วัดจอมเกษ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรี ในตำบลขยาย อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วัดจอมเกษ
แผนที่
ที่ตั้งตำบลขยาย อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อโต
เจ้าอาวาสพระอธิการปราโมทย์ ปิยปุโต
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดจอมเกษ เดิมมีชื่อว่า วัดจอมปลวก เนื่องจากมีจอมปลวกมากมายบริเวณรอบวัด จากคำบอกเล่าสรุปได้ว่า ได้มีเจ้าจอมเสด็จมาทางชลมารคบำเพ็ญกุศลที่วัดนี้ ทรงให้เปลี่ยนนามเป็น "วัดจอมเกษ" เพื่อให้ความหมายดีขึ้น ตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2312 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาราว พ.ศ. 2315[1] ภายในวัดมีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือพระพุทธรูปประธานปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 29 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2458 เป็นพระพุทธรูปที่ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธากันมาก ชาวบ้านเรียกขานว่า หลวงพ่อโต[2] วัดยังมีรูปปั้นยักษ์ขนาดใหญ่ที่อุโบสถ ต้นโพธิ์เก่าแก่อายุกว่า 100 ปี 3 ต้น และมีต้นมะขามและต้นไม้ใหญ่อื่น ๆ อีกหลายต้น

วัดจอมเกษเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้นิยมสักยันต์ มีเกจิอาจารย์คือ พระครูใบฎีกาจีระพงษ์ ธีรวโร หรือ หลวงพี่เลี้ยง[3]

รายนามเจ้าอาวาส แก้

  • หลวงพ่อเฒ่า พ.ศ.2315–2370
  • หลวงพ่อเอี่ยม พ.ศ. 2370–2392
  • หลวงพ่อเกษ พ.ศ. 2392–2403
  • หลวงพ่อหลา พ.ศ. 2403–2417
  • หลวงพ่อพึ่ง พ.ศ. 2417–2436
  • หลวงพ่อเทศ พ.ศ. 2436–2448
  • หลวงพ่อชาย พ.ศ. 2448–2457
  • พระอธิการวอน พ.ศ. 2457–2477
  • พระอธิการผัน พ.ศ. 2477–2497
  • พระอธิการประเสริฐ พ.ศ. 2497–2507
  • พระครูโสภณธรรมนิวิฐ (หลวงพ่อสละ) พ.ศ. 2509–
  • พระครูปัญญาสุภาจาโร
  • พระอธิการปราโมทย์ ปิยปุโต

อ้างอิง แก้

  1. "วัดจอมเกษ". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
  2. "หลวงพี่เลี้ยงวัดจอมเกษเผยแผ่ธรรมผ่านเส้นสายลายยันต์". คมชัดลึก.
  3. "วัดจอมเกษ ประกาศยุติทำตะกรุดสาลิกาตาหวานแล้ว". พิมพ์ไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-31. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.