รีแอ็กต์ (ซอฟต์แวร์)

ไลบรารีจาวาสคริปต์สำหรับสร้างส่วนต่อประสานผู้ใช้

รีแอ็กต์ (อังกฤษ: React) หรือ รีแอ็กต์เจเอส (อังกฤษ: React.js หรือ ReactJS) เป็นไลบรารีจาวาสคริปต์และเป็นซอฟต์แวร์เสรีและโอเพนซอร์ส[4][5] ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อไว้สำหรับสร้างส่วนต่อประสานกับผู้ใช้โดยอาศัยส่วนประกอบต่าง ๆ ที่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างลงตัวและไร้รอยต่อ[4] พัฒนาโดยเมตา (เดิมชื่อเฟซบุ๊ก) อีกทั้งยังมีชุมชนซึ่งประกอบด้วยนักพัฒนาและบริษัทจำนวนมาก

รีแอ็กต์
ผู้ออกแบบจอร์แดน วอล์ก
นักพัฒนาเมตาและชุมชน
วันที่เปิดตัว29 พฤษภาคม 2013; 11 ปีก่อน (2013-05-29)[1]
รุ่นเสถียร
19.0.0[2] แก้ไขบนวิกิสนเทศ / 5 ธันวาคม 2024; 9 วันก่อน (5 ธันวาคม 2024)
รุ่นทดลอง
19.0.0-rc.0 / 3 มิถุนายน 2024; 6 เดือนก่อน (2024-06-03)[3]
ที่เก็บข้อมูล
ภาษาที่เขียนจาวาสคริปต์
แพลตฟอร์มแพลตฟอร์มเว็บ
ประเภทไลบรารีจาวาสคริปต์
สัญญาอนุญาตสัญญาอนุญาตเอ็มไอที
เว็บไซต์ar.reactjs.org Edit this on Wikidata

รีแอ็กต์สามารถใช้ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์แบบหน้าเดียว โปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ และโปรแกรมประยุกต์ที่แสดงผลผ่านเซิร์ฟเวอร์ได้โดยอาศัยเฟรมเวิร์ก เช่น เน็กซ์เจเอส และเนื่องจากรีแอ็กต์นั้นเกี่ยวข้องเฉพาะส่วนต่อประสานกับผู้ใช้และการเร็นเดอร์ส่วนประกอบต่าง ๆ ในด็อม โปรแกรมประยุกต์รีแอ็กต์จึงมักจะพึ่งพาไลบรารีต่าง ๆ สำหรับการจัดเส้นทางและฟังก์ชันด้านไคลเอนต์อื่น ๆ[6][7] โดยข้อดีที่สำคัญอย่างหนึ่งของรีแอ็กต์คือ รีแอ็กต์จะทำการเร็นเดอร์หน้าเดิมใหม่เฉพาะส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น ทำให้ไม่ต้องเร็นเดอร์ใหม่ในส่วนที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง รีแอ็กต์เปิดตัวครั้งแรกเมื่อ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อ้างอิง

แก้
  1. Occhino, Tom; Walke, Jordan (5 August 2013). "JS Apps at Facebook". YouTube. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2022. สืบค้นเมื่อ 22 Oct 2018.
  2. "React v19". 5 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2024.
  3. "What's new in React 19". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-12. สืบค้นเมื่อ 2024-05-12.
  4. 4.0 4.1 "React – A JavaScript library for building user interfaces". reactjs.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2024.
  5. "Chapter 1. What Is React? - What React Is and Why It Matters [Book]". www.oreilly.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2024.
  6. Dere 2017.
  7. Panchal 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

บรรณานุกรม

แก้