รัวร์พ็อตเก็ต
รัวร์พ็อตเก็ต เป็นการสู้รบของการโอบล้อมซึ่งเกิดขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 บนแนวรบด้านตะวันตกในช่วงใกล้สิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง ในพื้นที่รัวร์พ็อตเก็ตแห่งเยอรมนี ทหารเยอรมันบางจำนวน 317,000 นายล้วนถูกจับเป็นเชลยพร้อมกับนายพล 24 นาย อเมริกันได้รับความสูญเสีย 10,000 นาย รวมทั้งเสียชีวิตหรือสูญหาย 2,000 นาย
รัวร์พ็อตเก็ต | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การบุกครองเยอรมนีของสัมพันธมิตรตะวันตกในแนวรบด้านตะวันตกของเขตสงครามยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
ทหารอเมรกันที่ Rheinwiesenlager ซึ่งคอยคุ้มเชลยชาวเยอรมันจำนวนมหาศาลที่ถูกจับกุมมาได้ในรัวร์พ็อตเก็ต | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหรัฐ สหราชอาณาจักร (ฝ่ายต่อต้านชาวเยอรมัน) | ไรช์เยอรมัน | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
โอมาร์ แบรดลีย์ เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี Courtney H. Hodges William H. Simpson Leonard T. Gerow |
วัลเทอร์ โมเดิล (ฆ่าตัวตาย) Gustav-Adolf von Zangen Josef Harpe | ||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
กำลัง | |||||||
195,000 | 370,000 | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เสียชีวิต 1,500 นาย บาดเจ็บ 8,000 นาย สูญหาย 500 นาบ ทั้งหมด: 10,000 นาย[1] |
ถูกจับเป็นเชลย 317,000 นาย[2] จำนวนผู้เสียชีวิตประมาณ 10,000 นาย (รวมทั้งเชลยศึกในเรือนจำเยอรมัน, แรงเกณฑ์บังคับชาวต่างชาติ, ทหารอาสาสมัครฟ็อลคส์ชตวร์มและพลเรือนที่ไม่มีอาวุธ).[3] |
ด้วยการใช้ประโยชน์จากการยึดสะพานลูเดินดอร์ฟที่เรเมเกิน เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1945 หมู่กองทัพสหรัฐที่ 12 ภายใต้บัญชาการโดยนายพล โอมาร์ แบรดลีย์ ได้เข้ารุกอย่างรวดเร็วในการเข้าไปในดินแดนเยอรมันทางตอนใต้ของหมู่กองทัพบีของแกเนอราลเฟ็ลท์มาร์ชัล(จอมพล) วัลเทอร์ โมเดิล ในทางตอนเหนือ หมู่กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรที่ 21 ภายใต้บัญชาการโดยจอมพล เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี ได้ข้ามแม่น้ำไรน์ในปฏิบัติการพลันเดอร์ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม องค์ประกอบการนำของสองหมู่กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้าสมทบกัน เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1945 ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำรัวร์ เพื่อสร้างวงล้อมขนาดใหญ่ที่มีความหนาแน่นในการโอบล้อมทหารเยอรมันจำนวน 317,000 นาย ไปทางตะวันตก
ในขณะที่กองทัพสหรัฐจำนวนมากได้เข้ารุกสู่ตะวันออกสู่แม่น้ำเอลเบ กองพลสหรัฐจำนวน 18 กองพลยังคงติดตามไล่หลังเพื่อเข้าทำลายกองทัพที่โดดเดี่ยวของหมู่กองทัพบี การลดทอนของการโอบล้อมเยอรมันได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน โดยกองทัพสหรัฐที่ 9 พร้อมกับกองทัพสหรัฐที่หนึ่งได้เข้าร่วมด้วย เมื่อวันที่ 4 เมษายน เป็นเวลา 13 วัน เยอรมันล่าช้าหรือต่อต้านการรุกของสหรัฐ วันที่ 14 เมษายน กองทัพที่ 1 และ 9 ได้พบปะกัน ได้แบ่งแยกกันในการโอบล้อมเยอรมันออกเป็นสองส่วน และการต่อต้านของเยอรมันเริ่มพังทลาย
เมื่อขาดการติดต่อกับหน่วยทหารต่าง ๆ กองทัพเยอรมันที่ 15 ก็ได้ยอมจำนนในวันเดียวกัน โมเดิลสั่งยุบหมู่กองทัพของเขา เมื่อวันที่ 15 เมษายน และออกคำสั่งให้พวกฟ็อลคส์ชตวร์มและบุคคลที่ไม่สู้รบให้ถอดชุดเครื่องแบบทิ้งและกลับบ้าน เมื่อวันที่ 16 เมษายน กองทัพเยอรมันจำนวนมากก็ได้ยอมจำนนต่อกองพลต่างๆ ของสหรัฐ การต่อต้านที่รวมตัวกันได้มาถึงสิ้นสุดลงในวันที่ 18 เมษายน ด้วยความไม่เต็มใจที่จะยอมจำนนด้วยยศตำแหน่งจอมพลของเขาในการถูกจองจำคุกของฝ่ายสัมพันธมิตร โมเดิลจึงตัดสินใจฆ่าตัวตายในช่วงบ่ายของวันที่ 21 เมษายน
อ้างอิง
แก้- ↑ MacDonald 1973, p. 372.
- ↑ Zaloga, Steve, and Dennis, Peter (2006). Remagen 1945: endgame against the Third Reich. Oxford: Osprey Publishing. ISBN 1-84603-249-0. Page 87.
- ↑ Wolf Stegemann, Der Ruhrkessel: Ende der Kämpfe im Westen – Verbrechen der Wehrmacht, der SS und Gestapo an der Bevölkerung bis zum letzten Tag