รัฐเคาะลีฟะฮ์กุรฏุบะ
รัฐเคาะลีฟะฮ์กุรฏุบะ (อาหรับ: خلافة قرطبة , Khilāfat Qurṭuba) ปกครองคาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาเหนือจากเมืองกุรฏุบะ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 929 จนถึงปี ค.ศ. 1031 สมัยนี้เป็นสมัยของความรุ่งเรืองทางการค้าขายและทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมอิสลามชิ้นเอกหลายชิ้นของไอบีเรียสร้างขึ้นในสมัยนี้ รวมทั้งมัสยิดแห่งกอร์โดบา (Great Mosque of Córdoba)
รัฐเคาะลีฟะฮ์กุรฏุบะ خلافة قرطبة | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 929–ค.ศ. 1031 | |||||||||||
![]() รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา (เขียว) ราว ค.ศ. 1000 | |||||||||||
สถานะ | รัฐเคาะลีฟะฮ์ | ||||||||||
เมืองหลวง | กุรฏุบะ | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | อาหรับ, โมซาราบิกและภาษาฮีบรู | ||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย, เทวาธิปไตย | ||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||
• อับดุรเราะห์มานที่ 1 ประกาศตนเป็น เอมีร์ แห่งกุรฏุบะ | ค.ศ. 929 | ||||||||||
• อับดุรเราะห์มานที่ 3 ประกาศตนเป็น เคาะลีฟะฮ์ แห่งกุรฏุบะ | ค.ศ. 929 | ||||||||||
• สลายตัวไปเป็นรัฐเล็ก ๆ (taifa) | ค.ศ. 1031 | ||||||||||
|
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 929 อับดุรเราะห์มานที่ 3 (Abd-ar-Rahman III) ประกาศตนเป็น “เคาะลีฟะฮ์” (Arabic: خليفة) แห่งกอร์โดบา[1] แทนตำแหน่ง “เอมีร์แห่งกอร์โดบา” (Emir of Córdoba) เดิม (Arabic: أمير قرطبة 'Amīr Qurṭuba) อับดุรเราะห์มานที่ 3 มาจากราชวงศ์อุมัยยะฮ์ราชวงศ์ที่มีตำแหน่งเป็นเอมีร์แห่งกอร์โดบามาตั้งแต่ ค.ศ. 756 การปกครองในฐานะกาหลิบถือกันว่าเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของมุสลิมในคาบสมุทรไอบีเรีย อาณาจักรสลายตัวไปแทบทั้งหมดในสงครามกลางเมืองระหว่างผู้สืบเชื้อสายจากกาหลิบฮิชัมที่ 2 (Hisham II) และผู้สืบการปกครองจากนายกรัฐมนตรี (hayib) อัลมันซูร์ อาบี อามีร์ (Al-Mansur Abi Aamir) ส่วนที่เหลืออยู่บ้างก็อยู่มาจนถึงปี ค.ศ. 1031 เมื่อหลังจากการต่อสู้กันภายในต่อเนื่องกันอยู่หลายปีก็แตกแยกออกไปเป็นไตฟา (Taifa) หรือรัฐย่อย ๆ[2]