รี ชุน-ฮี
รี ชุน-ฮี (เกาหลี: 리춘히, อักษรโรมัน: Ri Chun-hee, Ri Chun Hee และ Ri Chun Hui,[1] ออกเสียง: /ɾi tsʰun çi/; เกิด 8 กรกฎาคม 1943) เป็นผู้ประกาศข่าวชาวเกาหลีเหนือของช่องโทรทัศน์กลางเกาหลี (เคซีทีวี) เธอเป็นที่รู้จักจากวิธีการอ่านข่าวของเธอที่เต็มไปด้วยอารมณ์และเผ็ดร้อน เคยมีการบรรยายลักษณะการอ่านข่าวของเธอไว้ว่า "ใส่อารมณ์", "คุกคามกลาย ๆ" และ "เกรี้ยวกราด"[2]
รี ชุน-ฮี | |
---|---|
รี ชุน-ฮี | |
เกิด | ทงช็อน จังหวัดคังว็อน เกาหลีของญี่ปุ่น | 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1943
พลเมือง | เกาหลีเหนือ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยการละครเวทีและภาพยนตร์เปียงยาง |
ปีปฏิบัติงาน | 1971– |
นายจ้าง | โทรทัศน์กลางเกาหลี |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้ประกาศข่าวของช่องเคซีทีวี |
ชื่อเกาหลี | |
โชซ็อนกึล | 리춘히 |
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Ri Chun(-)hui |
เอ็มอาร์ | Ri Ch'unhŭi |
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษาแก้ไข
รีเกิดเมื่อปี 1943 ในครอบครัวยากจนในทงช็อน จังหวัดคังว็อน ประเทศเกาหลีใต้ปกครองญี่ปุ่น รีจบการศึกษาด้านศิลปะการแสดงจากมหาวิทยาลัยการละครเวทีและภาพยนตร์เปียงยาง และได้รับการว่าจ้างเป็นผู้ประกาศข่าวให้แก่เคซีทีวี[3][4]
อาชีพการงานแก้ไข
รีเริ่มทำงานออกโทรทัศน์ในปี 1971[4][5] และกลายมาเป็นผู้ประกาศข่าวหลักของช่องเคซีทีวี และปรากฏตัวทางโทรทัศน์อยู่เรื่อย ๆ นับตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา[2] เธอมีอาชีพการงานที่เคซีทีวียาวนานมากกว่าคนส่วนใหญ่ที่มักถูกปลดจากตำแหน่งระหว่างทำงาน แต่รีไม่เคยโดนอะไรเลยตลอดการทำงานของเธอ[2] เธอประกาศเกษียณอายุจากงานอ่านช่าวในเดือนมกราคม 2012 และระบุกับสื่อของจีนว่าเธอจะหันไปทำงานเบื้องหลังและช่วยฝึกผู้ประกาศข่าวรุ่นใหม่ ๆ แทน[6] เดลีเทลิกราฟ ของอังกฤษเคยระบุว่าเธอ "ได้รับความไว้วางใจให้ประกาศช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประวัติศาสตร์เกาหลีเหนือ"[7] บ็อบ วุดเวิร์ด นักข่าวชาวอเมริกัน เปรียบเทียบเธอเป็นวอลเตอร์ ครองไคต์ แห่งเกาหลีเหนือ ในหนังสือเรื่อง เฟียร์: ทรัมป์อินเดอะไวต์เฮาส์ ของเขาซึ่งตีพิมพ์ในปี 2018[8]
รีออกจากการเกษียณงานของเธอเป็นครั้งคราวเพื่อประกาศข่าวสำคัญของเกาหลีเหนือ เธอเคยประกาศข่าวเรื่องการทดสอบระเบิดไฮโดรเจนของเกาหลีเหนือในเดือนมกราคม 2016[9] การโจมตีด้วยขีปนาวุธในเดือนกุมภาพันธ์ 2016[10] การทดสอบระเบิดนิวเคลียร์เดือนกันยายน 2016[11] เดือนกันยายน 2017[12] และการทดลองขีปนาวุธในเดือนพฤศจิกายน 2017[13] ไปจนถึงการประกาศการพักการทดลองขีปนาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธข้ามทวีปในปี 2018[14] และการพบกันของคิม จ็อง-อึน กับดอนัลด์ ทรัมป์ ในเดือนมิถุนายน 2018[15] เมื่อ 15 เมษายน 2018 รีเป็นคนแรกที่ได้อ่านรายงานชื่อของรี ซ็อล-จู ภรรยาคิม จ็อง-อึน ว่าเป็น "สตรีหมายเลขหนึ่ง" เป็นครั้งแรก[16][17]
ในปี 2022 คิม จ็อง-อึน ได้มอบบ้านพักหรูหราให้แก่รีและครอบครัว รวมถึงแก่บุคคลระดับบนคนอื่น ๆ ของเกาหลีเหนือ ในเปียงยาง[18]
รูปแบบแก้ไข
ขณะรีประกาศข่าวทางการว่าด้วยการเสียชีวิตของคิม อิล-ซุง ในปี 1994 รีร้องไห้ระหว่างการออกอากาศ เมื่อเธอประกาศข่าวทางการว่าด้วยการเสียชีวิตของคิม จ็อง-อิล ในปี 2011 เธอก็กลั้นน้ำตาไว้ขณะออกอากาศเช่นกัน[19] รีมักแต่งกายออกอากาศในชุดสูทแบบตะวันตกหรือในชุดโชซ็อน-อดแบบเกาหลี[11] เธอได้รับชื่อเล่นว่า "นางชมพู" ("Pink Lady") และ "ผู้ประกาศข่าวเกาหลีเหนือคนนั้น" ("North Korean News Lady")[20]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Makino, Yoshihiro (16 December 2011). "North Korea's 'People's broadcaster' missing". Asia & Japan Watch. Asahi Shimbun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2013.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Madden, Michael (2010). Bermudez, Joseph S., Jr. (บ.ก.). "Ri Chun Hui" (PDF). KPA Journal. 1 (10): 4–5. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2011.
