วัดน้ำปาด
วัดน้ำปาด เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก
วัดน้ำปาด | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดน้ำปาด, วัดเฉลียงงาม |
ที่ตั้ง | ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดน้ำปาดตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2382 ปรากฏหลักฐานในแผนที่เมืองพิษณุโลก กรมแผนที่ได้จัดทำไว้เมื่อ พ.ศ. 2461 ได้ระบุวัดและตำแหน่งที่ตั้งวัดไว้ ชาวบ้านเรียกว่า วัดเฉลียงงาม เพราะบริเวณวัดมีต้นเฉลี่ยงงามอายุประมาณ 100 กว่าปี อยู่ในบริเวณที่ดินของวัด ชื่อนี้ปรากฏอยู่ในเอกสารหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก) เลขที่ 182 ออกวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2520 แต่ผู้ให้ข้อมูลจึงเอาชื่อต้นไม้ดังกล่าวเป็นชื่อ "วัดเฉลียงงาม" แต่จริง ๆ แล้วเป็นวัดน้ำปาดกับวัดเฉลียงงามเป็นวัดเดียวกัน[1] กรมศาสนาได้สำรวจและขึ้นทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติเมื่อ พ.ศ. 2475 วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550[2]
อุโบสถมหาอุดของวัดสร้างจากอิฐ ไม่ใช้เหล็ก ไม่มีเสา[3] มีพระประธานรูปหล่อสำริด โดยรอบทั้งด้านในและด้านนอกมีจิตรกรรมซึ่งวาดโดยช่างพื้นบ้าน เป็นเรื่องราวการทำความดีความชั่ว ความเชื่อของชาวบ้านและวิถีชาวบ้านในยุคนั้น เช่น การทำบาปจะตกนรก ภาพรถไฟกรุงเทพเชียงใหม่ เป็นต้น ภาพน่าจะวาดในสมัยรัฐนิยม สมัยรัฐบาลจอมพลป.[4]
ระเบียงภาพ
แก้-
ภายในอุโบสถกลังเดิมของวัดน้ำปาด
-
จิตรกรรมบนผนังภายนอกอุโบสถกลังเดิมของวัดน้ำปาด
-
จิตรกรรมบนผนังภายนอกอุโบสถกลังเดิมของวัดน้ำปาด
-
จิตรกรรมบนผนังภายนอกอุโบสถกลังเดิมของวัดน้ำปาด
-
จิตรกรรมบนผนังภายนอกอุโบสถกลังเดิมของวัดน้ำปาด
-
จิตรกรรมบนผนังภายนอกอุโบสถกลังเดิมของวัดน้ำปาด
-
จิตรกรรมบนผนังภายในอุโบสถกลังเดิมของวัดน้ำปาด
-
จิตรกรรมบนผนังภายในอุโบสถกลังเดิมของวัดน้ำปาด
อ้างอิง
แก้- ↑ "วัดน้ำปาด ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง พิษณุโลก". ทัวร์วัดไทย.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "วัดน้ำปาด". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
- ↑ "ชมจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างพื้นบ้าน วัดน้ำปาด ต.ชมพู อายุกว่า 100 ปี".
- ↑ "จิตรกรรมฝาผนังวัดน้ำปาด เนินมะปราง พิษณุโลก".[ลิงก์เสีย]