เนเฟอร์มาอัตที่หนึ่ง

เนเฟอร์มาอัตที่หนึ่ง เป็นเจ้าชายชาวอียิปต์โบราณและพระราชโอรสของฟาโรห์สเนฟรู[2] พระองค์เป็นขุนนางชั้นสูงและเป็นนักบวชชองเทพีบาสเทต ชื่อของพระองค์หมายถึง "ความงามของเทพีมาอัต" หรือ "ด้วยความยุติธรรมอันสมบูรณ์แบบ"

เนเฟอร์มาอัตที่หนึ่ง
Nfr-m3ˁt
ความยุติธรรมช่างสวยงาม[1]
nfrU4
t
ภาพวาดจากสุสานของเนเฟอร์มาอัตในเมืองเมดูม
สุสานแมสตาบา 16, เมดูม
อาชีพขุนนางชั้นสูง
ผู้ถือตราประทับหลวง
นักบวชของเทพีบาสเทต
คู่สมรสไอเทต
บุตรขุนนางเฮมิอูนู และอีกหลายพระองค์
บิดามารดาฟาโรห์สเนฟรู กับพระมเหสีไม่ทราบพระนาม

ประวัติ แก้

เนเฟอร์มาอัตเป็นพระโอรสพระองค์โตของฟาโรห์สเนฟรู ซึ่งเป็นฟาโรห์และผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่สี่ของราชอาณาจักรอียิปต์โบราณ พระองค์เป็นพระเชษฐาของฟาโรห์คูฟู พระชายาของพระองค์คือ พระนางไอเทต เนเฟอร์มาอัต มีบุตรและธิดาทั้งสิ้นสิบห้าพระองค์ตามที่ปรากฏบนผนังแมสตาบาของพระองค์ ประกอบด้วยบุตรชายนามว่า เฮมิอูนู, ไอซู, เตตา, เคนติเมเรส และมีธิดานามว่า ดเจฟาตเซน และ ไอเซซู ปรากฏเป็นภาพที่เจริญวัยแล้ว ขณะที่ ไอติเซน, อินกาเอฟ, เซฟกา, เวเฮมกา, เชปเซสกา, กาเคนต์, อังค์ฮอร์เซเรเทฟ, อังค์ฮอร์เฟเนดเจฟ, บูเนฟ, เซปเซสเนบ, เนบเคเนต และพาเจติ ปรากฏเป็นภาพที่อยู่ในวัยเยาว์ ซึ่งมีข้อสันนิษฐานว่าบุตรชายคนหนึ่งนามว่า เฮมิอูนู อาจจะเป็นคนเดียวกับขุนนางชั้นสูงที่มีนามว่า เฮมิอูนู ซึ่งเชื่อว่าเป็นผู้ช่วยวางแผนการสร้างมหาปิรามิด[3]

สุสาน แก้

 
สุสานของเนเฟอร์มาอัตในเมดูม

พระศพของเนเฟอร์มาอัตถูกฝังอยู่ในแมสตาบาหมายเลข 16 ที่เมืองเมดูม เนเฟอร์มาอัตเป็นหนึ่งในบุตรหลายพระองค์ของฟาโรห์สเนฟรู ที่ถูกฝังอยู่ในเมดูม หลุมฝังพระศพเป็นที่รู้จักสำหรับเทคนิคพิเศษที่ใช้ในการวาดภาพ[4] ประติมากรรมแกะสลักภาพที่เจาะลึกลงไป ซึ่งเต็มไปด้วยสีสัน การสร้างโดยวิธีนี้มีผลเสียคือทำให้ปูนปลาสเตอร์หลุดออกได้ง่าย แต่การก่อสร้างแบบนี้ทำให้เกิดภาพที่มีสีสดใส สุสานนี้เป็นที่เดียวที่ก่อสร้างแบบนี้

ภาพห่านแห่งเมดูม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Hermann Ranke. Die ägyptischen Personennamen. Bd. 1: Verzeichnis der Namen. Glückstadt: J.J. Augustin, 1935. p. 196.
  2. Nefermaat page from digitalegypt (University College London)
  3. Dodson, Aidan and Hilton, Dyan. The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson. 2004. pp.52–53, 56–61. ISBN 0-500-05128-3.
  4. Abeer El-Shahawy, Farid S Atiya, Matḥaf al-Miṣrī (2005). The Egyptian Museum in Cairo: a walk through the alleys of ancient Egypt. Cairo, Egypt: Farid Atiya Press. page 71. ISBN 978-977-17-2183-3.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้