วงศ์นกโพระดก
นกโพระดกคอสีฟ้า (Megalaima asiatica)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Piciformes
อันดับย่อย: Pici
วงศ์: Megalaimidae
Blyth, 1852
สกุล[1]

นกโพระดก เป็นนกขนาดกลาง อยู่ในวงศ์ Megalaimidae (บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ Ramphastidae หรือนกทูแคน ที่พบในอเมริกาใต้ โดยจัดให้เป็นวงศ์ย่อย Megalaiminae[1]) จัดอยู่ในอันดับนกหัวขวานและนกโพระดก (Piciformes) มีลักษณะจะงอยปากหนาใหญ่ และมีขนที่โคนปาก ร้องเสียงดัง ได้ยินไปไกล ลำตัวอ้วนป้อม ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ มีสีสันสวยงาม มีทั้งหมด 26 ชนิด พบทั่วไปในทวีปเอเชียตั้งแต่ทิเบต จนถึงอินโดนีเซีย พบมากในคาบสมุทรมลายู และเกาะสุมาตรา

ทำรังในโพรงไม้ ด้วยการเจาะไม้ให้เป็นรูเหมือนกับนกหัวขวาน ซึ่งเป็นนกในอันดับเดียวกัน แต่โพรงของนกโพระดกจะมีขนาดพอดีตัวทำให้การเข้าออกรังบางทีทำได้ไม่คล่องเท่านกหัวขวาน[2] วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 13-15 วัน เป็นนกที่กินผลไม้เช่น ลูกโพ, ลูกมะเดื่อฝรั่ง และแมลง เป็นอาหาร

สำหรับนกในวงศ์นี้ที่พบในประเทศไทยมีทั้งหมด 15 ชนิด ได้แก่[3]

รายชื่อนกโพระดกที่พบในประเทศไทย

แก้
ชื่อ ชื่อวิทยาศาสตร์ สถานะ
นกโพระดกหนวดแดง Psilopogon pyrolophus นกพลัดหลง
นกตั้งล้อ Megalaima virens
นกโพระดกธรรมดา Megalaima lineata
นกโพระดกหูเขียว Megalaima faiostricta
นกโพระดกเคราเหลือง Megalaima chrysopogon
นกโพระดกหลากสี Megalaima rafflesii หายาก ถูกคุกคามทั่วโลก[4]
นกโพระดกคางแดง Megalaima mystacophanos
นกโพระดกคางเหลือง Megalaima franklinii
นกโพระดกคิ้วดำ Megalaima oorti นกพลัดหลง
นกโพระดกคอสีฟ้า Megalaima asiatica
นกโพระดกคอสีฟ้าเคราดำ Megalaima incognita
นกโพระดกหัวเหลือง Megalaima henricii
นกโพระดกหน้าผากดำ Megalaima australis
นกตีทอง Megalaima haemacephala
นกจอกป่าหัวโต Caloramphus fuliginosus

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 จาก itis.gov
  2. อิสรภาพ, "พินัยกรรมธรรมชาติ". สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 11 มกราคม 2556
  3. Short, L. L. Horne J. F. M. (2002) "วงศ์ Capitonidae (barbets)" in del Hoyo J., Elliott A. & Christie D.A. (2004) Handbook of the Birds of the World. Volume 7. Jamacars to Woodpeckers Lynx Edicions, Barcelona ISBN 84-87334-37-7
  4. BirdLife International (2007). Megalaima rafflesii. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 17 May 2008. Database entry includes a brief justification of why this species is vulnerable

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้