ลุกมาน
ลุกมาน (อาหรับ: لقمان, อักษรโรมัน: Luqmān; ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม ลุกมาน ผู้ปราดเปรื่อง หรือ ลุกมาน อัลหะกีม) เป็นนักปราชญ์ซึ่งถูกตั้งชื่อ ซูเราะฮ์ ลุกมาน ซึ่งเป็นซูเระาฮ์ที่ 31 ของอัลกุรอาน ลุกมาน (ป. 1100 ก่อนคริสต์ศตวรรษ) เชื่อว่าท่านมาจากนูเบีย หรือจากอียิปต์ [1] [2] มีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับลุกมานในวรรณกรรม เปอร์เซีย อาหรับ และตุรกี โดยแหล่งประวัติศาสตร์หลักสำหรับชีวิตของท่านคือ ตัฟซีร อิบน์ กะษีร์ และเรื่องราวของอัลกุรอานโดย อิบน์ กะษีร ในขณะที่คัมภีร์อัลกุรอานไม่ได้ระบุว่าลุกมานเป็นนบีหรือไม่ แต่บางคนเชื่อว่าท่านเป็นนบี ดังนั้นจึงเพิ่มอะลัยฮิสสะลาม เพื่อให้เกียรติตามหลังชื่อของเขา
ลุกมาน อัลหะกีม لقمان الحكيم | |
---|---|
ชื่อ ลุกมาน อัลหะกีม ในการประดิษฐ์ตัวอักษรอิสลาม | |
เกิด | นิวเบีย(โต้แย้ง) อียิปต์(โต้แย้ง) |
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อน | อัลคิฎิร |
ผู้สืบตำแหน่ง | ชัมวีล |
แหล่งที่มาของภูมิปัญญาของลุกมาน
แก้ตามอายะฮ์ที่ 12 ของซูเราะฮ์ ลุกมานในอัลกุรอาน ลุกมานได้รับการประทานสติปัญญาจากอัลลอฮ์, อัลหะกีม (ผู้ทรงปรีชาญาณ)
และโดยแน่นอน เราได้ให้ฮิกมะฮฺ แก่ลุกมานว่า “จงขอบพระคุณต่ออัลลอฮฺ” และผู้ใดขอบคุณ แท้จริงเขาก็ขอบคุณตัวของเขาเอง และผู้ใดปฏิเสธ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงพอเพียงและทรงได้รับการสรรเสริญ
ตามหะดีษในมุวัฏเฏาะฮ์ ของอิมามมาลิก ท่านลุกมานถูกถาม "อะไรนำท่านไปสู่สิ่งที่เราเห็น" ซึ่งหมายถึงตำแหน่งสูงของท่าน ลุกมานกล่าวว่า “จงพูดสัตย์ ปฏิบัติตามความไว้เนื้อเชื่อใจ และละทิ้งสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้า” [3] รายงานนี้ยังถูกกล่าวถึงด้วยถ้อยคำที่แตกต่างกันในแหล่งอื่นจากอิบน์ ญะรีร ซึ่งได้รายงานจากอิบน์ ฮะมีด ซึ่งได้รายงานจากอัลหะกาม ซึ่งได้รายงานจากอุมัร อิบน์ ก็อยส์ [2]
ในหะดีษ อีกบทหนึ่ง มีการกล่าวถึงว่าสำหรับบางคน ตำแหน่งสูงในญันนะฮ์ (สวรรค์) นั้นถูกกำหนดไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อบุคคลนั้นไม่ได้รับการทำความดีเพื่อไปสู่ตำแหน่งที่สูงนั้น อัลลอฮ์จะทรงให้เขาได้รับการทดลองหรือทดสอบบางอย่าง ซึ่งถ้ายอมรับและแบกรับอย่างอดทน ก็จะทำให้เขามีสถานะที่สูงส่ง [4]
การเป็นทาส
แก้ลุกมานถูกจับให้เป็นทาสและขายเป็นทาส ท่านถูกลิดรอนอิสรภาพและไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือพูดได้อย่างอิสระ อย่างไรก็ตาม ท่านทนทุกข์ทรมานกับพันธนาการของท่านอย่างอดทน ซื่อสัตย์ และมีความหวัง เฝ้ารอการกระทำของพระองค์อัลลอฮ์ นี่เป็นครั้งแรกของการทดลองที่ท่านต้องแบกรับ
คนที่ซื้อลุกมานเป็นคนจิตใจดีและเฉลียวฉลาด ปฏิบัติต่อลุกมานด้วยความเมตตา เขาสามารถตรวจพบได้ว่าลุกมานนั้นไม่ธรรมดา เขาจึงพยายามทดสอบสติปัญญาของเขาและค้นพบความจริงของมัน
