ลูกหมูสามตัว
ลูกหมูสามตัว (อังกฤษ: The Three Little Pigs) เป็นนิทานอุทาหรณ์เกี่ยวกับหมูสามตัวที่สร้างด้วยวัสดุที่แตกต่างกัน หมาป่าใจร้ายได้เป่าบ้านของหมูสองตัวแรกซึ่งทำจากฟางและไม้ตามลำดับจนพัง แต่ไม่สามารถทำลายบ้านของหมูตัวที่สามที่ทำจากอิฐได้ รูปแบบตีพิมพ์ของนิทานมีในราวคริสต์ทศวรรษ 1840 แต่ตัวเรื่องราวของนิทานนั้นคาดว่าจะเก่าแก่กว่านั้น วลีที่ปรากฏในนิทานและคติที่แฝงไว้ในเรื่องได้กลายเป็นสิ่งที่ปลูกฝังอยู่ในวัฒนธรรมตะวันตก ลูกหมูสามตัวได้รับการสร้างสรรค์ใหม่หรือดัดแปลงในหลากหลายรูปแบบเป็นเวลาหลายปี บางรูปแบบได้ให้หมาป่าเป็นตัวละครที่ใจดีก็มี ลูกหมูสามตัวจัดเป็นนิทานประเภท B124[1] ตามระบบจัดจำแนก Aarne–Thompson
นิทานดั้งเดิม
แก้ลูกหมูสามตัว ถูกบรรจุเป็นนิทานใน The Nursery Rhymes of England (London and New York, c.1886), โดย เจมส์ ฮอลลี่เวลล์-ฟิลลิปส์ [2] ส่วนนิทานในรูปแบบที่เป็นที่รู้จักปรากฏใน English Fairy Tales โดย โจเซฟ จาคอบส์ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1890 และได้อ้างอิงฮอลลี่เวลล์ว่าเป็นต้นเรื่อง[3]
นิทานเริ่มเรื่องที่ลูกหมูสามตัวถูกแม่หมูส่งออกไปเผชิญโลกภายนอก ลูกหมูตัวแรกสร้างบ้านทีทำจากฟาง แต่หมาป่าได้เป่าบ้านจนพังแล้วกินลูกหมู ลูกหมูตัวที่สองสร้างบ้านที่ทำจากไม้ซึ่งก็ถูกหมาป่าเป่าจนพังเช่นกัน แล้วลูกหมูตัวที่สองก็ถูกกินเช่นกัน การสนทนาโต้ตอบระหว่างหมาและลูกหมูเป็นวลีที่มีชื่อเสียง ความว่า:
"Little pig, little pig, let me come in."
"No, no, by the hair on my chiny chin chin."
"Then I'll huff, and I'll puff, and I'll blow your house in."[4]
ลูกหมูตัวที่สามสร้างบ้านที่ทำจากอิฐ หมาป่าพยายามเป่าบ้านให้พังแต่ไม่สำเร็จ จึงพยายามหลอกให้หมูออกจากบ้านโดยบอกจะขอพบในสถานที่ต่าง ๆ แต่ก็ถูกรู้ทันทุกครั้ง ท้ายที่สุดหมาป่าจึงเข้าไปในบ้านโดยลงมาทางปล่องไฟ จึงตกลงไปหม้อน้ำเดือดที่ลูกหมูเตรียมไว้ ลูกหมูปิดฝาหม้อ จากนั้นจึงปรุงหมาป่ามากินเป็นอาหาร ในนิทานบางรูปแบบลูกหมูตัวที่หนึ่งและตัวที่สองไม่ได้ถูกหมาป่ากินหลังจากพังบ้าน แต่ได้หนีมาหลบภัยที่บ้านของลูกหมูตัวที่สาม และเมื่อหมาป่าเข้ามาทางปล่องไฟจะถูกต้มจนตายเหมือนนิทานดั้งเดิม หรืออาจจะวิ่งหนีไปแล้วไม่กลับมากินลูกหมูสามตัวอีกเลย ซึ่งลูกหมูทั้งสามตัวรอดชีวิตในทั้งสองกรณี
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-06. สืบค้นเมื่อ 2018-12-08.
- ↑ Ashliman, Professor D. L. "Three Little Pigs and other folktales of Aarne-Thompson-Uther type 124". Folklore and Mythology Electronic Texts. University of Pittsburgh. สืบค้นเมื่อ 25 July 2010.
- ↑ Tatar, Maria (2002). The Annotated Classic Fairy Tales. W. W. Norton & Company. pp. 206–211. ISBN 978-0-393-05163-6.
- ↑ Jacobs, Joseph (1890). English Fairy Tales. Oxford University. p. 69.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- The nursery rhymes of England By James Orchard Halliwell-Phillipps, pp. 37–41 on books.google.com
- The Story of the Three Little Pigs in The nursery rhymes of England, by Halliwell, pp. 37–41 on Archive.org
- The Three Little Pigs: Pleasure principle versus reality principle, from: The Uses of Enchantment, The Meaning and Importance of Fairy Tales, by Bruno Bettelheim, Vintage Books, NY, 1975
- 19th century versions of the Three Little Pigs story
- The Golden Goose Book: The Story of the Three Little Pigs from Google books
- MP3 of the song "Who's Afraid of the Big Bad Wolf"
- ลูกหมูสามตัว ที่บิกการ์ตูนเดตาเบส