ลูกปัดเบลี
ลูกปัดเบลีย์ (อังกฤษ: Baily's beads) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ดวงจันทร์เคลื่อนมาบังดวงอาทิตย์เกือบหมด หรือระหว่างที่กำลังบังกันสนิท จะเกิดแสงสว่างบริเวณขอบของดวงจันทร์ คล้ายสร้อยลูกปัด ซึ่งได้ชื่อจากฟรานซิส เบลี นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้อธิบายสาเหตุของปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ว่าเกิดจากแสงของดวงอาทิตย์ที่ยังลอดผ่านช่องเขาที่อยู่ตามบริเวณขอบของดวงจันทร์
ปรากฏการณ์แหวนเพชร
แก้ปรากฏการณ์แหวนเพชร (อังกฤษ: Diamond ring effect) เกิดจากปรากฏการณ์สุริยุปราคา โดยมีพระจันทร์บังอยู่ก่อนหน้าดวงอาทิตย์ โดยการโคจรผ่านกันทำให้เกิดปรากฏการสุริยุปราคา โดยผู้ค้นพบ ได้แก่ ฟรานซิส เบลี โดยมีหลักฐานบันทึกในปี ค.ศ. 1836[1][2]
ลักษณะปรากฏการณ์
แก้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการบังกันสนิทและก่อนจะออกจากคราส ซึ่งจะเกิดแสงวาบจากดวงอาทิตย์เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ลักษณะคล้ายแหวน [3]โดยทำให้เห็นโคโรนา มีเพียงสุริยุปราคาเต็มดวงเท่านั้นที่จะทำให้เราสามารถสังเกตเห็นชั้นบรรยากาศโคโรนาของดวงอาทิตย์ได้[4] พรอมิเนนต์คือพวยก๊าซที่พุ่งออกมาจากผิวของดวงอาทิตย์ชั้นโฟโตสเซีย[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ Baily, Francis. "On a remarkable phenomenon that occurs in total and annular eclipses of the sun". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society, Vol. 4, p.15. Bibcode:1836MNRAS...4...15B.
- ↑ Littmann, Mark; Willcox, Ken (1999). Totality - Eclipses of the Sun. Oxford University Press. pp. 65–66. ISBN 0-19-513179-7.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-27. สืบค้นเมื่อ 2013-04-03.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-10. สืบค้นเมื่อ 2013-04-03.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-15. สืบค้นเมื่อ 2013-04-03.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "What to See During an Eclipse Continued". Exploratorium. 2009-06-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-02. สืบค้นเมื่อ 2013-04-03.
- Joseph B. Gurman (2005-04-14). "Total Solar Eclipse of 1998 February 26". Goddard Space Flight Center.