วันหนึ่ง ชายผู้นั้นสั่งให้ลุกมานฆ่าแกะตัวหนึ่ง และลุกมานก็ฆ่าแกะตัวนั้น จากนั้น เขาสั่งให้ลุกมานนำส่วนที่ดีที่สุดของมันมาให้เขา และลุกมานก็นำหัวใจและลิ้นของมันไปให้เจ้านายของท่าน [1] [2] เมื่อได้รับมันมา เจ้านายของเขายิ้ม เขารู้สึกทึ่งกับการเลือกส่วนที่ 'ดีที่สุด' ของแกะของลุกมาน เขาเข้าใจว่าลุกมานกำลังพยายามสื่อความหมายที่ลึกซึ้งบางอย่าง แม้ว่าเขาจะไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าคืออะไร ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นายของของท่านก็เริ่มสนใจ ในตัวลุกมาน มากขึ้นและใจดีกับท่านมากขึ้นกว่าเดิม
ไม่กี่วันต่อมา ลุกมานได้รับคำสั่งให้เชือดแกะอีกครั้ง ซึ่งเขาทำเช่นนั้น แต่คราวนี้ท่านถูกขอให้นำส่วนที่แย่ที่สุดของแกะไปให้เจ้านายของท่าน เป็นอีกครั้งที่ลุกมานนำหัวใจและลิ้นมาให้เจ้านายของท่านประหลาดใจ เมื่อเจ้านายพูดถึงเรื่องนี้กับลุกมาน ลุกมาน ผู้ปราดเปรื่องตอบว่า "ลิ้นและหัวใจเป็นส่วนที่หอมหวานที่สุดหากพวกมันดี และไม่มีอะไรจะเลวร้ายไปกว่านี้แล้วหากพวกมันชั่วร้าย!" [1] [2] หลังจากนั้นเจ้านายของลุกมานก็ให้เกียรติท่านอย่างมาก ลุกมานได้รับการปรึกษาจากผู้คนมากมายเพื่อขอคำแนะนำ และกิตติศัพท์แห่งปัญญาของเขาก็เลื่องลือไปทั่วแผ่นดิน
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Ibn Kathir, Hafiz, Tafsir Ibn Kathir, Dar-us-Salam Publications, 2000 (original ~1370)
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 as-Sayed al-Halawani, Ali. Stories of the Qurʼan by Ibn Kathir (PDF). Dar Al-Manarah. pp. 90–98. สืบค้นเมื่อ 18 October 2021.
- ↑ "Book of Speech - كتاب الكلام - Muwatta Malik". Sunnah.com - Sayings and Teachings of Prophet Muhammad (صلى الله عليه و سلم). สืบค้นเมื่อ 18 October 2021.
Malik related to me that he heard that someone said to Luqman, "What has brought you to what we see?" meaning his high rank. Luqman said, "Truthful speech, fulfilling the trust, and leaving what does not concern me."
- ↑ "ALLAH TA'ALA TESTING HIS SERVANT TO RAISE HIS RANK IN JANNAH". Hadith Answers. 24 September 2014. สืบค้นเมื่อ 17 October 2021.
Sayyiduna Abu Hurayrah (radiyallahu ‘anhu) reports that Nabi (sallallahu ‘alayhi wa sallam) said: ‘When a person does not have enough good deeds to reach a certain level in Jannah, but Allah Ta’ala wants him to attain that level, then Allah Ta’ala tests him and puts him through difficult trials so that Allah may make him reach that level (in Jannah)’ (Sahih Ibn Hibban; Al Ihsan, Hadith: 2908) Similar narrations have also been recorded in Mustadrak Hakim, Musnad Ahmad, Musnad Abu Ya’la and Al Mu’jamul Kabir of Tabarani. (Refer: Mustadrak Hakim, vol. 1 pg. 344 and Majma’uz Zawaid, vol. 2 pg. 292)