสถหลังใหม่ที่สร้างแทนอุโบสถหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม กุฏิสงฆ์จำนวน 15 หลัง ปูชนียวัตถุ ได้แก่ พระประธานในอุโบสถมีนามว่า หลวงพ่อสามสี เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 50 เซนติเมตร สร้างด้วยทองแดงและสำริด มีรูปหล่ออดีตเจ้าอาวาสสองรูป คือ หลวงพ่อปึกกับหลวงพ่อพึ่ง นอกจากนี้ในวัดยังมีพระพุทธรูปปิดตา เทพทันใจ พระพิฆเนศ

วัดรางบัวมีเกจิอาจารย์ นามว่า พระครูวิทยานุโยค (พึ่ง) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ. 2455 หลังจากท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชาวบ้านและลูกศิษย์จึงขออนุญาตสร้างเหรียญรูปท่านเพื่อแจกในงานฉลองสมณศักดิ์ ซึ่งท่านก็อนุญาต นับเป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน เหรียญรุ่นนี้ทำเป็นเหรียญอัลปากา กล่าวกันว่า มีนายตำรวจท่านหนึ่งทราบว่าเหรียญนี้ยิงไม่ออก จึงได้ไปขอเหรียญนี้มาจากวัด และทดลองยิงดูปรากฏว่ายิงไม่ออก[3]

อ้างอิง

แก้
  1. "วัดรางบัว". พระสังฆาธิการ.
  2. อภิญญา นนท์นาท (27 เมษายน 2559). ""ภาษีเจริญ" บนเส้นทางการเปลี่ยนแปลง". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-15. สืบค้นเมื่อ 2021-01-14.
  3. แทน ท่าพระจันทร์ (20 มิถุนายน 2562). "เหรียญหลวงพ่อพึ่ง วัดรางบัว". ข่าวสด.