- ↑ Werman, Marco; Strother, Jason (8 December 2009). "The voice of North Korea". The World. Public Radio International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2013.
- ↑ 4.0 4.1 "북성명 때마다 '전투적인 그녀'". The Chosun Ilbo (ภาษาเกาหลี). Seoul. 16 April 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2015.
- ↑ Herskovitz, Jon; Kim, Christine; Popeski, Ron (18 November 2009). "The face that launched a thousand North Korean tirades". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2016.
- ↑ "Archived copy". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-07. สืบค้นเมื่อ 2017-11-01.
{{cite news}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Smith, Nicola; Riley-Smith, Ben (11 June 2018). "North Koreans finally told about Kim Jong-un's Singapore summit with Trump". The Telegraph.
- ↑ Woodward, Bob (2018). Fear: Trump in the White House. Simon & Schuster. p. 91. ISBN 978-1-5011-7553-4.
on September 9, 2016, ... North Korea had detonated a nuclear weapon ... Seismic monitors had instantly revealed that the vibrations recorded were not caused by an earthquake. ... Dispelling any doubt, North Korea's 73-year-old female version of Walter Cronkite, Ri Chun-hee, appeared on state-controlled television to announce the test.
- ↑ "Famed N. Korean newscaster comes out of retirement to anchor story on purported H-bomb detonation". Women in the World in Association with The New York Times - WITW. 6 January 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2016. สืบค้นเมื่อ 6 January 2016.
- ↑ Demetriou, Danielle (7 February 2016). "North Korea launches missile in defiance of UN sanctions". Telegraph.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2016. สืบค้นเมื่อ 7 February 2016.
- ↑ 11.0 11.1 "What we know about Ri Chun-hee, the most famous woman in North Korea". BBC Newsbeat. 9 September 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2016. สืบค้นเมื่อ 9 September 2016.
- ↑ Ji, Dagyum; Hotham, Oliver (3 September 2017). "North Korea announces successful test of hydrogen bomb". NK News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2017. สืบค้นเมื่อ 3 September 2017.
- ↑ "North Korea says new missile puts all of US in striking range". BBC News. 29 November 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2017. สืบค้นเมื่อ 29 November 2017.
- ↑ "North Korea 'suspends' missile and nuclear tests". www.msn.com. สืบค้นเมื่อ 2018-04-21.
- ↑ Smith, Nicola; Riley-Smith, Ben (11 June 2018). "North Koreans finally told about Kim Jong-un's Singapore summit with Trump". The Telegraph.
- ↑ "Kim Jong-un elevates wife to position of North Korea's first lady". The Guardian. Seoul. Agence France-Presse. 2018-04-19. สืบค้นเมื่อ 2018-04-19.
- ↑ "Ri Sol Ju Attends Chinese Ballet Performance | North Korea Leadership Watch". www.nkleadershipwatch.org. สืบค้นเมื่อ 2018-07-27.
- ↑ "Kim gives North Korea's most famous newscaster a luxury home". AP NEWS (ภาษาอังกฤษ). 14 April 2022. สืบค้นเมื่อ 14 April 2022.
- ↑ Harris, Elizabeth A.; Mackey, Robert (19 December 2011). "The Lede: On North Korean State Television, News of the Leader's Death and Floods of Tears". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2015.
- ↑ Perper, Rosie. "North Korean state media's most famous announcer is a 74-year-old grandmother who Trump said should be on US cable news". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-04-14.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- Haas, Benjamin (กันยายน 4, 2017). "North Koreas pink lady: the newscaster set to announce the end of the world". The Guardian. ISSN 0261-3077.