ราเนเฟอร์ (หรือ ราโนเฟอร์) เป็นเจ้าชายแห่งอียิปต์โบราณในสมัยราชวงศ์ที่สี่ (ราชอาณาจักรอียิปต์เก่า)[1] พระนามของพระองค์ หมายถึง "ความงามแห่งรา"

ราเนเฟอร์ ในไฮเออโรกลีฟ
D21
D36
nfr

Rˀ-nfr
รา-เนเฟอร์
ความงามแห่งรา

ราเนเฟอร์เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์สเนฟรู[2] เป็นผู้ปกครองพระองค์แรกของราชวงศ์ที่สี่[3] พระมารดาของพระองค์ อาจจะเป็นพระมเหสีหรือพระสนมของฟาโรห์สเนเฟรู ซึ่งยังไม่ทราบพระนามของพระมารดาของพระองค์ พระเชษฐาของราเนเฟอร์คือ เจ้าชายเนเฟอร์มาอัตที่ 1 และเจ้าชายราโฮเทป[4][5] พระองค์ได้สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของพระบิดาของพระองค์ และก่อนที่ฟาโรห์คูฟู (พระเชษฐาร่วมพระบิดา) ขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์สเนฟรู[6]

ราเนเฟอร์มีหน้าที่เป็นผู้ดูแลพระบิดาของพระองค์[7] และพระองค์ได้ถูกฝังอยู่ภายในสุสานมาสตาบาที่ไมดุม[8] ในหลุมฝังพระศพได้มีการค้นพบซากศพที่ยังเหลืออยู่ในผ้าลินิน[9] มัมมี่ของพระองค์เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของเทคนิคการทำมัมมี่ที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยอาณาจักรเก่า[10] ร่างมัมมี่ของพระองค์หันหน้าไปทางทิศตะวัน ซึ่งมีการตกแต่งมัมมี่ โดยผมของมัมมี่ถูกทาสีดำ คิ้วและดวงตาเป็นสีเขียว[11] ขณะที่ปากทาเป็นสีแดง สมองยังคงอยู่ในกะโหลกศีรษะและอวัยวะภายในถูกพบในโถคาโนปิกในหลุมฝังพระศพ[12]

อ้างอิง แก้

  1. Aidan Dodson and Dyan Hilton, The Complete Royal Families of Ancient Egypt: A Genealogical Sourcebook of the Pharaohs, 2004, Thames & Hudson
  2. "Bart, Anneke, Seneferu". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-21. สืบค้นเมื่อ 2018-02-28.
  3. Hill, Jenny. "Children and grandchildren of Sneferu".
  4. The California Institute for Ancient Studies. "The Kings of the 4th Dynasty".
  5. Old Kingdom Monuments Organized by Ruler, Wikiversity
  6. Snofru, Ranefer's father
  7. Justine Victoria Way, From Privilege to Poverty: The Life-cycle of Pyramid Settlements During the Old Kingdom
  8. Marsh, Cynthia. "Egyptian Pharaoh Sneferu and His Overachieving Children".
  9. "Death and the afterlife in ancient Egypt". Preservation of the viscera. {{cite web}}: |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  10. Ikram & Dodson 1998:110-111
  11. Petrie, William Matthew Flinders. "Medum".
  12. McArthur, Riana (31 August 2011). The Evolution of the Technique of Human Mummification (ca.5000 BCE – ca.395 CE). p. 17.