ลาลับ (Lalab,lalap) เป็นอาหารซุนดา ที่ประกอบด้วยผักดิบหลายชนิดกินกับน้ำพริกกะปิแบบพื้นบ้านหรือซัมบัลเตอราซี มีจุดกำเนิดที่ชวาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย แต่ดั้งเดิม อาหารชนิดนี้ปรุงจากผักที่รับประทานได้ในท้องถิ่นของซุนดา ในปัจจุบันลาลับจะประกอบด้วย กะหล่ำปลี แตงกวา ผักกาดหอม, ถั่วแขก ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ มะเขือ, แมงลัก, ผักโขม, ผักบุ้ง, ใบมันสำปะหลัง ใบมะละกอ ฟักแม้วและมะเขือพวง ในบางครั้งจะใส่ สะตอ และลูกเนียง[1] ผักส่วนใหญ่ที่รับประทานในลาลับจะเตรียมด้วยการล้างในน้ำสะอาดแล้วรับประทานดิบ แต่บางชนิดก็นำไปต้ม นึ่งหรือผัดก่อน เช่น สะตอ อาจจะรับประทานดิบหรือผัด ส่วนฟักแม้ว ผักบุ้ง และใบมันสำปะหลัง มักจะต้มก่อน รับประทานกับซัมบัลเตอราซี ซึ่งมีรสเผ็ด

ลาลับ
ลาลับซึ่งประกอบด้วยผักและซัมบัล
ชื่ออื่นLalap
แหล่งกำเนิดอินโดนีเซีย
ภูมิภาคชวาตะวันตก
ผู้สร้างสรรค์อาหารซุนดา
อุณหภูมิเสิร์ฟเย็นหรืออุณหภูมิห้อง
ส่วนผสมหลักผักดิบหลายชนิดกินกับซัมบัล เตอราซี

ในปัจจุบัน ลาลับเป็น อาหารอินโดนีเซียที่ได้รับความนิยมทั่วประเทศ โดยรับประทานถัดจากอาหารจานหลัก เช่น ไก่ย่างหรือไก่ทอดปลาดุกทอด ปลากระดี่ทอด หรือปลาย่าง อาหารจานนี้ใกล้เคียงกับอูลัมในมาเลเซีย

สารอาหาร แก้

ลาลับเป็นอาหารที่มีวิตามิน ธาตุอาหารและเส้นใยสูง ผักที่รับประทานในลาลับมักมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ผักบางชนิดเป็นพืชสมุนไพร [2]

อ้างอิง แก้

  1. "Lalab dalam Kehidupan Masyarakat Sunda". 20 Oct 2008.
  2. "Khasiat Lalapan (in Indonesian)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-16. สืบค้นเมื่อ 2012-07-16.